ความเชื่อ

heading-ความเชื่อ

วันเข้าพรรษา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง

14 ก.ค. 2565 | 07:21 น.
วันเข้าพรรษา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง

วันเข้าพรรษา เทศกาลเข้าพรรษา มีกิจกรรมอะไรบ้าง ประวัติวันเข้าพรรษา มีความสำคัญอย่างไร และวันเข้าพรรษาตรงกับวันอะไร

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา เป็นวันที่อยู่ต่อจากวันอาสาฬหบูชา เป็น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับวันอาสาฬหบูชา เป็นวันหยุดราชการในปีนี้ เป็นวันสำคัญเดือนกรกฎาคม ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา

วันเข้าพรรษา 2565 

ใน วันเข้าพรรษาตรงกับวันอะไร ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี

เทศกาลเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา ในปี 2565 ตรงกับ วันพฤหัสบดี ที่ 14 กรกฎาคม 2565 แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ปีขาล

วันเข้าพรรษา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง อาสาฬหบูชา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันเข้าพรรษาในประเทศไทย

วันเข้าพรรษา เป็น วันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะพักประจำอยู่ที่วัดโดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกว่า จำพรรษา เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม 1 ค่ำ เดือนแปด(8)เรียกว่า "ปุริมพรรษา" จน ถึง 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันออกพรรษา ของทุกปี โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด(8)) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันที่ใช้จัดงานวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษาส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยตรงกันทุกปี เพราะถือเอา แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถ้าปีใด มีเดือนแปด(8)สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปในวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง(88) เป็นวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา

เข้าพรรษา ทำบุญ วันสำคัญ วันหยุด วันพระ วันเข้าพรรษา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง

ประวัติวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา มี ความสำคัญ ต่อพุทธศาสนิกชนและเป็น วันสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน

ชาวบ้าน กลุ่มหนึ่งพากันกล่าวตำหนิพระสงฆ์ ที่เดินย่ำไปเหยียบข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย ไม่ยอมหยุดยั้งแม้ในระหว่างฤดูฝน เพราะแม้แต่ฝูงนกยังหยุดพักผ่อนไม่ท่องเที่ยวไปไหน และเมื่อเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าพระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมแล้วจึงทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า "อนุชานามิ ภิกขะเว อุปะคันตุง" หมายถึง "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา"

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัดตลอด 3 เดือน เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพราะอยู่ในช่วงฤดูฝน จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และเป็นช่วงเวลาหรือโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกัน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้เริ่มบำเพ็ญกุศลเนื่องใน เทศกาลเข้าพรรษา นี้ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า "พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขันทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชายฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน" ซึ่งนอกจากการรักษาศีลแล้ว พุทธศาสนิกชนไทยยังได้บำเพ็ญกุศลอื่น อย่างการถวาย เตียงตั่ง เสื่อสาด ผ้าจำนำพรรษา อาหารหวานคาวยารักษาโรค และธูปเทียนจำนำพรรษา เพื่อบูชาพระรัตนตรัยในเดือนแปด(8)

ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" อีกด้วย และประกาศห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักรในปีถัดมาทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อเป็นการส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย

วันเข้าพรรษา กิจกรรม

วันเข้าพรรษา อยู่ในช่วงฤดูฝน เป็นวันที่ชาวพุทธถือโอกาสอันดีงามที่จะบำเพ็ญกุศลทำกิจกรรมที่ดีต่างๆ เช่น

เข้าวัดทำบุญ 

วันเข้าพรรษา กิจกรรม เป็นวันที่ชาวพุทธควรจะได้เข้าวัดทำบุญ ฟังพระเทศนา หลังจากวันอาสาฬหบูชา เรียกว่า ได้มีโอกาสทำบุญติดต่อกันถึงสองวัน 

หล่อเทียนพรรษา

วันเข้าพรรษา กิจกรรม เป็นวันที่ชาวพุทธจะได้เห็นกันบ่อยๆ ก็คือพิธีหล่อเทียนจำนำพรรษา แม้ว่าในปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีความจำเป็นแล้วแต่ก็เป็นกิจกรรมส่งเสริมและถือว่าให้ความสำคัญกับประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่สืบต่อกันมา

ถวายเทียนพรรษา

วันเข้าพรรษา กิจกรรม เมื่อทำการหล่อเทียนพรรษาแล้วก็ต้องมีการถวายเทียนพรรษา เป็นประเพณี พิธีแห่เทียนพรรษาที่ชาวพุทธนิยมทำกัน ในวันนั้นจะมีการถวายเทียน ดอกไม้บูชา เวียนเทียนรอบพระอุโบสถ การถวายหลอดไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดยมีความเชื่อวันเข้าพรรษาว่า หากใครถวายเทียน หลอดไฟ ให้กับพระภิกษุถือว่าเป็นแสงนำทางชีวิต ชีวิตจะมีแสงสว่างนั่นเอง

เทียนพรรษา หล่อเทียนพรรษา เวียนเทียน วันเข้าพรรษา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง

ขอบคุณ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

"กัน จอมพลัง" เดือด ท้าวัดพลัง ห้าวแค่ไหนก็ลากเข้าคุกมาแล้ว

"กัน จอมพลัง" เดือด ท้าวัดพลัง ห้าวแค่ไหนก็ลากเข้าคุกมาแล้ว

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง