3ปัจจัยสำคัญ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย ยุค New Normal ยกระดับสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

13 มิถุนายน 2566

นวัตกรรมเพื่อการบริการวิชาการสู่สังคมภายใต้ยุคดิจิทัล เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่นยืน "ทิศทางอุตสาหกรรมไทยในยุค New Normal"


    13 มิถุนายน 2566 นายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 เรื่องนวัตกรรมเพื่อการบริการวิชาการสู่สังคมภายใต้ยุคดิจิทัล เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่นยืน ภายใต้หัวข้อ “ทิศทางอุตสาหกรรมไทยในยุค New Normal” จัดโดยมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM
 


   นายวิวรรธน์ ได้นำเสนอภาพรวมของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย การขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมทั้งแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยในยุค New Normal ด้วยการยกระดับอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next-gen Industries) ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่

3ปัจจัยสำคัญ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย ยุค New Normal ยกระดับสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

1) 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

2) แนวคิด BCG หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy)

3) การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน
 

นอกจากนี้ นายวิวรรธน์ ยังได้เสนอแนวทางเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย 8 เรื่องสำคัญ ได้แก่

3ปัจจัยสำคัญ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย ยุค New Normal ยกระดับสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

1) ยกระดับห่วงโซ่มูลค่าภาคอุตสาหกรรมสู่การใช้เทคโนโลยีชั้นสูง มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

2) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา รวมถึงการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)

3) ยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน ด้วยการสร้างและดึงดูดผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งพัฒนาระบบการศึกษาตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคต

3ปัจจัยสำคัญ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย ยุค New Normal ยกระดับสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

4) ปฏิรูปกฎหมาย ปรับปรุงขั้นตอนการอนุมัติอนุญาตของราชการ

5) เร่งเจรจาและส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ความตกลงการค้าเสรี (FTA)

6) ส่งเสริมการเกษตรด้วยอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Industry)

7) พัฒนาปัจจัยพื้นฐานในการส่งเสริมและสนับสนุน SME และ สตาร์ทอัพ (Startup) ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

8) เพิ่มการใช้พลังงานสะอาด ปรับกระบวนการผลิตสู่คาร์บอนต่ำ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ