ยกเสาเอก เป็นเสาต้นแรกสำหรับการ ปลูกบ้านใหม่ คนไทยมี ความเชื่อ ว่าต้องไหว้และทำพิธีกรรม ในการ พิธียกเสาเอก และ พิธีตั้งเสาเอก จะมีความหมาย หรือความเชื่ออะไรบ้างนั้น เราจะบอกในหัวข้อถัดไปค่ะ ส่วน พิธีลงเสาเอกบ้าน นั้น คนไทยก็มีความเชื่ออีกว่า ต้องดู ฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน ด้วย เพื่อบ้านหลังนี้จะได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
พิธีลงเสาเอกบ้านคืออะไร
เสาเอกบ้าน ถ้าเป็น ความหมาย ในเชิงความเชื่อ คนไทยก็เชื่อกันว่า เสาเอก นั้นแสดงถึงความมั่นคง หากตัดเรื่องความเชื่อออกไป เสาเอกบ้านก็นับเป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญของอาคารมากทีเดียว เนื่องจากเสาเอกบ้าน คือเสาที่ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักของอาคาร เพื่อให้โครงสร้างบ้านมีความแข็งแรง
โดยแต่เดิมในอดีต วัสดุที่ใช้สร้างบ้านส่วนใหญ่เป็นไม้ เสาเอกบ้านจึงต้องเป็นเสาไม้ด้วยเช่นกัน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เสาเอกบ้านจึงมีการเปลี่ยนมาเป็นคอนกรีต ตามวัสดุที่ใช้ สร้างบ้าน ในปัจจุบัน
วันเวลาสำหรับพิธีลงเสาเอกบ้าน
ตามความเชื่อแล้ว พิธีลงเสาเอกบ้าน คือการเริ่มต้นสร้างบ้านเพื่อความเป็นมงคล ดังนั้น พิธีลงเสาเอกบ้านที่ถูกต้อง จึงยึดถือตามเวลาและวันมงคลเป็นหลัก ซึ่งวันและเวลามงคลจะขึ้นอยู่กับโฉลกของเจ้าของบ้านเป็นหลัก โดยจะเป็นการอ้างอิงตามปฏิทินจันทรคติ หรือการนับเดือนแบบไทย เช่น เดือนอ้าย, เดือนยี่, เดือน 4, เดือน 5, เดือน 9 หรือเดือน 12
กำหนดฤกษ์พิธีลงเสาเอกบ้าน
สำหรับ ฤกษ์งามยามดี ที่เหมาะสม ฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน จะเชื่อตามเลขมงคล ซึ่งส่วนใหญ่มักจะยึดเลข 9 ซึ่งมีความหมายตามความเชื่อว่า ความก้าวหน้า ฤกษ์เวลาที่นิยมในการทำพิธีลงเสาเอกจึงมักจะเป็นเวลา 9.00 น. นั่นเองค่ะ
ของมงคลสำหรับพิธีลงเสาเอกบ้าน
ไม้มงคล 9 อย่างสำหรับพิธีลงเสาเอกบ้าน
คำแนะนำคือต้องหาไม้มงคลทั้ง 9 อย่างมาให้ครบเพื่อความเป็นสิริมงคล ห้ามขาดไม้มงคลชนิดใดชนิดหนึ่ง
ใบไม้มงคลสำหรับพิธีลงเสาเอกบ้าน
ขั้นตอนพิธีลงเสาเอกบ้าน
1. ให้เตรียมเสาเอกบ้านให้เรียบร้อยก่อนถึงวันพิธี และต้องนำหน่อกล้วย หน่ออ้อย รวมถึงผ้าสามสีผูกกับเสาเหล็กที่ใช้เป็นเสาเอกบ้าน
2. ให้วางสายสิญจน์ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชาไปจนถึงบริเวณเสาเอก ขั้นตอนนี้หากไม่มีผู้ทำพิธีโดยเฉพาะ อาจให้ผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ หรือเจ้าของบ้านเป็นผู้ทำพิธีก็ได้ค่ะ
3. จากนั้น ให้เจ้าภาพจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐานถึงความเป็นสิริมงคล และกราบพระที่โต๊ะหมู่บูชาและโต๊ะเครื่องสังเวยเทวดาให้ช่วยคุ้มครอง
4. ให้ตอกไม้มงคล 9 ชนิดลงไปในหลุมเสาเอก
5. วางแผ่นนาก แผ่นเงิน แผ่นทอง และเหรียญเงินลงไปในหลุม
6. จากนั้น นิมนต์พระสงฆ์พรมน้ำมนต์ โปรยทรายเสกลงที่หลุมเสาเอก เจิมและปิดแผ่นทองที่เสาเอก
7. จากนั้น เจ้าภาพและผู้ร่วมพิธีร่วมกันถือสายสิญจน์และยกเสาเอกให้เรียบร้อย
8. จากนั้น เจ้าภาพโปรยข้าวตอกดอไม้ และแป้งหอมลงที่หลุมเสาเอก