หลายท่านคงเคยสงสัยว่าน้ำมันเครื่องมีหลายยี่ห้อ หลายชนิด ค่าความหนืดคืออะไร ตัวเลขบนหน้าขวด หรือไม่ว่าอะไรก็ตามแต่ เราจะมาแนะนำ 5 วิธีการเลือกใช้น้ำมันเครื่องอย่างไรให้เหมาะสมกับรถยนต์ของคุณ
วิธีที่ 1 เลือกประเภทน้ำมันเครื่อง
โดยหลักๆจะมี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล ที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ยกเว้นแต่บางยี่ห้อที่ผลิตในบางรุ่นทำมารองรับทั้งเครื่องยนต์ 2 ชนิด แต่โดยหลักๆให้ท่านดูข้อมูลจากคู่มือรถยนต์ว่าควรเติมน้ำมันเครื่องแบบไหน ว่าเราควรใช้น้ำมันเครื่องให้ถูกประเภทกับเครื่องยนต์จะดีที่สุดครับ หรือให้สังเกตที่ฉลากตัวอักษร ถ้าเป็นเครื่องยนต์เบนซิน Gasoline และถ้าเป็นเครื่องยนต์ดีเซล Diesel
วิธีที่ 2 เลือกชนิดน้ำมันเครื่อง โดยน้ำมันเครื่องแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1.น้ำมันสังเคราะห์ (Fully Synthetic) น้ำมันเครื่องชนิดนี้เป็นแบบ สังเคราะห์ 100 เปอร์เซ็นต์ จะมีราคาค่อนข้างเเพงกว่าชนิดอื่นๆ ในแต่ล่ะยี่ห้อ สามารถป้องกันการสึกหรอของเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี โดยจะมีระยะเปลี่ยนถ่ายจะอยู่ที่ 10,000-12,000กิโลเมตร หรือสูงสุดไม่ควรเกิน 20,000 กิโลเมตร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลรถมากเป็นพิเศษ
2.น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) น้ำมันเครื่องชนิดนี้เป็นแบบกึ่งสังเคราะห์ จึงมีส่วนผสมระหว่าง น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ และอีกส่วนเป็นน้ำมันจากธรรมชาติราคา ซึ่งแต่ล่ะยี่ห้อก็จะมีราคาถูกลงมากว่า Fully Synthetic โดยจะมีระยะการถ่ายอยู่ที่ 5,000-7,000 กิโลเมตร หรือสูงสุดไม่เกิน 10,000 กิโลเมตร เป็นชนิดของน้ำมันเครื่องที่คนนิยมใช้มากที่สุด
3.น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic)
เป็นน้ำมันปิโตรเลียมที่เหลือมาจากการกลั่น ส่วนมากจะมีอายุการใช้งานสั้นที่สุดในบรรดาน้ำมันทั้งหมด จะมีระยะเปลี่ยนถ่ายจะอยู่ที่ 5,000 กิโลเมตร หรือสูงสุดไม่เกิน 7,000 กิโลเมตร ควรเลือกใช้เป็นเวลาที่สั้นๆ
วิธีที่ 3 เลือกความหนืดของน้ำมันเครื่อง
ความหนืดของน้ำมันเครื่อง คือ ระดับความข้นของน้ำมันเครื่อง หากน้ำมันเครื่องข้นหรือหนืดเกินไป น้ำมันเครื่องเหลวมากไปนั่นเอง จะไม่สามารถให้การปกป้องชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้ ลักษณะการเลือกใช้งาน ให้สังเกตดูได้ที่ ตัวเลขตัวแรกที่นำหน้า W คือค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องในสภาวะอุณหภูมิที่ต่ำหรือขณะที่เครื่องยนต์เย็นยิ่งตัวเลขน้อยจะแสดงถึงค่าความหนืดที่ต่ำ ทำให้สามารถหล่อลื่นเครื่องยนต์ขณะเย็นได้ดี ส่วนตัวเลขที่อยุ่หลังสุดนั้น เช่น 30, 40, 50 ,60 คือค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องในสภาวะอุณหภูมิที่สูงหรือขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน ยิ่งตัวเลขสูงจะแสดงถึงค่าความหนืดที่สูง ทำให้สามารถหล่อลื่นและปกป้องเครื่องยนต์ขณะทำงานได้ดี โดยหลักการเลยใช้งาน เลขกิโลเมตรหรือเลขไมล์ไม่เกิน 200,000กิโลเมตร ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดต่ำ เช่น 30 รถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมานานมีเลขกิโลเมตรหรือเลขไมล์ 200,000 กิโลเมตรขึ้นไป ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูง เช่น 40 หรือ 50 ตามความเหมาะสม
4.เลือกค่ามาตรฐานน้ำมันเครื่อง
ค่ามาตรฐานน้ำมันเครื่อง คือ เกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ปัจจุบันมีหลายองค์กร โดยให้ศึกษาจากคู่มือรถยนต์จะดีที่สุด
JASO (Japanese Automotive Standard Organization )
SAE ( Society of Automotive Engineers)
API ( American Petroleum Institute )
โดยค่า API จะแบ่งเป็น 2 อย่างหลักๆ สัญลักษณ์ “ S ” จะเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน โดยส่วนใหญ่ค่ามาตรฐานปัจจุบันที่ใช้กันจะเป็น SN เป็นเกรดสูงสุดของเบนซิน สัญลักษณ์ “ C “ จะเหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล โดยส่วนใหญ่ค่ามาตรฐานปัจจุบันที่ใช้กันจะเป็น CK-4 เป็นเกรดสูงสุดของดีเซล โดยตัวเลข4 หมายถึงเครื่องยนต์ 4จังหวะ
5.เลือกยี่ห้อน้ำมันเครื่อง
เพราะน้ำมันเครื่องแต่ละประเภทมีราคาที่แตกต่างกันตามเกรดคุณภาพ แต่ละยี่ห้อก็มีหลายช่วงราคาให้เลือก อย่างไรแล้วลูกค้าควรพิจารณาตามรถยนต์ที่ท่านใช้งานและเลือกซื้อให้เหมาะสม เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และดูจากความน่าเชื่อถือของเเบรนด์ ที่สำคัญควรเลือกซื้อจากตัวแทนที่น่าเชื่อถือ เพราะว่าท่านอาจจะเจอผลิตภัณฑ์ของปลอมก็เป็นได้ ถ้าท่านเจอน้ำมันเครื่องที่มีราคาถูกจนเกินไป
ขอบคุณที่มาจาก:https://carmartonlineshop.com/