งานแห่หลวงพ่อปาน 2567 วันนี้ทีมข่าวไทยนิวส์ออนไลน์ มีงานประเพณีแห่หลวงพ่อปานมาบอกทุกคนค่ะ งานประจำปี งานปิดทอง พระเกจิดัง งานยิ่งใหญ่ของชาว สมุทรปราการ งานนมัสการหลวงพ่อปาน จัดขึ้นในวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2567 ติดตามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่นี่
ประวัติหลวงพ่อปาน
หลวงพ่อปาน หรือ หลวงปู่ปาน เป็นชาวตำบลบางเหี้ย (ตำบลคลองด่านในปัจจุบัน) เกิดปี พ.ศ. 2368 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายปลื้มกับนางตาล มีเชื้อสายจีนทั้งสองคน เมื่อโตขึ้นได้เรียนหนังสือที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร แล้วบวชเป็นสามเณรโดยมีพระศรีสากยบุตร (เซ่ง) เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่ภายหลังได้ลาสิกขาบทเพื่อกลับมาช่วยทำงานหาเลี้ยงครอบครัว จนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดอรุณราชวราราม โดยมีพระศรีสากยบุตร (เซ่ง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ไม่ปรากฏฉายาแน่ชัด (บ้างว่าติสฺสโร บ้างว่าอคฺคปญฺโญ) ท่านอยู่ศึกษากรรมฐานพอสมควรแล้วจึงลากลับมาอยู่วัดมงคลโคธาวาส และได้เป็นเจ้าอาวาสต่อมา
เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดอรุณราชวรารามนั่นเอง โดยมีท่านเจ้าคุณศรีศากยมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน รวมถึงไสยศาสตร์ ท่านได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์หลายองค์จนเชี่ยวชาญ ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดบางเหี้ยนอก ปัจจุบัน เรียกว่า วัดมงคลโคธาวาส โดยมีพระที่เป็นสหายสนิทตามมาด้วยองค์หนึ่งชื่อ หลวงพ่อเรือน หลังออกพรรษาท่านและพระเรือนเริ่มออกธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆ
หลวงพ่อปาน มรณภาพ ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ” ท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 4 ทุ่ม 45 นาที พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2454 สิริอายุ 85 ปี
ประเพณีแห่ หลวงพ่อปาน ปี 2567 ครบรอบ 114 ปี
ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมงาน “แห่หลวงปู่ปาน” ประจำปี 2567 (ครบรอบ 114ปี)
มาร่วมสัมผัสความสวยงามของขบวนแห่หลวงปู่ปาน และสัมผัสพลังศรัทธาของชาวคลองด่านและตำบลใกล้เคียงที่มีต่อองค์หลวงปู่ปานว่ามากมายล้นหลามขนาดไหน
ในวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2567
ณ วัดมงคลโคธาวาส ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
ที่มาจาก หลวงปู่ปานวัดบางเหี้ยนอก