เกษตรยั่งยืนในวันนี้ ถ้าพูดถึงเรื่องข้าวโพด หากอาจจำแนกตามวัตถุประสงค์การปลูกข้าวโพด สามารถเเบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ 1.ข้าวโพดใช้เมล็ด (grain corn) ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดแก่ใช้เป็นอาหารสัตว์ และมนุษย์ หรือทำอุตสาหกรรมอย่างอื่น 2.ข้าวโพดหมัก (silage corn) ปลูกเพื่อตัดต้นสดมาหมักใช้เป็นอาหารสัตว์ 3.ข้าวโพดอาหารสัตว์ (fodder corn) ปลูกเพื่อตัดต้นสดไปใช้เลี้ยงสัตว์ เเละ 4.ข้าวโพดฝักอ่อน (baby corn) ในไทยนิยมปลูกเพื่อเก็บฝักอ่อนไปใช้ในการปรุงอาหาร
ซึ่งการปลูกข้าวโพดที่ใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ เพื่อเก็บเมล็ดใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือ ตัดต้นสดไปใช้เลี้ยงสัตว์ นั้น ทางศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ได้ยกตัวอย่างเเนะนำ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่สามารถให้ผลผลิตสูง ทนเเล้งได้ดี เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุยาวพันธุ์ดีเด่น NSX152067 ซึ่งเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยว เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ Nei 542012 เป็นพันธุ์แม่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ ตากฟ้า 5 เป็นพันธุ์พ่อ
การพัฒนาข้าวโพดสายพันธุ์แท้แม่และพ่อ ดำเนินการคัดเลือก ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ระหว่างปี 2543-2546 โดยสายพันธุ์แท้แม่ Nei 542012 ได้จากการผสมระหว่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ [(KS23(S)C2-190-1-2-1-BBBB x PIONEER 3006-4-1-3-1-BBB)-95-3 -BBBBB กับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ตากฟ้า 1 พัฒนาต่อให้เป็นข้าวโพดสายพันธุ์แท้แม่ โดยการคัดเลือกและผสมตัวเองจำนวน 7 ชั่ว ส่วนสายพันธุ์แท้พ่อ ตากฟ้า 5 ได้จากการผสมตัวเองจำนวน 3 ชั่ว ในประชากรข้าวโพด C-5124001F2 ในสภาพการปลูกเชื้อโรคราน้ำค้าง และประเมินสมรรถนะการผสมของสายพันธุ์ที่คัดเลือกกับตัวทดสอบ สายพันธุ์แท้นครสวรรค์ 1 และสายพันธุ์แท้นครสวรรค์ 2 คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีสมรรถนะการผสมดี มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง และทนแล้ง นำมาผสมตัวเองอีก 4 ชั่ว จนได้สายพันธุ์แท้ Nei 452009 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสายพันธุ์แท้ตากฟ้า 5
ปี 2558 ปลูกประเมินผลผลิต และศักยภาพในการทนแล้ง เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงและทนแล้ง เข้าสู่การประเมินผลผลิต และเปรียบเทียบพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ปี 2559 ประกอบด้วย การเปรียบเทียบเบื้องต้น การเปรียบเทียบมาตรฐาน การเปรียบเทียบในท้องถิ่น และการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร
ลักษณะเด่น
ผลผลิตสูง
ประเมินศักยภาพในการให้ผลผลิตตั้งแต่ปี 2558 – ปัจจุบัน (29 สภาพแวดล้อม) พบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่น NSX152067 ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 1,305 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 และนครสวรรค์ 4 ร้อยละ 4 และ 10 ตามลำดับ ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมการค้า CP888 New ที่ให้ผลผลิต 1,299 กิโลกรัมต่อไร่
ทนแล้ง
ศักยภาพในการทนแล้งในระยะออกดอก โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 725 กิโลกรัมต่อไร่ (12 สภาพแวดล้อม) ผลผลิตลดลงร้อยละ 47 เมื่อกระทบแล้งช่วงออกดอกนาน 1 เดือน ในขณะที่ พันธุ์นครสวรรค์ 3 นครสวรรค์ 4 และ CP888 New ผลผลิตลดลง ร้อยละ 62 65 และ 80 ตามลำดับ
ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่น NSX152067 สามารถเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 110-120 วัน มีลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญ มีอายุวันออกดอกตัวผู้ และออกไหม 54 วัน ความสูงต้น 225 เซนติเมตร ความสูงฝัก 122 เซนติเมตร เปอร์เซนต์กะเทาะ ร้อยละ 80 ความชื้นเมล็ดขณะเก็บเกี่ยว ร้อยละ 23 และเมล็ดเป็นชนิดกึ่งหัวแข็ง สีส้มเหลือง
ในที่นี้ทางทีมงานไทยนิวส์ของเรา ได้ขอเเนะนำวิธีการบำรุงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระยะทำรุ่นเพิ่มผลผลิต ช่วยให้เขียวนาน เมล็ดเต็มฝัก น้ำหนักดี ด้วยการใส่ปุ๋ยตรามงกุฎ เทอราโก สูตร 40-0-0+1MgO+3.5S
วิธีการใช้
บำรุงข้าวโพด ให้เขียวนาน เมล็ดเต็มฝัก น้ำหนักดี ด้วยปุ๋ยตรามงกุฎ สูตร 40-0-0+1MgO+3.5S
-บำรุงข้าวโพด ระยะทำรุ่น/ เพิ่มผลผลิต
-สูตร 40-0-0+1MgO+3.5S
-อัตราใส่ 25-50 กก./ไร่
หมายเหตุ : อัตราใส่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามค่าวิเคราะห์ดิน ความสมบูรณ์ของต้นข้าวโพด จำนวนต้นข้าวโพดต่อไร่ หรือความชื้นดิน
cr.
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์