รถยนต์จดประกอบ คืออะไร หลายคนคงเคยได้ยินกับมา ไม่มากก็น้อย เกี่ยวกับรถจดประกอบ เเต่ก็อาจจะเกิดความสงสัยว่า รถจดประกอบนั้น หมายความว่าอย่างไร มีการซื้อ-ขาย หรือ การโอนกันได้จริงรึเปล่า หรือ ถ้าซื้อไปแล้วจะผิดกฎหมายไหม เพราะฉะนั้นเราไปหาข้อมูลกันครับ
รถยนต์จดประกอบ คือ รถมือสอง ที่นำเข้ามาเป็นชิ้นส่วน หมายถึง แยกเอาโครงรถและอุปกรณ์ต่างๆจำพวก เครื่องยนต์ ล้อรถ ฯลฯ ออกจากกัน ส่วนจะแยกชิ้นส่วนออกมามากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ผู้ที่นำเข้ามา ว่าจะแยกมาในรูปแบบไหน
ซึ่งก่อนจะนำเข้ามานั้นจำเป็นต้องแสดงให้ ศุลกากรเห็นว่า รถยนต์ที่น้ำเข้ามานั้นมาแบบเป็นชิ้นส่วน ไม่ใช่มาแบบสำเร็จรูปทั้งคัน เพราะถ้านำเข้ามาทั้งคันจะถือว่าเป็น “รถนำเข้า” ซึ่งอัตราภาษีจะแตกต่างกันมาก และการนำเข้ามานั้นจะต้องนำ “โครง” ตัวรถมาทั้งคันโดย “ห้ามตัดครึ่ง” ให้นำเข้ามาแบบสมบูรณ์ทั้งโครง ซึ่งถ้านำเข้ามาแบบนี้จะสามารถนำโครงที่นำเข้ามานั้นจดเป็นรถจดประกอบได้ โดยจะเสียภาษีศุลกากรนำเข้าชิ้นส่วนตัวถัง 30% แต่ถ้าไม่ได้นำเข้ามาแบบโครงเต็มที่สมบูรณ์หมายถึงนำเข้ามาโดยการตัดครึ่งหรือตัดบางมาเพียงบางส่วนจะเสียภาษีเพียงแค่ 3% แต่จะไม่สามารถใช้โครงนั้นมาจดทะเบียนได้คือสามารถนำโครงนั้นมาใช้ได้เป็นเพียงแค่อะไหล่ไม่เหมือนกับพวกที่นำเข้ามาทั้งโครงแบบสมบูรณ์
และการนำเข้ามาขอจดทะเบียนในแต่ล่ะครั้งนั้นจะต้องมีเอกสารอินวอยซ์ (Invoice) เสียภาษีศุลกากร แสดงชื้นส่วนเครื่องยนต์และตัวถัง ถึงจะจดประกอบเป็นรถที่สมบูรณ์ได้ ทีนี้พอได้ใบอนุญาติมาแล้ว ต่อมาก็ต้องหาโรงงานประกอบรถยนต์ที่ได้รับอนุญาติจากกรมสรรพสามิต เพื่อที่จะประกอบรถให้เป็นคันสมบูรณ์ออกมาเป็นคัน
โดยการเสียภาษีนั้นทางกรมสรรพสามิตนั้นจะประเมินราคาว่ารถรุ่นไหน เครื่องยนต์ขนาดไหน ควรจะต้องเสียเท่าไหร่ โดยข้อมูลคร่าวๆ คือ รถเล็กที่เครื่องยนต์ไม่เกิน 2800 ซีซี เสียภาษี 30% จากราคาประเมิน รถที่มีเครื่องยนต์ใหญ่เกินกว่า 2800 ซีซี จะต้องเสียในจำนวน 50% ของราคาประเมิน
ก็ถือว่า รถยนต์จดประกอบ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวใดๆ แต่ว่าคุณต้องทำความเข้าใจกับมันให้ชัดเจน ในเรื่องของการชำระภาษีหรือ การนำเข้ารถยนต์ก็ตาม ถ้าเราทำตามกระบวนการที่ภาครัฐกำหนด เราก็จะสามารถครอบครองรถคันนั้นๆได้อย่างไรสบายใจ
ขอบคุณที่มาจาก:https://advicecenter.kkpfg.com/en/money-lifestyle/money/car-tips/assembling-cars