เปิดประวัติ เซียนแปะโรงสี คือใคร อยู่ที่ไหน ขอพรเรื่องอะไร
เซียนแปะโรงสี เป็นผู้วิเศษชาวจีนที่มีคนนับถือเยอะที่สุดท่านหนึ่ง มีความเชื่อกันว่าสามารถ ขอพร แปะโรงสี ได้โดยไม่ต้องบน
เซียนแปะโรงสี แปะ วัดมะขาม เซียนแปะโรงสี คือใคร เซียนแปะโรงสี วัดมะขาม ใช่คนเดียวกันไหม วันนี้ Thainews จะพาไปย้อนดูที่มาของ เซียนแปะโรงสี ทำไมผู้คนนิยมไปไหว้ขอพร และ เซียนแปะโรงสี อยู่ที่ไหน ไปยังไง ขอพรเรื่องอะไรได้บ้าง ไปดูกันคะ
ประวัติ วัดศาลเจ้า
วัดศาลเจ้า ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของเมืองปทุม จะอยู่ติดกับวัดมะขาม ติดแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองเชียงรากค่ะ โดยประวัติของวัดนั้นยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า วัดศาลเจ้า แห่งนี้สร้างเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยา โดย เจ้าน้อยมหาพรหม บุตรเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ เป็นผู้มีวิชาไสยศาสตร์แก่กล้าค่ะ
ว่ากันว่าท่านได้ล่องแพมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา จนมาถึงวัดมะขามแห่งนี้ และได้พบกับ พระอาจารย์รุ พระภิกษุเชื้อสายรามัญ ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้าน ทั้งสองได้ทดสอบวิชากัน จนทำให้เจ้าน้อย มหาพรหม เกิดความเคารพเลื่อมใสในวิทยาคมของพระอาจารย์รุ จึงขอสร้างวัดและศาลขึ้น ณ ที่นี้ แล้วตั้งชื่อว่า วัดศาลเจ้า ซึ่งน่าจะมาจาก "ศาล" ที่สร้างขึ้นโดย "เจ้า" น้อยมหาพรมนั่นเองค่ะ
ภายใน วัดศาลเจ้า ก็จะมีปูชนียสถานที่สำคัญต่างๆ ทั้ง อุโบสถที่เจ้าน้อยมหาพรหมสร้างถวายในสมัยพระอาจารย์รุ ซึ่งได้มีการบูรณะใหม่ในเวลาต่อมาค่ะ เป็นอุโบสถเจดีย์แบบรามัญ ที่หาชมได้ยาก รวมไปถึงมีพระพุทธรูปที่เจ้าน้อยมหาพรหมสร้างไว้ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาการเปรียญอีกด้วยค่ะ
ประวัติ เซียนแปะโรงสี
เซียนแปะโรงสี หรือ อาจารย์โง้วกิมโคย เซียนแปะโรงสี คือใคร เดิมทีชื่อ กิมเคย แซ่โง้ว เป็นชาวจีนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เมื่อประมาณอายุ 22 ปี ได้สมรสกับนาง นวลศรี เอี่ยมเข่ง มีบุตรด้วยกัน 10 คน อาแปะประกอบ อาชีพค้าขายข้าวเปลือก และได้ตั้งโรงสีชื่อว่า โรงสีไฟทองศิริ ที่ปากคลองเชียงรากเยื้อง ๆ กับวัดศาลเจ้าและได้โอนสัญชาติจากจีนเป็นไทย รวมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น นายนที ทองศิริ กิจการโรงสีของอาแปะมั่นคงมากขึ้น ทำให้เป็นที่รู้จักกันในนามว่า แปะกิมเคย
เซียนแปะโรงสี วัดมะขาม ท่านเป็นคนชอบช่วยเหลือคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ทำให้เป็นที่เคารพของคนทั่วไปโดยเฉพาะในกลุ่มของพ่อค้าแม่ค้า และเป็นที่เล่าต่อกันมาว่าแปะโรงสีนั้นมีองค์ของพ่อปู่ เจ้าพ่อวัดศาลเจ้า อีกด้วย โดยในงานประจำปีท่านจะจุดธูปเพื่อปัดเป่าลมฝน ซึ่งฝนก็จะไม่ตกและท้องฟ้าก็ดูแจ่มใสอีกเช่นกัน อาแปะได้ทำการบูรณะศาลเจ้าในยามที่การคมนาคมลำบาก แต่ท่านก็ไม่ละความพยายาม จนทำสำเร็จ นอกจากการบูรณะศาลเจ้าแล้ว เซียนแปะโรงสียังเป็นผู้กำหนดวันจัดงานประจำปีของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าเป็นวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 1 ถึงวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 1 รวม 4 วัน 4 คืน ซึ่งทางชาวจีนเรียกช่วงนี้ว่า "เจียง่วย ชิวโหงว ถึง เจียง่วย ชิวโป้ย" และได้ถือเป็นประเพณีตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
อีกทั้ง อาแปะโรงสี ท่านเก่งเรื่องดูโหงวเฮ้ง ฮวงจุ้ยต่าง ๆ ในการตั้งบริษัทหรือบ้าน โดยคนที่ให้ท่านชี้แนะกลับไปต่างก็ประสบความสำเร็จกันถ้วนหน้า บรรดาผู้คนทั้งจากในไทยและต่างประเทศต่างพากันมาหาท่าเพื่อขอคำชี้แนะเรื่องทำเลที่ตั้ง ฮวงจุ้ยของบริษัทห้างร้าน จึงเป็นที่มาว่าทำไมผู้คนต่างนับถือเซียนแป๊ะโรงสีผู้นี้ อาแปะโรงสีได้เสียชีวิตในปี 2526 แต่ชื่อเสียงก็ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
การเดินทาง มายัง วัดศาลเจ้า
วัดศาลเจ้า ปทุมธานี เปิดให้เข้าชม : 08.00-16.00 น. ที่อยู่ : 2/1 หมู่ 3 ซอยวัดมะขาม ถนนติวานนท์ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
ของไหว้บูชา อาแปะโรงสี (เซียนแปะโรงสี) เพื่อความเป็นสิริมงคล
1. ส้ม 5 ลูก
2.น้ำชา 5 ถ้วย
3. ขนมแต้เหลียว 1 จาน
4. กิมฮวย 1 คู่
5. ธูป 5 ดอก
6. พวงมาลัยพลาสติก 1 คู่
7. ไหว้วันชิวโหงว วันที่ห้า ของวันตรุษจีน วันที่เจ้ากลับลงมาจากสวรรค์
วิธีบูชา เซียนแปะโรงสี
1. จุดธูป 16 ดอกนอกบ้าน บอกเจ้าที่เพื่อจะขอแขวนผ้ายันต์ และอัญเชิญอาแปะเข้าบ้าน
2. ให้นำผ้ายันต์แขวนบนผนัง โดยให้ผ้ายันต์หันออกหน้าร้าน
3. เอากิมฮวย 1 คู่ ติดตรงกลางด้านล่างของรูปและปักธูปไม่จุด 5 ดอก และ แขวนพวงมาลัยพลาสติก 1 พวง บนกรอบด้านบน เป็นอันเสร็จพิธี สามารถถวายพวงมาลัยสดเพิ่มได้ ทั้งนี้กิมฮวยธูป 5 ดอก และพวงมาลัยพลาสติกควรเปลี่ยนปีละ 1 ครั้ง
4. กิมฮวย 1 คู่ ธูป ดอก พวงมาลัยพลาสติก 1 คู่ ให้ไหว้วันชิวโหงว วันที่ห้า ของ วันตรุษจีน วันที่เจ้ากลับลงมาจากสวรรค์
คำอธิฐานขอพร อาแปะโง้วกิมโคย (เซียนแปะโรงสี)
เทียน กัว สื่อ ฮก โหงว ลี่ ขอให้ฟ้าประทานพร โชคลาภ ความมั่งคั่ง ร่ำรวย สุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว
ขอบคุณที่มาจาก/ภาพจาก : ศาลเจ้าเซียนแปะโรงสี และคณะศิษย์เจ้าพ่อวัดศาลเจ้า / โซเชียลมีเดีย