เปิดเผยผลการทดลอง มหาวิทยาลัยเบนกูเรียน (BGU) ของอิสราเอล ว่าสารให้ความหวานที่มักใช้แทนน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด อาจก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารในระยะยาว
ผลการศึกษาในวารสารอินเตอร์เนชันนัล เจอร์นัล ออฟ โมเลคูลาร์ ไซเอนส์ (International Journal of Molecular Sciences) ระบุว่าคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ได้ทดสอบสารให้ความหวาน(น้ำตาลเทียม) 6 ชนิด ซึ่งได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) และพบว่าสารเหล่านี้แทรกแซงการสื่อสารของแบคทีเรียในร่างกาย
แม้ว่าสารทั้งหกตัวจะไม่ได้ฆ่าแบคทีเรีย แต่มีสาร 3 ตัว ได้แก่ แอสปาร์แตม ซูคราโลส และแซกคาริน ที่ส่งผลกระทบใหญ่ต่อการสื่อสารของแบคทีเรีย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาหรือโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยคณะนักวิจัยอธิบายว่าสารให้ความหวานทำลายกิจวัตรการสื่อสารของแบคทีเรีย ซึ่งอาจนำไปสู่การทำลายเสถียรภาพของจุลินทรีย์ในลำไส้
-พระมหาสมปอง ส่งกำลังใจ "พยาบาลบ้ายอ" ติดตามมานาน ไม่ปั๊ว ไม่จึ้งตรงไหน
-สาวสั่งสปอยเลอร์ติดท้ายรถ จากร้านค้าออนไลน์ สินค้ามาส่งถึงกับกุมขมับ!
-เผยภาพสุดประทับใจ "ลิซ่า BLACKPINK" ได้กอดคุณเเม่ครั้งแรกในรอบ2ปี!
คณะนักวิจัยได้ใช้แบคทีเรียเรืองแสงเพื่อทดสอบสารให้ความหวาน เนื่องจากความสามารถเรืองแสงของแบคทีเรียเหล่านี้จะลดลง หากการสื่อสารของแบคทีเรียถูกรบกวน คณะนักวิจัยกล่าวสรุปในเรื่องนี้ว่า “งานวิจัยของเราผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารทบทวนการใช้สารให้ความหวาน”
ที่มา xinhuathai
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews