9 ปัญหาสุขภาพ ที่มีผลต่อการขับรถยนต์ และอาจจะส่งให้เกิดอุบัติเหตุได้

11 มีนาคม 2565

9 ปัญหาสุขภาพ ที่มีผลต่อการขับรถยนต์ และอาจจะส่งให้เกิดอุบัติเหตุได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสายตา หรือ อาการทางสมอง หรือ อาการป่วยต่างๆแล้วต้องกินยาบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วงซึม

9 ปัญหาสุขภาพ ที่มีผลต่อการขับรถยนต์ ถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับ เพราะว่า 9 อาการเหล่านี้ จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงต่อการขับขี่ และไม่ควรขับรถยนต์เป็นอันขาด เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุทั้งตัวคุณ และเพื่อนร่วมทางได้ในที่สุด จะมีอาการแบบไหนกันบ้าง เราไปชมกันเลย

9 ปัญหาสุขภาพ ที่มีผลต่อการขับรถยนต์ และอาจจะส่งให้เกิดอุบัติเหตุได้

1. อาการเกี่ยวกับสายตา ควรเลี่ยงการขับรถกลางคืน สำหรับผู้ที่จอประสาทตาเสื่อม จะมองเห็นเส้นทางเวลากลางคืนไม่ชัดเจน ผู้ที่เป็นต้อหิน ต้อกระจก จะมีมุมมองสายตาแคบ สายตาสั้นหรือ ยาว มองเห็นไฟจราจรพล่ามัว และที่จะเเนะนำเพิ่มเติมคือ ไม่ควรใช้ฟิลม์ที่มีสีเข้มจนเกินไป

2. อาการหลงลืม ส่งผลต่อการตัดสินใจ หรืออาการสมองเสื่อมที่มักพบในผู้สูงอายุ จดจำเส้นทางไม่ได้ อาจเกิดปัญหาขับรถหลงทางได้ 

3. อาการปวดบริเวณต่างๆ เช่น ปวดข้อเข่า เหยียบเบรก/คันเร่งได้ไม่เต็มที่ หรือกระดูกคอเสื่อม หันคอ หันหน้าดูการจราจรได้ลำบาก หลีกเลี่ยงการขับรถทางไกลเป็นเวลานาน เเละอาจจะผลต่อการตัดสินใจในการเบรคกระทันหันในที่สุด 

4. พาร์กินสัน การตัดสินใจช้าลง ผู้สูงอายุ และวัยทำงานสามารถเป็นได้ เกิดจากระบบประสาท มักจะสั่นขณะอยู่เฉยๆ เมื่อขยับตัวอาการสั่นก็ทุเลาลง หากมีอาการรุนแรงจะทำให้เกิดภาพหลอน ก่อให้เกิดอันตรายได้

 

5. เบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้) ความสามารถในการขับขี่ลดลง หากปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้หน้ามืด ตาพร่ามัว ใจสั่น หมดสติได้ สำหรับผู้ที่อาการไม่รุนแรงหากจำเป็นต้องขับรถควรเตรียม ลูกอม น้ำหวาน ทานระหว่างขับรถเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

9 ปัญหาสุขภาพ ที่มีผลต่อการขับรถยนต์ และอาจจะส่งให้เกิดอุบัติเหตุได้

6. ลมชัก เกิดจากความผิดปกติของการส่งสัญญาณไฟฟ้าในสมอง หากมีสิ่งกระตุ้น เช่น ความเครียด อาจชักเกร็งกระตุก เหม่อนิ่งไม่รู้สึกตัว สูญเสียความสามารถในการควบคุมตนเองไปชั่วขณะ ไม่ควรขับรถ ควรปรึกษาและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และอาจจะทำให้เกิดอุบัติได้ในที่สุด

9 ปัญหาสุขภาพ ที่มีผลต่อการขับรถยนต์ และอาจจะส่งให้เกิดอุบัติเหตุได้

 

7. อาการป่วย ซึ่งต้องกินยาบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วงซึมหรือง่วงนอน มึนงง สับสนได้เวลาขับรถ การตอบสนองในขับขี่ทำได้ไม่ดีเหมือนเดิม  ควรเลี่ยงการขับขี่ หากมีความจำเป็นต้องขับรถควรปรึกษาแพทย์

8. โรคหลอดเลือดในสมอง ความไวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ลดลง ไม่มีแรงในการบังคับพวงมาลัยหรือเปลี่ยนเกียร์ เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์และรักษาอาการของโรคให้หายเป็นปกติก่อนกลับมาขับรถ

9. โรคหัวใจ หากขับรถนานๆ เครียดกดดันจากรถติด หรือมีเหตุให้ตกใจกับสถานการณ์ตรงหน้า อาจทำให้แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หัวใจวายเฉียบพลันได้ นำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรง

ก็เอาเป็นว่า 9 อาการเหล่านี้ ล้วนส่งผลให้เกิดความอันตรายต่อสุขภาพ แถมยังส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นลองไปสังเกตอาการกันดูนะครับ ใครมีอาการที่ทางเราเหล่ามา ก็ควรไปปรึกษาเเพทย์ และถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ควรจะขับรถยนต์โดยเด็ดขาดครับ

 

ขอบคุณที่มาจาก:https://www.autospinn.com/2022/03/health-problems-affecting-driving-88828