4 ความเชื่อ จริงหรือไม่ ในวัน "ลอยกระทง"

18 พฤศจิกายน 2564

ไขข้อสงสัยกับ 4 ความเชื่อ เกี่ยวกับวัน "ลอยกระทง" จะจริงหรือมั่วนั้น Thainews จะชวนไปหาคำตอบกันในบทความนี้คะ

ลอยกระทง ปีนี้ตรงกับ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ประเพณี ลอยกระทง หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ตามพื้นที่ใหญ่ๆ เกือบทั้ง 76 จังหวัด เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีไทย อีกทั้งยังเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาแวะชม เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย

ลอยกระทง สถานที่จัดงาน

ความเชื่อและการกระทำ ที่เห็นบ่อยที่สุดในวันลอยกระทงของคนสมัยโบราณ

1. ลอยทุกข์ ลอยโศก โรคภัยต่างๆ ไปกับกระทง

ซึ่งในความเชื่อของการลอยกระทงเพื่อลอยทุกข์ ลอยโศกนี้ คนโบราณเชื่อว่ากระทงที่ลอยออกไปจะนำพาทุกข์โศกโรคภัยออกไปจากเราได้ แต่ความจริงเราไม่สามารถที่จะลอยทุกข์โศกให้หมดไปได้ด้วยการลอยกระทง

ลอยกระทง ขอขมาพระแม่คงคา

2. ตัดเล็บ ตัดผม และเงินใส่ลงไปในกระทงแล้วนำไป ลอยน้ำ 

ลอยกระทง

ตามประเพณีที่จัดงานลอยกระทงก็เพื่อขอขมา แม่น้ำคงคา ที่เราได้ใช้น้ำ ได้ดื่มน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็แล้วแต่ ไม่ใช่การไปขอพรเพื่อตัวเองหรือขอพรเพื่อคนอื่น

3. ลอยโคม ลอยทุกข์ ลอยโศก ไปกับสายน้ำ

ลอยโคม เชียงใหม่ เชียงราย

การปล่อยโคมลอย ไม่ใช่การลอยทุกข์ ลอยโศก แต่เป็นอันตรายต่อคนรอบข้าง ดีไม่ดีการลอยโคม จะไปทำให้ไฟไหม้บ้านของคนอื่นด้วยค่ะ ปกติจะอนุโลมเพียงสองจังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย เพราะมีประเพณียี่เป็ง แต่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่ 24 ชั่วโมง นอกนั้นมีกฎหมาย ห้าม หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน  60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

4. ประทัด(ดอกไม้ไฟ) เอาฤกษ์เอาชัย  เทศกาลลอยกระทง

ไฟเย็น (ดอกไม้ไฟ)

ใครๆ ก็ต้องเล่นของอันตรายทุกทีแต่อย่าปล่อยให้เด็กๆ เล่นดอกไม้ไฟ ประทัด พลุ เด็ดขาด เพราะเด็กๆ ยังมีความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจสร้างความรำคาญให้คนอื่น แถมเป็นอันตรายต่อตัวเองอีกด้วย ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องคอยดูแลลูกหลานของท่านให้ดีๆ เลยค่ะ

ความเชื่อที่กล่าวมาเป็นความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณและทุกวันนี้ก็ยังมีการปฏิบัติกันมาจากรุ่นสู่รุ่นให้เห็นกันอยู่จริงไหมละคะ ควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล

ขอบคุณ/ภาพจาก : วิกิพีเดีย / โซเชียล