ท้าวเวสสุวรรณ หรือในภาษาพราหมณ์เรียกว่า ท้าวกุเวร ในศาสนาพุทธจะเรียกว่า ท้าวไพสพ เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือเรียกอีกอย่างว่า เป็นเจ้าแห่งภูตผีปีศาจ ทั้งหลายนั่นเองค่ะ
และวันนี้ Thainews Online จะพาทุกท่านมารู้จัก ตำนาน ท้าวเวสสุวรรณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดจุฬามณี อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กันค่ะ
ท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี
ท้าวเวสสุวรรณที่อยู่ภายในวัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม แห่งนี้ เป็นสถานที่ที่ผู้คนมักนิยมเดินทางไปมากที่สุด ประชาชนชาวไทยที่มีศรัทธาใน องค์ท้าวเวสสุวรรณ ก็จะเดินทางมาขอพรท้าวเวสสุวรรณ บ้างก็มาบนบานศาลกล่าว และที่สำคัญสถานที่วัดแห่งนี้ ได้มีคำล่ำรือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่านท้าวเวสสุวรรณ ใครได้มาขอพรเป็นอันสำเร็จ สมหวัง ทุกคน
ประวัติ วัดจุฬามณี
วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เดิมทีแต่ก่อนเรียกว่า วัดแม่เจ้าทิพย์ เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และในตาม ประวัตินั้นสันนิฐานว่า ท่านท้าวแก้วผลึก (น้อย) ธิดาคนหนึ่งของท่านพลาย ต้นวงศ์ราชนิกูล บางช้าง เป็นผู้สร้างขึ้น
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2495 วัดแห่งนี้ได้อยู่ในสภาพเกือบเป็นวัดร้าง มีพระจำพรรษาอยู่เพียงไม่กี่รูป ก่อนที่กำนันตำบลปากง่าม (ในสมัยนั้น) ในปัจจุบันคือตำบล บางช้าง ได้ขออาราธนาพระอาจารย์แช่ม โสฬส ศิษย์หลวงปู่คง จากวัดบางกระพ้อม มาปกครองที่วัดจุฬามณี
หลังจากที่ หลวงพ่อแช่ม ได้ปฏิบัติภารกิจต่างๆ จนวัดจุฬามณีกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2489 หลวงพ่อแช่มได้มรณภาพลง ทางการคณะสงฆ์จึงแต่งตั้ง พระเนี่อง โกวิโท ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป ซึ่งต่อมาก็คือ พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง โกวิโก) หรือ หลวงพ่อเนื่อง เป็นพระเกจิดัง อีกรูปหนึ่งแห่งลุ่มน้ำแม่กลองและเป็นศิษย์ของหลวงปู่คงและหลวงพ่อแช่มนั่นเองค่ะ
หลวงพ่อเนื่อง ท่านได้ดูแลบูรณะปฏิสังขรณ์วัดจุฬามณี จนเป็นศาสนสถานที่ร่มรื่น และได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นเป็นทรงจตุรมุขที่สวยงาม แต่ก็ยังไม่ทันเสร็จดี หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท ก็ได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ต่อจากนั้น พระอาจารย์อิฏฐ์ ภทฺทจาโร ศิษย์เอกของหลวงพ่อเนื่อง ได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดจุฬามณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ และยังได้สร้างอุโบสถหลังใหม่จนแล้วเสร็จ
1. จุดสำคัญ วัดจุฬามณี
เมื่อมาถึงวัดจุฬามณี มีจุดแรกที่ควรไปก็คือที่ อุโบสถจตุรมุข เป็นอุโบสถหลังใหม่ที่หลวงพ่อเนื่องและพระอาจารย์อิฏฐ์ได้สร้างขึ้นจนแล้วเสร็จนั่นเอง โดยเป็นอุโบสถหินอ่อน จตุรมุข 3 ชั้น ชั้นฐานกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร สูง 10 เมตร ภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ผนังทุกด้านมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวของพุทธประวัติและนิทานชาดกอันสวยงาม และที่เป็นไฮไลต์ภายในอุโบสถนี้ก็คือพื้นหินอ่อนหยกนำเข้าจากประเทศปากีสถาน ที่ปูอยู่ที่พื้นทั้งหลัง ซึ่งจะช่วยให้ความรู้สึกเย็นสบายและมีความสวยงามเป็นอย่างมาก ซึ่งหากใครมาที่วัดจุฬามณีในขณะนี้จะได้ปิดทองฝังลูกนิมิตร 9 ลูกด้วย ซึ่งทางวัดได้จัดบริเวณนำออกมาให้สาธุชนได้ปิดทองกันในรอบ 53 ปีเลยทีเดียว
2. จุดสำคัญ วัดจุฬามณี
เมื่อกราบไหว้พระประธานในอุโบสถจตุรมุขแล้ว จุดถัดไปที่จะพาไปก็คือที่ “กุฏิหลวงพ่อเนื่อง” สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ภายในมี “สรีระสังขารของหลวงพ่อเนื่อง” ที่มรณภาพไปแล้วแต่สังขารของท่านกลับไม่เน่าเปื่อย ประดิษฐานอยู่ในโลงแก้วตั้งไว้บนมณฑปให้ผู้ศรัทธาได้กราบไหว้
3. จุดสำคัญ วัดจุฬามณี
และจุดสุดท้ายที่ถือเป็นอีกหนึ่งความเลื่องชื่อของวัดนี้ก็คือ ความศักดิ์สิทธิ์ของ “องค์ท้าวเวสสุวรรณ” ที่ดลบันดาลให้ลูกศิษย์ลูกหาและผู้ที่มีความศรัทธาได้ดังใจหวังกันมาแล้วมากมาย โดยท้าวเวสสุวรรณ (หรือท้าวกุเวร) เป็น 1 ใน 4 ของ ท้าวจตุโลกบาล ที่ทำหน้าที่รักษาทิศทั้ง 4 ในสวรรค์ชั้นแรก โดยท่านเป็นเทพประจำทิศเหนือ คอยผู้ปกปักรักษาดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
ซึ่งท้าวเวสสุวรรณของที่วัดจุฬามณีนั้นจะแตกต่างออกไปจากวัดอื่น เพราะจะมีอยู่ด้วยกันถึง 4 ปางด้วยกันค่ะ เริ่มที่องค์เก่าแก่ที่เป็น
และยังมี ท้าวเวสสุวรรณปางยักษ์ องค์ยืนสูงใหญ่ที่สุดในวัดและปางต่างๆ ให้ได้สักการะบูชากันอีกจุดหนึ่งด้วย โดยจะยืนเด่นเป็นสง่าอยู่ที่บริเวณหลังอุโบสถจตุรมุข ส่วนด้านข้างขององค์ท่านยังมี “พญาปุริสาท” มหาอำมาตย์คู่บารมีขององค์ท้าวเวสสุวรรณ ที่ประทานพรในเรื่องป้องกันคุณไสย์มนต์ดำ ช่วยบันดาลให้อยู่เย็นเป็นสุข มั่งมีทรัพย์สินเงินทอง
ตำนาน ท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี
ซึ่งตำนานในการสร้าง ปางพรหมาสูติเทพ นี้ขึ้นมานั้นไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ตามคำบอกเล่าต่อกันมาว่า พระอาจารย์อิฏฐ์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัด ได้นิมิตเห็น “ท้าวเวสสุวรรณ” ซึ่งท่านได้พาพระอาจารย์อิฏฐ์ไปเที่ยวชมยมโลก พระอาจารย์อิฏฐ์จึงตั้งอธิษฐานและกล่าวไว้ว่า ถ้ากลับไปในโลกมนุษย์ครั้งนี้จะทำการตั้งรูปปั้นองค์ท่านไว้กลางวัด และท้าวเวสสุวรรณท่านจึงบอกกลับมาว่า หากจะปั้นฉันจะต้องไปตามช่างปั้นท่านหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดเพชรบุรี ต้องให้ช่างผู้นี้เป็นผู้ปั้นเท่านั้น ซึ่งช่างปั้นผู้นั้นก็คือ “อาจารย์ทองร่วง เอมโอช” นั่นเองค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : วัดจุฬามณี
ขอบคุณภาพจาก : วัดจุฬามณี