ข่าวดี ราชกิจจาฯ ประกาศลดอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า 40% โดยมีผลบังคับใช้ทันที ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ซึ่ง ประจวบเหมาะกับราคาน้ำมันที่เเพงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เทรนด์ของรถยนต์ไฟฟ้านั้นเริ่มมีคนหันมาสนใจมากขึ้น ในส่วนของผู้ผลิตนั้น ก็ได้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาให้ยลโฉมกันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฝั่งเอเชียและฝั้งยุโรป ก็มีมาให้เลือกกันอย่างมากมาย หลังจากที่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรเพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้น ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศเรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่นำเข้ามาทั้งคัน ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้
หลังจากที่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรเพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้น ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศเรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่นำเข้ามาทั้งคัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
รถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้ได้รับการลดอัตราภาษีหรือยกเว้นภาษี ดังนี้
- ผู้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากร หรือ FTA แต่ยังมีอัตราภาษีที่ต้องชำระไม่เกิน 40% ให้ได้รับการยกเว้นภาษี
- ผู้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากร หรือ FTA ยังมีอัตราภาษีที่ต้องชำระเกิน 40% ให้ได้รับการลดอัตราภาษีลงอีก 40%
- ผู้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากร หรือ FTA ให้ได้รับการลดอัตราภาษีลงเหลือ 40%
รถยนต์ไฟฟ้าที่มีความจุแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป และมีราคาขายปลีกมากกว่า 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท ให้ได้รับการลดอัตราภาษีหรือยกเว้นภาษี ดังนี้
- ผู้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากร หรือ FTA แต่ยังมีอัตราภาษีที่ต้องชำระไม่เกิน 40% ให้ได้รับการยกเว้นภาษี
- ผู้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากร หรือ FTA แต่ยังมีอัตราภาษีที่ต้องชำระมากกว่า 40% ให้ได้รับการลดอัตราภาษีลงอีก 40%
- ผู้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากร หรือ FTA ให้ได้รับการปรับลดอัตราภาษีลงเหลือ 60%
สำหรับการยกเว้นภาษี หรือปรับลดภาษีอากรนั้นผู้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตกำหนด หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขกรมสรรพสามิตจะทำการแจ้งเพิกถอนหนังสือรับรองการได้รับสิทธิ และจะต้องดำเนินการเสียภาษีตามกฎหมายภายใน 30 วัน
ขอบคุณที่มาจาก: ratchakitcha.soc.go.th
ขอบคุณที่มาจาก:https://car.kapook.com/view255283.html