ไทยทำกิน

heading-ไทยทำกิน

คืนชีพ "ขนมปัง 8,000 ปี" ปลุกรสชาติจากอดีตตั้งแต่ยุคหินใหม่

24 ม.ค. 2568 | 16:57 น.
คืนชีพ "ขนมปัง 8,000 ปี" ปลุกรสชาติจากอดีตตั้งแต่ยุคหินใหม่

ปลุกรสชาติจากอดีต เชฟเสิร์ฟ "ขนมปัง" คืนชีพสูตร 8 พันปีจากยุคหินใหม่ ซึ่งค้นพบระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดีในแหล่งตั้งถิ่นฐานโบราณทางตอนใต้-ตอนกลางของตุรกี

รสชาติจากอดีต เชฟตุรกีเสิร์ฟ "ขนมปัง" คืนชีพสูตร 8 พันปีจากยุคหินใหม่

อังการา, 24 ม.ค. (ซินหัว) -- อูลาส เตเคอร์กายา เชฟชาวตุรกี (ทูร์เคีย) ผู้หลงใหลในโบราณคดีด้านอาหาร รื้อฟื้นสูตรการทำขนมปังที่ได้แรงบันดาลใจจากซากขนมปังอายุ 8,600 ปีจากยุคหินใหม่ ซึ่งค้นพบระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดีในแหล่งตั้งถิ่นฐานโบราณทางตอนใต้-ตอนกลางของตุรกี

 

คืนชีพ ขนมปัง 8,000 ปี ปลุกรสชาติจากอดีตตั้งแต่ยุคหินใหม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คืนชีพ ขนมปัง 8,000 ปี ปลุกรสชาติจากอดีตตั้งแต่ยุคหินใหม่

 

เตเคอร์กายารังสรรค์ก้อนขนมปังนี้ขึ้นมาใหม่ด้วยส่วนผสมแบบเดียวกับผู้คนในยุคหินใหม่เมื่อหลายพันปีก่อน ที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองซาทาลฮือยึค (Catalhoyuk) หนึ่งในเมืองเก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองคอนยาของตุรกี

เมื่อเดือนมีนาคม 2024 ทีมนักโบราณคดีประกาศการค้นพบโครงสร้างลักษณะคล้ายเตาอบขนาดใหญ่ที่ใช้ร่วมกันในชุมชน ซึ่งภายในพบเศษอาหาร รวมถึงวัตถุที่มีลักษณะเป็นฟองน้ำขนาดเท่าฝ่ามือที่ไหม้เกรียมที่เชื่อว่าเป็นขนมปัง โดยการวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยเนคเมตติน เอร์บาคัน (BITAM) ยืนยันว่าองค์ประกอบของขนมปังที่มีการหมักนี้ประกอบด้วยถั่วลันเตา ข้าวบาร์เลย์ และข้าวสาลี

ทีมนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยอนาโดลูทางตอนกลางของตุรกีระบุว่าการค้นพบนี้เป็นขนมปังที่มีอายุราว 8,600 ปี ซึ่งการค้นพบที่น่าสนใจนี้จุดประกายแรงบันดาลใจให้เตเคอร์กายาชุบชีวิตสูตรขนมปังที่สูญหายไปนี้ขึ้นมาโดยใช้ธัญพืช เมล็ดพืช และสารสกัดจากดอกไม้ที่พบและปลูกในภูมิภาคนี้ และสามารถปั้นแป้งเป็นก้อนกลมพร้อมอบบนกองฟืนที่พิพิธภัณฑ์เมืองและวัฒนธรรมชีวิตเมรามในเมืองคอนยาได้สำเร็จเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา หลังจากพยายามอยู่หลายครั้ง

คืนชีพ ขนมปัง 8,000 ปี ปลุกรสชาติจากอดีตตั้งแต่ยุคหินใหม่

 

เตเคอร์กายาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวของจีนว่าครั้งแรกที่ลองทำ ตัวขนมปังมีรสชาติขมและแข็งมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะเขาไม่ได้ทำตามตำรับโบราณอย่างสมบูรณ์ แต่หลังจากทดลองอยู่นานเกือบหนึ่งปี ในที่สุดเตเคอร์กายาสามารถทำขนมปังแบบเดียวกับที่คนโบราณในเมืองซาทาลฮือยึคเคยกินได้สำเร็จ

ทั้งนี้ เตเคอร์กายาเสริมว่าคนในยุคหินใหม่มักกินขนมปังเป็นมื้อหลักพร้อมกับของเคียงเพียงเล็กน้อย โดยในโลกยุคโบราณ ขนมปังถือเป็นอาหารหลักและให้พลังงานราวร้อยละ 50-70 ของความต้องการแคลอรี่ต่อวัน ทว่าหลายฝ่ายยังคงมีคำถามเกี่ยวกับนิยามของขนมปังและใครที่คิดค้นมันขึ้นมาเป็นครั้งแรก

การคิดค้นขนมปังเชื่อมโยงใกล้ชิดกับการเปลี่ยนผ่านจากสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์ไปสู่การทำเกษตร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดขึ้นในยุคหินใหม่ และเมืองซาทาลฮือยึคที่ถูกค้นพบในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ถูกจัดเป็นตัวอย่างสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเกษตรกรรม โดยเคยเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนกว่า 8,000 คนในยุคหินใหม่ เมื่อราว 10,000-2,000 ปีก่อนคริสตศักราช

นอกจากบทบาทเชฟแล้ว เตเคอร์กายายังเป็นผู้เขียนหนังสือ "ซาทาลฮือยึค : วัฒนธรรมอาหารอายุ 10,000 ปี" เขาใช้เวลากว่า 7 ปีเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการค้นพบเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินอาหารในยุคดังกล่าว จนนำสู่การทดลองรังสรรค์อาหารโบราณหลายชนิดขึ้นใหม่อีกครั้ง ซึ่งเตเคอร์กายาบอกเล่าว่าตอนนี้ได้เตรียมอาหารจากยุคหินใหม่ถึง 35 เมนู เช่น เม่นแคระตุ๋นและเมนูจากสัตว์เลื้อยคลาน

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ดวงวันนี้ 25 ม.ค. 68 การเงิน การงาน เป็นอย่างไร

ดวงวันนี้ 25 ม.ค. 68 การเงิน การงาน เป็นอย่างไร

สาวชีวิตพัง ถูกอายัดเงิน 8 บัญชี เหตุตำรวจกดระงับเลขบัญชีม้าผิด

สาวชีวิตพัง ถูกอายัดเงิน 8 บัญชี เหตุตำรวจกดระงับเลขบัญชีม้าผิด

บุกทลายโกดังพบ "กาแฟจีน" 1ล้านซอง แอบสวม อย.ไทย ขายทางออนไลน์

บุกทลายโกดังพบ "กาแฟจีน" 1ล้านซอง แอบสวม อย.ไทย ขายทางออนไลน์

ทักษิณ เล่าอดีต ซื้อแมนซิตี้ แก้เหงา หลังโดนปฏิวัติ จริงๆอยากซื้อลิเวอร์พูล

ทักษิณ เล่าอดีต ซื้อแมนซิตี้ แก้เหงา หลังโดนปฏิวัติ จริงๆอยากซื้อลิเวอร์พูล

สามีดารายุค 90 ตามตื๊อยืมเงินเจ้าของร้านเพชร ชาวเน็ตคอมเมนต์สนั่น

สามีดารายุค 90 ตามตื๊อยืมเงินเจ้าของร้านเพชร ชาวเน็ตคอมเมนต์สนั่น