เรื่องเล่า ทางรถไฟสายมรณะ ทำไมสะพานข้ามแม่น้ำแควจึงเป็นชื่อที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก มันมิใช่เพราะความอลังการหรืองดงามตระการตาใดๆ หากแต่คำตอบแท้จริงมันคือความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นในอดีต ณ ที่แห่งนั้นต่างหากที่เป็นเสน่ห์อันเร้าใจไม่มีวันจบสิ้น
แต่ถ้าหากจะย้อนมองให้ลึกซึ้งลงไปอีกความเศร้าสลดที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นประวัติศาสตร์ ยากที่จะหาใดเหมือนได้นั้น แท้จริงมันอยู่บนเส้นทางรถไฟ ที่ทอดผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแควแห่งนี้ ซึ่งมีระยะทางยาวไม่กี่ร้อยกิโลเมตรที่ใช้เวลาสร้างอันรวดเร็วและสำคัญที่สุดก็คือต้องสูญเสียชีวิตคนไปถึงหนึ่งแสนคน เจ็บป่วย และพิการอีกหลายหมื่นคนเพราะความโหดร้ายทารุณจนทางรถไฟสายนี้ ถูกเรียกว่า "ทางรถไฟสายมรณะ"
ก่อนที่จะเป็นทางรถไฟสายมรณะ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2484 ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เนเธอร์แลนด์และจีน หลังจากนั้นกองทัพอันมหาศาลของพระจักรพรรดิก็เคลื่อนพลแบบสายฟ้าแลบบนน่านน้ำแปซิฟิก กำลังทางอากาศจากเรือบรรทุก เครื่องบิน ได้บินขึ้นถล่มฐานทัพเรือใหญ่ของสหรัฐฯ ที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ เกาะฮาวาย จนแหลกลาญ
ขณะเดียวกันกองทัพญี่ปุ่นก็บุกขึ้นเกาะต่างๆ อีกหลายแห่งทั้งชวา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มลายู และอินโดจีน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย สำหรับไทย ญี่ปุ่นได้ยื่นบันทึกต่อรัฐบาลเพื่อขอเดินทัพผ่านเพื่อไปโจมตีอังกฤษที่ตั้งฐานทัพอยู่ที่มลายูและพม่า จึงขออย่าให้ไทยขัดขวาง โดยญี่ปุ่นให้การรับรองว่าจะไม่ทำลายอธิปไตยของไทย
รัฐบาลญี่ปุ่น ได้พยายามที่จะกระทำทุกทางแล้วด้วยสันติวิธีในการเจรจาที่กรุงวอชิงตัน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องทำสงครามกันและนอกจากนั้นถ้าจะมองดูสงครามทางด้านยุโรปแล้ว จะเห็นได้ว่า สงครามได้ใกล้เข้ามาจะถึงอิรักและอิหร่านอยู่แล้ว น่ากลัวว่าอาจลุกลามมาถึงประเทศไทยได้ เพราะฉะนั้น พวกเราชาวเอเชียจะต้องร่วมมือกัน เพื่อทำให้เอเชียเป็นของคนเอเชีย บัดนี้ ประเทศญี่ปุ่น ได้เตรียมสู้รบกับข้าศึกของเราแล้วไม่ใช่จะมาต่อสู้กับคนไทยเลยถึงแม้จะมีการต่อสู้กัน และกองทัพญี่ปุ่นได้ผ่านประเทศไทยไปแล้ว ญี่ปุ่นก็จะไม่ถือว่าไทยเป็นข้าศึก แต่ถ้าหากว่าไทยจะร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับญี่ปุ่นแล้ว คำว่า เอเชียเป็นของคนเอเชียก็จะเป็นอันสำเร็จผลแน่ และประเทศไทยอันเป็นประเทศเอกราชอยู่แล้วนั้น ก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นขอจากไทยคือ ขอให้กองทัพของญี่ปุ่นผ่านผืนแผ่นดินไทยไปเท่านั้น ทั้งนี้ ก็ด้วยความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ เพราะฉะนั้น จึงใคร่ขอความสะดวก โดยขออย่าให้กองทัพทั้งสองต้องมารบกันเองเลย เพราะญี่ปุ่นไม่ถือว่าไทยเป็นศัตรู จึงหวังว่าไทยจะมีความสามัคคีร่วมมือกับญี่ปุ่นในความจำเป็นครั้งนี้ กับขอให้จัดกำลังตำรวจระวังรักษาชาวญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ในประเทศไทยทั่วไปด้วย
ทางรถไฟนี้เดิมญี่ปุ่น มีเป้าหมายจะให้เสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายน แต่ปรากฏว่า ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้เสร็จก่อนกำหนด 1 เดือน ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2486 จึงเป็นวันฉลองความสำเร็จ ของทหารพระจักรพรรดิ
การที่ทางรถไฟสายนี้ถูกเรียกว่าเป็นทางรถไฟสายมรณะ โดยเฉพาะนับตั้งแต่ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปตามแนวลำแม่น้ำแควน้อย จรดชายแดนที่ "นีก้า" ซึ่งอยู่ตอนใต้ของเมืองเมาละแหม่ง ก็เนื่องจากว่าบรรดาเชลยศึกประเทศพันธมิตรที่ญี่ปุ่นกวาดต้อนมาจากฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มลายู ไทย จีน อินเดีย
ซึ่งมีจำนวนรวมประมาณ 170,000 คน เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อจะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น ส่วนหนึ่งต้องเสียชีวิตลงเพราะความโหดร้ายทารุณทั้งจากทหารญี่ปุ่น การใช้แรงงานเชลยศึกในครานั้น ตกอยู่ในภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร เมื่อเจ็บป่วยแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่เพียงพอต่อการพยาบาลต้องดูแลกันตามมีตามเกิด แรงงานที่ถูกจับมาก็ต้องทำงานข้ามวันข้ามคืน ใช้แรงคนในการสกัดภูเขาด้วยมือ ซึ่งเป็นการทำงานที่ทารุณยิ่ง เนื่องจากต้องปีนลงไปสกัดในช่องเขา บางช่วงสูงถึง 11 เมตร จนแทบไม่มีอากาศหายใจทั้งยังต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าว เชลยศึกและกรรมกรที่ช่องเขาขาดต้องทำงานทั้งวันทั้งคืน ตอนกลางคืนใช้แสงไฟจากคบเพลิงและกองเพลิงทำให้สะท้อนเห็นเงาของเชลยศึกและผู้คุมวูบวาบบนผนัง ทำให้ที่นี่ได้รับการขนาน นามว่า "ช่องไฟนรก"
การก่อสร้างใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 หลังสงครามโลกครั้งที่2 จบลงทางรถไฟบางส่วนถูกรื้อทิ้งบางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ หลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลไทยได้จ่ายเงินจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อซื้อทางรถไฟสายนี้จากอังกฤษและทำการซ่อมบำรุงบางส่วนของเส้นทาง เพื่อเปิดการเดินรถตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกจนถึงสถานีน้ำตก โดยอยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามด้วย
บทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เท่านั้น ซึ่งผู้เขียนขอยกมาเท่านี้ ไม่ได้มีเจตนาซ้ำเติมครอบครัวของบุคคลที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้
ขอบคุณ : เรื่องเล่าชาวเมืองสยาม