ใกล้แล้วกับเทศกาลที่หลายคนรอคอย คือ วันสงกรานต์ หรือ เทศกาลสงกรานต์นั่นเอง ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย วันนี้ทีมข่าวปาฏิหาริย์ มีคำถามและคำตอบมาฝากทุกคนคะ แยกออกหรือไม่ น้ำปรุง กับ น้ำอบ เหมือนต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลย
น้ำปรุง กับ น้ำอบ เหมือนต่างกันอย่างไร
น้ำปรุง คือ...
ความหอมละเมียดละไมแบบไทย เป็นน้ำสีเขียวๆ ซึ่งสกัดจากใบไม้ ปรุงด้วยกลิ่นดอกไม้หลากหลายชนิดให้มีความหอมอย่างลงตัวจึงได้เรียกว่าน้ำปรุง ลักษณะการใช้งานเช่นเดียวกับน้ำหอม ความติดทนในระดับ ออดิเพอร์ฟูม คือ 6 ช.ม. หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และอุณหภูมิ น้ำปรุงคือเครื่องหอมชั้นสูงของไทยที่ใช้ในงานมงคล สามารถใช้ถวายพระ สรงน้ำพระ ไหว้เทพ ใช้ในพิธีกรรม ผสมน้ำพระพุทธมนต์ หรือใช้ผสมน้ำรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ก็ได้เช่นกัน มีกลิ่นเดียวนะคะ คือกลิ่นดอกไม้รวม น้ำปรุงตามตำรับโบราณที่แท้จริงจะไม่มีแยกกลิ่น ว่าเป็นน้ำปรุงกลิ่นดอกโน้น ดอกนี้ แต่ใช้ดอกไม้หลายชนิด ตามแต่สูตรของผู้คิดค้น ปรุงจนได้กลิ่นที่ลงตัวให้หอมตามจริตความชอบ กลิ่น สี ลักษณะ จึงเป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับของตำรับนั้นๆ โดย สัตตมาลี มีต้นตำรับจากในวัง ที่นี้คือ"วังหลวง" (พระบรมมหาราชวัง)
น้ำอบไทย คือ...
ถือเป็นเครื่องสำอางที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ประพรมร่างกายเพื่อเพิ่มความเย็น สดชื่น ช่วยให้เกิดความกระปรี้กระเปร่า และคลายร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะมีส่วนประกอบของสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณดับพิษร้อน และยังมีแป้งหินและพิมเสนเป็นตัวช่วยให้เกิดความเย็นสบาย น้ำอบสามารถนำมาใช้ได้หลายโอกาส ไม่ว่าจะเป็นงานมงคล รดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ช่วงวันสงกรานต์ สรงน้ำพระ งานมงคลสมรส กระทั่งถึงงานอวมงคล(ต่างจากน้ำปรุงซึ่งเป็นเครื่องหอมชั้นสูงใช้เฉพาะในงานมงคล) และเนื่องด้วยน้ำอบมีส่วนผสมของแป้ง ความติดทนจึงอยู่ในระดับ โคโลญน์
สรุป คือ : น้ำปรุง เป็นครื่องหอมชั้นสูง คือน้ำหอมอย่างไทยใช้ในงานมงคล เกรดคือเพอร์ฟูม แต่น้ำอบ ทำขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องสำอางทาผิวดับร้อน แต่มีกลิ่นหอม เทียบเท่าในระดับโคโลญน์ใช้งานมงคล และงานอวมงคลด้วย
ขอขอบคุณ : สัตตมาลี เครื่องหอมตำรับในวัง