วันอาสาฬหบูชา 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันอะไร มีความสำคัญอย่างไร และมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง และชาวพุทธควรปฏิบัติตัวอย่างไรในวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา 2565 ตรงกับ วันพุธ ที่ 13 กรกฎาคม 2565 เป็น วันหยุดราชการ ของไทย เพราะถือว่าเป็น วันสำคัญ อีกวันหนึ่งของชาวพุทธที่จะได้ร่วมสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีทำบุญตักบาตร เวียนเทียน ถวายเทียนเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกิจกรรมหลักสำหรับชาวพุทธทุกคนที่ควรปฏิบัติและรักษาวัฒนธรรมนี้สืบไป
วันอาสาฬหบูชา หรือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ" คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม"
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นภิกษุองค์แรกในพระศาสนา และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระสงฆ์"
ดังนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ซึ่งควรพิจารณาเหตุผลโดยสรุปจากประกาศสำนักสังฆนายกเรื่องกำหนดพิธีอาสาฬหบูชา ที่ได้สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาไว้โดยย่อ ดังนี้
(ประกาศสำนักสังฆนายก เรื่อง กำหนดพิธีอาสาฬหบูชา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2501)
บทสวดมนต์ วันอาสาฬหบูชา 2565
(หันทะ มะยัง อาสาฬหะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)
อาสาฬหะปุณณะมายัง โย สัทธัมโม โหติ เทสิโต เตนุปปันโน ปะฐะโม สังโฆ โกณฑัญโญ พุทธะสาสะเน
ธัมมะจักโกติ นาเมนะ วิสสุโต จะ ปะวัตติโต ตัสสัตโถ อัฏฐะโก มัคโค จัตตาริ เจวะ สัจจานิ
เอเตสัง เทสะเนเนวะ อุปปันนัง ระตะนัตตะยัง พุทโธ ธัมโม ภิกขุสังโฆ สัมปันนา พุทธะสาสะเน
เปเสสิ ภะคะวา สังเฆ กาตุง โลกานะ สังคะหัง ละภิงสุ พะหุกา สัตตา โอกาสัง ปัตตุ นิพพุติง
ปัณณะระสี อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา ทีปะปุปผาทิหัตถา จะ หุตวา อิธะ สะมาคะตา
ปะทักขิณัง กะริสสามะ ติกขัตตุง คะรุเจติยัง ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง สักการัง อิมัง
ระตะนัตตะยานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะเตชะสา สัพเพ สัตตา ปุญญะภาคา นิททุกขา นิรุปัททะวา
อะระหันตา ปะพุชฌันตุ สะทา โคตะมะสาวะกา การุญญัญจะ อุปาทายะ ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ
สักกาเร อิเม มัยหัง หิตายะ จะ สุขายะ จะ จิรัง ติฏฐะตุ สัทธัมโม ตะถาคะตัปปะเวทิโต
สัมมาธารัง ปะเวสสันโต กาเลเทโว ปะวัสสะตุ วุฒิภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิงฯ
คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันอาสาฬหบูชา 2565
ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา
ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อะโหสิ โข โส ภะคะวา
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สัตเตสุ การุญญัง ปะฏิจจะ กะรุณายะโก หิเตสี
อะนุกัมปัง อุปาทายะ อาสา ฬหะปุณณะมิยัง พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน
มิคะทาเย ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะฐะมัง
ปะวัตเต ตวา จัตตาริ อะริยะสัจจานิ ปะกาเสสิ ฯ
ตัสมิญจะ โข สะมะเย ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง ปะมุโข อายัสมา อัญญาโกณฑัญโญ
ภะคะวะโต ธัมมัง สุตวา วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง ปะฏิละภิตวา ยังกิญจิ
สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ
ภะคะวันตัง อุปะสัมปะทัง ยาจิตวา ภะคะวะโต เยวะสันติกา เอหิภิกขุ อุปะสัมปะทัง
ปะฏิละภิ ตวา ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย อะริยะสาวะกะสังโฆ โลเก ปะฐะมัง อุปปันโน
อะโหสิ พุทธะระตะนังธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนันติ ติระตะนัง สัมปุณณัง อะโหสิ ฯ
มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง อาสาฬหะปุณณะมี กาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะจักกัปปะ-
วัตตะนะกาละสัมมะตัง อะริยะสาวะกะสังฆะอุปปัตติกาละสัมมะ ตัญจะ ระตะนัตตะยะ-
สัมปุณณะกาละสัมมะตัญจะ ปัตวา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา อิเม สักกาเร คะเหตวา อัตตะโน
กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา
อิมัง ถูปัง ( อิมัง พุทธะปะฏิมัง ) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ ยะถาคะหิเตหิ
สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา ฯ
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ
ปัญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ ฯ