พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไร เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์

28 กุมภาพันธ์ 2565

พ.ร.บ.คุ้มครองรถยนต์คืออะไร แล้วมีความสำคัญมากน้อยเเค่ไหน นอกเหนือจากการต่อภาษีรถยนต์แล้ว ทำไมเราต้องต่อ พ.ร.บ.ควบคู่กันด้วย

พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไร ถ้าเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ หลายคนคงสงสัยว่าเวลาเราต่อภาษีรถยนต์แล้ว เราต้องต่อ พ.ร.บ.ควบคู่ไปด้วย แล้ว พ.ร.บ. คืออะไร ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ จากรถ พ.ศ.2535 หรือเรียกว่าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน ซึ่งคุ้มครองทุกคนที่ประสบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงคนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต บาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้เป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าปลงศพแล้วแต่กรณี แต่ไม่รวมค่าเสียหายของทรัพย์สิน

พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไร เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์

 

ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับ

1. ค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่ต้องรอผลพิสูจน์ว่าฝ่ายใดชนหรือฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือผิด

กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท

กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาท

กรณีเสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพอีกจำนวน 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท

2. ค่าสินไหมทดแทน คือเงินชดเชยที่ฝ่ายถูกจะได้รับ หลังการพิสูจน์ผิดถูกแล้ว โดยได้รับความคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังนี้

ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท

สูญเสียอวัยวะ แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

1. สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือเสียแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือเสียขา หรือตาบอด อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งรวมกันตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป ชดเชย 300,000 บาท

2. สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือเสียแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือเสียขา หรือสายตา (ตาบอดแบบไม่สามารถมองเห็นได้เลย) หรือหูหนวกเป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด หรือสูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ หรือจิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด ชดเชย 250,000 บาท

3. สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียว หรือหลายนิ้ว ชดเชย 200,000 บาท

ค่าชดเชยกรณีเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน

พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไร เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์

การขอรับค่าเสียหาย

ผู้ประสบภัยจากรถหรือทายาท ยื่นเรื่องขอรับค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้โรงพยาบาลเป็นผู้รับแทนก็ได้

ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจ่ายตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท มี สิทธิ์รับได้ภายใน 7 วัน นับจากวันร้องขอจากบริษัทประกันภัยโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด ระยะเวลาในการขอใช้สิทธิ์ พ.ร.บ.ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดเหตุ

หลักฐานที่ต้องเตรียม

สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัยและเจ้าของรถ

สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย

สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ

สำเนาหนังสือจดทะเบียนรถ

ตารางกรมธรรม์ประกันภัย

ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาล

กรณีอุบัติเหตุจากรถดังต่อไปนี้

ชนแล้วหนี

รถที่ไม่มีประกันภัย และเจ้าของรถไม่ยอมจ่าย

รถที่ถูกลักทรัพย์ ชิงทรัพย์

ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถและรถไม่มีประกันภัย

บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายหรือจ่ายไม่ครบจำนวน

กรณีดังกล่าวข้างต้น ผู้ประสบภัยขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น 30,000 บาท/คน ได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานพาณิชย์ทุกจังหวัด

เอาเป็นว่า พ.ร.บ. มีความสำคัญมากๆ สำหรับท่านไหนที่ใช้รถ ใช้ถนนถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ซึ่งไม่ควรจะปล่อยปะละเลยกันนะครับ เพราะว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุเเล้ว จะช่วยให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้

 

ขอบคุณที่มาจาก:http://www.khonkaenram.com/th/services/packages-and-programs/er2