ขุนพิเรนทรเทพ ผู้ปราบขุนวรวงศาธิราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์

22 พฤศจิกายน 2567

ขุนพิเรนทรเทพ คือใคร ประวัติ ขุนพิเรนทรเทพ มือขวาของ พระไชยราชาธิราช ใน แม่หยัว ผู้ปราบขุนวรวงศาธิราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์

"ขุนพิเรนทรเทพ" ในยุคสมัยที่การช่วงชิงอำนาจเป็นเรื่องปกติ ราชสำนักอยุธยาต้องเผชิญหน้ากับความวุ่นวาย เมื่อขุนวรวงศาธิราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์เข้ามามีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่แล้วก็มีวีรบุรุษผู้หนึ่งที่ลุกขึ้นมาต่อต้าน นั่นคือขุนพิเรนทรเทพ ผู้กล้าหาญที่พร้อมจะสละทุกสิ่งเพื่อกอบกู้แผ่นดินให้พ้นจากความทุกข์ยาก

 

ขุนพิเรนทรเทพ ผู้ปราบขุนวรวงศาธิราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์

ขุนพิเรนทรเทพ คือใคร ขุนพิเรนทรเทพ ชายผู้มีเลือดเนื้อเชื้อไขของราชวงศ์สุโขทัย เป็นที่รู้จักในฐานะวีรบุรุษผู้กล้าหาญที่สามารถโค่นล้มอำนาจของขุนวรวงศาธิราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ได้สำเร็จ เรื่องราวของเขาเป็นตำนานที่เล่าขานกันมาจนถึงปัจจุบัน

 

ขุนพิเรนทรเทพ ภาพจากซีรีย์ แม่หยัว

เปิดพระราชประวัติ “ขุนพิเรนทรเทพ” ขุนนางคู่พระทัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็น “สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช”

ก่อนจะขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา ขุนพิเรนทรเทพเป็นขุนนางที่มีเชื้อสายทางราชวงศ์สุโขทัย เดิมรับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมพระตำรวจขวา ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช

ขุนพิเรนทรเทพมีส่วนร่วมในการปราบขุนวรวงศาธิราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์โดยวางแผนร่วมกันกับขุนนางที่ภักดีต่อราชวงศ์สุพรรณภูมิ และมีตำนานการเสี่ยงเทียนพิสูจน์ว่าจะประสบความสำเร็จในการที่วางไว้หรือไม่ และได้เห็นเทียนของขุนวรวงศาธิราชดับ เห็นเป็นนิมิตหมายอันดี จึงตัดสินใจลงมือ

ขุนพิเรนทรเทพและพวกได้วางแผนลวงขุนวรวงศาธิราชออกไปคล้องช้างที่เพนียดโดยกระบวนเรือ จากนั้นจับขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ฆ่าเสีย พระราชวัง ส่วนธิดาของขุนวรวงศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์ต่อมาก็ถูกกำจัดด้วย

จากนั้นเหล่าขุนนางได้อัญเชิญพระเฑียรราชาที่ขณะนั้นลาผนวชอยู่เพื่อหลีกหนีเภทภัย ให้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

หลังจากที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. 2091 แล้ว ทรงสถาปนาขุนนางสำคัญที่มีส่วนช่วยเหลือให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ โดยขุนพิเรนทรเทพได้อวยยศเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ครองเมืองพิษณุโลก และพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชธิดา ให้เป็นพระมเหสี

เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชไปครองเมืองพิษณุโลกนั้น ต่อมาพระวิสุทธิกษัตรีย์มีพระราชธิดาและพระราชโอรสเป็นลำดับคือ พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ

 

เสียกรุงครั้งที่ 1


เมื่อเกิดสงครามช้างเผือกระหว่างอยุธยากับพม่าใน พ.ศ. 2106 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้พยายามป้องกันเมืองพิษณุโลกและหัวเมืองเหนือไว้ด้วยความสามารถ แต่ต้านทายการบุกของ “พระเจ้าบุเรงนอง” ไม่ไหว

เมื่อจวนจะเสียเมือง สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชจำต้องทรงยอมอ่อนน้อมต่อพม่า ฝ่ายบุเรงนองเห็นการปฏิบัติของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช จึงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกต่อไป แต่ขึ้นอยู่ภายใต้อาณัติของพม่า

ภายหลังที่เสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2112 แล้ว พม่าได้จับกุมสมเด็จพระมหินทราธิราช พระโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กษัตริย์อุยธยาในขณะนั้น กลับไปเป็นเชลยด้วย และได้ปราบดาภิเษกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชขึ้นเป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1 เป็นกษัตริย์อยุธยาจากราชวงศ์สุโขทัยพระองค์แรก

ในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช อยุธยายังอ่อนแอจากการเสียกรุงครั้งที่ 1 ทำให้มีการศึกจำนวนมาก ทั้งใน พ.ศ. 2113 พระยาละแวกยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา แต่สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสามารถป้องกันเมืองไว้ได้ โดยขับไล่กองทัพพระยาละแวกไป

ต่อมาอีก 3 ปี กองทัพพระยาละแวกยกเข้ามาโจมตีอยุธยาอีก แต่สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชป้องกันเมืองไว้ได้อีก การที่ข้าศึกสามารถขึ้นมาประชิดพระนครได้ง่ายดังนี้ ทำให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงโปรดให้ขุดคูขื่อหน้าทางด้านทิศตะวันออกของเกาะเมืองให้กว้างขึ้น ทรงสร้างป้อมมหาชัยขึ้นที่บริเวณแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีมาบรรจบกัน

ในปี พ.ศ. 2124 เกิดกบฏญาณพิเชียรขึ้นแถบเมืองลพบุรี แต่ทรงสามารถปราบปรามให้สงบเรียบร้อยลงได้

ต่อมาปี พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ได้ทรงหลั่งทักษิโณทกตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี ทำให้พม่าส่งทัพมาโจมตีกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2129 และ พ.ศ. 2130 ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงสามารถขับไล่กองทัพพระเจ้าหงสาวดีที่มาล้อมกรุงศรีอยุธยาให้พ่ายแพ้กลับไป

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชยังทรงมีพระราชกรณียกิจในการปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ที่กระด้างกระเดื่อง เช่น หัวเมืองเขมร ให้อยู่ในอำนาจกรุงศรีอยุธยา โดยมีสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นแม่ทัพที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทำให้กองทัพอยุธยาสามารถยับยั้งการรุกรานของเมืองอื่น ๆ ได้อยู่ร่ำไป

ต่อมา พ.ศ. 2133 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต พระชนมายุได้ 76 พรรษา อยู่ในราชสมบัติได้ 22 ปี จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นครองราชย์ต่อ

 


เรียบเรียงจาก นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย