บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของ ภาคอีสาน ของประเทศไทย โดยมีที่มาจาก ตำนานพื้นเมือง หรือ นิทานพื้นบ้าน ในเรื่อง พญาคันคาก เรื่อง ผาแดงนางไอ่คำ และทั้งสอง ตำนาน มีการกล่าวถึง ชาวบ้านได้จัด งานบุญบั้งไฟ ขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พญาแถน เพราะตาม ความเชื่อ เชื่อกันว่า พระยาแถน มีหน้าที่คอยดูแลให้ ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล นั้นเองค่ะ อีกทั้งยังชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หมู่บ้านใดไม่ จัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตก และอาจทำให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ค่ะ
งานบุญบั้งไฟ จัดที่ไหนบ้าง
การจัดงาน ประเพณีบุญบั้งไฟ นั้น ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในภาคอีสาน โดยมีหลายที่ทั้ง ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองคาย มหาสารคาม ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู เลย อำนาจเจริญ นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ภาคเหนือ มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี เพชรบูรณ์ อีกด้วยค่ะ เนื่องจากประชากรในเขตพื้นที่ส่วนใหญ่ อพยพมาจากเขตภาคอีสาน
สำหรับประเพณี บุญบั้งไฟ ในภาคกลางนั้น มีการจัดงานในพื้นที่ของ อำเภอแม่เปิน นครสวรรค์ และ อำเภอลานสัก อุทัยธานี เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ 85% เป็นชาวอีสานที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้นำวัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟและความเชื่อเรื่องพญาแถนติดตัวมาด้วยนั่นเอง
และที่น่าแปลกใจก็คือ ในภาคใต้ ยังสามารถพบการจัดงานบุญบั้งไฟได้ใน อำเภอสุคิริน นราธิวาส อีกด้วย โดยเป็นการละเล่นของชาวอีสานที่ย้ายถิ่นฐานมาปักหลักอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 นั่นเอง แต่ก็นับว่าหาชมได้ยากในปัจจุบันค่ะ
บั้งไฟชนิดต่างๆ
บั้งไฟ นั้นมีอยู่หลายชนิด ทั้ง บั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และ บั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นใช้ดินประสิวหนัก 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม และบั้งไฟแสนใช้ดินประสิว 10 หมื่น หรือ 120 กิโลกรัม
เมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหน ก็หาช่างมาทำ หรือคนที่มีฝีมือก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมาก จะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวนผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตร บั้งไฟก็จะแตก ไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า
สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้นต้องเป็นไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้นเพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกันค่ะ
นอกจากนี้ยังมีการ แข่งขันจุดบั้งไฟ ซึ่งจะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกโยนลงในโคลน เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาอีกด้วย
ข้อมูล : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ภาพจาก : โซเชียลมีเดีย