เกษตรยั่งยืนในวันนี้ ทีมงานไทยนิวส์จะพาทุกท่านมาพูดถึงเรื่องการปลูกอ้อย โดยอ้อยเป็นไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร แตกกอแน่น ลำต้นสีม่วงแดงตั้งหรือมีโคนทอดเอน มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็น 2 แถว กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 0.5-1 เมตร ใบตั้งหรือทอดโค้ง ใบรูปใบหอกแกมรูปแถบขอบใบมีหนามเล็กๆหยาบ ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด ช่อแยกแขนง รูปปิรามิด เปราะ ช่อดอกย่อยรูปใบหอกถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน มีขนสีขาวปกคลุม ผลเป็นผลแบบผลธัญพืช แห้งและมีขนาดเล็ก
ทั้งนี้อ้อยมีหลายพันธุ์แตกต่างกันที่ความสูง ความยาวของข้อและสีของลำต้น อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก อ้อยที่นำมาคั้นน้ำสำหรับดื่ม เป็นอ้อยที่ปลูกบริเวณที่ราบลุ่ม พื้นที่ดินเหนียว ประชาชนเรียกว่า อ้อยเหลือง หรือ อ้อยสิงคโปร์ นิยมปลูกกันมากในบริเวณจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม เป็นต้น
นอกจากนี้อีกหนึ่งสารพันธุ์อ้อยที่น่าจับตามองคือ อ้อยโคลน NSUT10-266 ที่ได้จากการผสมของพันธุ์แม่ Q76 กับพันธุ์พ่อ CP63-588 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ในปี 2553 แล้วนำมาคัดเลือกครั้งที่ 1 และ 2 แบบ Individual selection ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ในปี 2554-2556นำเข้าประเมินผลผลิตตามขั้นตอนปรับปรุงพันธุ์ ในอ้อยปลูก ตอ 1 และตอ 2 ซึ่งดำเนินการในศูนย์วิจัย และแปลงเกษตรกร จำนวน 12 แปลงรวมทั้งศึกษาข้อมูลปฏิกิริยาต่อโรคเหี่ยวเน่าแดงและแส้ดำ ระหว่างปี 2556-2563
ลักษณะเด่น
อ้อยโคลน NSUT10-266 ให้ผลผลิตน้ำตาลสูง 2.64 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (2.27 ตันซีซีเอสต่อไร่) และขอนแก่น 3 (2.63ตันซีซีเอสต่อไร่) ร้อยละ 16 และ 1 ตามลำดับ และมีความหวาน 15.7 ซีซีเอส ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ LK92-11 ที่มีความหวานเท่ากับ 14.6 ซีซีเอส ร้อยละ 7 ให้ผลผลิตอ้อย 17.0 ตันต่อไร่ ไม่แตกต่างจากพันธุ์ LK92-11 (16.5 ตันต่อไร่) นอกจากนี้ยังต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง ทรงกอตั้งตรงทำให้มีการหักล้มน้อย กาบใบหลุดร่วงง่าย ประกอบกับไม่มีขนบนใบ จึงเหมาะกับการเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน และรถเก็บเกี่ยว
พื้นที่ที่เหมาะสม
อ้อยโคลน NSUT10-266 เหมาะสมกับพื้นที่ดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว เขตอาศัยน้ำฝน
โดยในวันนี้ทีมงานไทยนิวส์ จะมาเผยเคล็ดลับด้วยการลดต้นทุนในภาวะปุ๋ยแพงโดยเฉพาะยูเรีย เกษตรกรควรปรับเปลี่ยนวิธีการ แต่ไม่ควรลดจนกระทบการเจริญเติบโตพืชและผลผลิต ซึ่งแนะนำทางเลือก ปุ๋ยแทนยูเรียด้วยสูตร 30-0-0 ปุ๋ยทิพย์ ที่ราคาถูกกว่า มีปริมาณไนโตเจนใกล้เคียง แต่มีธาตุรอง S (ซัลเฟอร์)ที่ช่วยสร้างกรดอะมิโนและวิตามินบางชนิด ช่วยนำไนโตรเจนไปใช้ได้ดียิ่งขึ้นส่งผลให้พืชเขียวยาวนาน ไม่เป็นโรคง่าย เมื่อต้นทุนลด ผลผลิตดี ชีวิตก็ดีตาม
บำรุงอ้อย ให้เขียวนาน ลำใหญ่ น้ำหนักดี ด้วยปุ๋ยแทนยูเรียด้วยสูตร 30-0-0 ปุ๋ยทิพย์ ที่จะช่วยให้ผลผลิตอ้อยในไร่ของเกษตรกรงามดียิ่งขึ้น
วิธีการใช้
อ้อย ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 80-100 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟตและโพแทช ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของดิน ก่อนใส่ปุ๋ยเคมีทุกครั้ง ควรดายหญ้าออกให้หมดเสียก่อน การใส่ควรใส่ระหว่างแถวหรือรอบๆ โคนต้นพอควรและควรกลบดินเสียหลังจากใส่ปุ๋ยเคมี
หมายเหตุ : อัตราใส่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามค่าวิเคราะห์ดิน ความสมบูรณ์ของต้นอ้อย หรือความชื้นดิน
สำหรับ"ปุ๋ยทิพย์"ชนิดBulk Blending Fertilizer(ปุ๋ยผสม)สูตร 30-0-0
พืชที่แนะนำให้ใช้ ข้าว พืชผัก พืชไร่ พืชสวน ไม้ผล
ข้าว มักใช้ปุ๋ยครั้งที่สอง
ก. สำหรับข้าวนาดำ
สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 15-20 กก./ไร่ ใส่หลังจากการใส่ปุ๋ยเคมีครั้งแรก 30 วัน หรือ 25-30 วัน ก่อนข้าวออกดอก
สำหรับข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 5-10 กก./ไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยเคมีครั้งแรก 30 วัน หรือก่อนข้าวออกดอก 30 วัน
ข. สำหรับนาหว่านน้ำตม/นาหยอด
สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 15-20 กก./ไร่ ใส่หลังจากใส่ปุ๋ยเคมีครั้งแรก 30 วัน หรือ 25-30 วัน ก่อนข้าวออกดอก
สำหรับข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 5-10 กก./ไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยเคมีครั้งแรก 30 วัน หรือใส่ก่อนข้าวออกดอก 25-30 วัน
-พืชผัก เช่น คะน้า ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี หอม กระเทียม พริก มะเขือ ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 40-50 กก./ไร่ ทั้งนี้แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ควรแบ่งใส่สองครั้ง ครั้งแรกใส่รองพื้นจำนวนครึ่งหนึ่ง และครั้งที่สองใส่ห่างจากครั้งแรกประมาณ 25-30 วัน โดยใส่เป็นปุ๋ยเคมีแต่งหน้า
-พืชไร่ และพืชสวน ใช้กับพืชที่ต้นยังเล็กอยู่และต้องการเร่งให้โตเร็วหรือพืชที่ขาดธาตุนี้ เช่น ข้าวโพด อ้อย กาแฟ กล้วย สับปะรด ยางพารา
1.ข้าวโพด ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 60-70 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟตหรือโพแทช หรือใช้ใส่เดี่ยวเป็นปุ๋ยเคมีครั้งที่สอง
2.อ้อย ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 80-100 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟตและโพแทช ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของดิน ก่อนใส่ปุ๋ยเคมีทุกครั้ง ควรดายหญ้าออกให้หมดเสียก่อน การใส่ควรใส่ระหว่างแถวหรือรอบๆ โคนต้นพอควรและควรกลบดินเสียหลังจากใส่ปุ๋ยเคมี
ไม้ผล ใช้กับไม้ผลที่ต้นยังเล็ก และต้องการเร่งให้โตเร็วขึ้น หลังจากการตกแต่งกิ่ง หรือไม้ผลที่ขาดธาตุนี้ เช่น ส้ม เงาะ ทุเรียน มังคุด น้อยหน่า ขนุน องุ่น พุทรา ไม้ผลที่ยังไม่ให้ผล ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 500-1,000 กรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่สองครั้ง ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นเกณฑ์ หากเป็นไม้ผลที่ให้ผลแล้ว ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 1-2 กก./ต้น/ปี ใส่หลังจากเก็บผลผลิตแล้ว การใส่ควรใส่ใส่แนวรัศมีพุ่มใบ และอย่าให้กระทบกระเทือนราก
ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์