องค์พญายม ท่านยม หรือ พญายมราช คือใคร พญายมราช มีหน้าที่คุมนรกและตัดสินบาปของมนุษย์ ทำให้ภูมิผีปีศาลต่างเกรงกลัว แต่ใครรู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้ว พญามัจจุราช นั้นเป็นผู้ที่มีจิตใจดี คอยเตือนจิตเตือนใจของเราให้นึกถึงคุณธรรมความดีบุญกุศลที่ตัวเองเคยทำไว้ ช่วยชี้ทางบุญกุศล เพื่อที่จะให้ดวงวิญญาณไปสู่สุคติภพภูมิที่ดี
ตำนานพญายมราช
พญายมราช หรือ ท่านพญายม ในจินตนาการของคนส่วนมากมักมองกันว่าท่านดุร้ายและน่ากลัว ทั้งนี้เกิดจากภาพยนตร์ทั้งสิ้น ซึ่งจะเห็นว่าพญายมนั้นคอยลงโทษดวงวิญญาณที่อยู่ในขุมนรก แต่แท้จริงแล้วในพระสูตรที่มีชื่อว่า เทวทูตสูตร กล่าวว่าพญายมราชเป็นเทวดาผู้ทรงธรรม และพยายามช่วยให้วิญญาณเข้าใจในสัจจธรรมชีวิต ไม่ได้เป็นจอมมารโหดร้ายอย่างที่ใคร ๆ คิด
ประวัติพญายมราช
พญายมราช คือ เทพเจ้าแห่งนรกและความตาย ที่ปรากฏในหลักความเชื่อของหลายวัฒนธรรม โดยตำนานตามศาสนาของอินเดียมีอยู่ว่า “ยมราช” เป็นบุตรของพระอาทิตย์กับพระนางศรัณยา มีชื่อเดิมว่า ยม เป็นเทพแห่งความตาย ปกครองยมโลกและนรก ทำหน้าที่พิพากษาอย่างเป็นธรรมและมอบผลกรรมแก่วิญญาณของสัตว์และมนุษย์ คำตัดสินของพญายมเป็นการชี้ขาดโทษหนัก โทษเบา จะต้องชดใช้กรรมในนรกหรือได้ขึ้นสวรรค์ พระยมมีอาวุธวิเศษคือบ่วงยมบาศ และกระบองยมทัณฑ์ ที่สามารถมอบความตายให้แก่ทุกสรรพชีวิต
และบางตำนานเล่าว่า พระยมเป็นมนุษย์คนแรกบนโลกที่ตายไปจากโลก ได้รับรู้เรื่องราวหลังความตาย จึงได้ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมวิญญาณทั้งหลาย และถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ฤๅษีนจิเกตัส
อีกตำนานก็กล่าวว่า พระยมเคยเกิดเป็นกษัตริย์กรุงโกศัมพี แคว้นไวศาลี ทรงฝักใฝ่ในการทำสงคราม ก่อนตายทรงอธิษฐานให้ได้เกิดเป็นเจ้านรก เมื่อตายแล้วจึงได้มาเกิดเป็นพระยม แต่ยังต้องรับกรรมโดยการดื่มน้ำทองแดงวันละ 3 เวลา เมื่อสิ้นกรรมแล้วจะได้เกิดใหม่เป็นท้าวสมันตราช พระยมเป็นสาวกเอกของทั้งพระศิวะและพระวิษณุ ทั้งยังมีอีกหลายพระนาม เช่น ธรรมราช พระกาล พระมัจจุราช พระมฤตยูราช พระภัยโลจนะ
ลักษณะของพญายมราช
พระยม เป็นเทพบุรุษมีกายสีแดงดั่งแสงแรกแห่งดวงอาทิตย์ มือหนึ่งทรงบ่วงบาศ อีกมือหนึ่งถือกระบองยมทัณฑ์ สวมอาภรณ์สีแดงและสีดำ ทรงเครื่องประดับทองคำและทองแดง ประทับนั่งบนดอกบัว ทรงกระบือเป็นพาหนะ บ้างก็ว่าท่านมีรูปร่างใหญ่โต นัยน์ตาสีแดง หากจ้องมองสิ่งใดด้วยความโกรธ สิ่งนั้นจะวินาศ
พญายมราช มีบริวารที่คนไทยรู้จักดี ได้แก่ พระกาฬไชยศรี เทพผู้ส่งสารแห่งความตาย ซึ่งมีรูปปั้นอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เก็บดวงวิญญาณต่าง ๆ บ้านไหนที่จะมีคนตาย พระองค์จะทรงใช้นกแสกบ้าง นกเค้าแมวบ้าง ไปเกาะหลังคา ร้องเตือนให้ทราบล่วงหน้า หรือบันดาลนิมิตดีร้าย หากผู้นั้นมีปัญญาจะได้รีบขวนขวายทำบุญ ก่อนจะหมดโอกาสในโลก ส่วนในขณะทรงทำหน้าที่พิพากษา ท่านจะมีผู้ช่วยบันทึกกรรมของแต่ละดวงวิญญาณ ได้แก่ สุวัณ ผู้จดการกระทำความดีใส่สมุดทองคำ และ สุวาณ ผู้จดการกระทำชั่วใส่สมุดหนังหมา
นอกจากนี้พระองค์ยังมีบริวารเรียกว่าเหล่า ยมทูต ยมบาล ซึ่งทำหน้าที่พาดวงวิญญาณคนตายมาให้พระองค์ที่ยมโลกและลงโทษทรมานสัตว์นรกตามคำสั่งของพระยมอีกทีหนึ่งด้วย
พญายมราชกับท้าวเวสสุวรรณ เป็นองค์เดียวกันหรือไม่
เมื่อพูดถึงเทพเจ้าผู้ดูแลชีวิตหลังความตาย หลายคนอาจสับสนระหว่าง พญายมราช กับ ท้าวเวสสุวรรณ ว่าเป็นองค์เดียวกันหรือไม่ ขออธิบายง่าย ๆ ว่า พญายมราช คือผู้เป็นใหญ่ในยมโลก อยู่เหนือยมบาลทั้งหลาย ในขณะที่ท้าวเวสสุวรรณเป็นราชาแห่งยักษ์ มีอสูรและภูติผีเป็นบริวาร แต่ทั้งสองพระองค์ล้วนเป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลประจำทิศทั้งสี่ โดยพระยมประจำอยู่ทิศใต้ ส่วนท้าวเวสสุวรรณประจำอยู่ทิศเหนือนั่นเอง
บูชาองค์พญายม
การเคารพบูชาพญายมราช มีไว้เพื่อให้พิจารณาการกระทำของตัวเราเอง ว่าเป็นทางบุญหรือบาปในระหว่างช่วงชีวิตที่ยังมีอยู่ นอกจากนี้การสวดคาถาพญายมยังเป็นสิริมงคลในด้านการต่ออายุให้ยาวนาน ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ภูติผีปีศาจไม่กล้าระราน หากรับราชการหรือทำมาค้าขายด้วยความซื่อตรงก็จะบังเกิดความเจริญมีความสุขในชีวิตยิ่ง ๆ ขึ้นไป
การบูชาและการสวดคาถาพญายมให้จัดหารูปภาพของพญายมมาตั้งไว้ บูชาในตอนเช้าโดย
คาถาบูชาพญายมราช ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดว่า
ปะโตเมตัง ปะระชีวินัง สุขะโตจุตติ จิตตะเมตะ นิพพานัง สุขะโตจุติ
สามารถสวดภาวนาบูชาบทนี้โดยไม่ต้องใช้ธูปได้ เเต่ถ้าต้องการไหว้บูชาแบบใช้ธูป หรือเพื่อถวายของไหว้ ให้จุดธูปดำ 2 ดอก
คาถาขอพรพญายมราช แบบที่ 1
ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภธานัง อัตถิกาเยกา ยายะ เทวานัง สัตถังสุตตะวา
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะ ราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุขะโต นะโมพุทธายะ
คาถาขอพรพญายมราช แบบที่ 2
โอม พะยามะราชะ อุปาทะวะตายะ มะหิสสะ พาหะนายะ ทักขิณะทิสะ
ฐิตายะ อาคัจฉัญภุญชะตุ ขิปปะยะตุ วิปปะยะตุ สะวาหะ สะวาหายะ
สัพพะ อุปาทะวะ วินาสายะ สัพพะ อันตะรายะ วินาสายะ สุขะวัฑฒะโก โหตุ
อายุ วรรณะ สุขะ พะลัง อัมหากัง รักขันตุ สะวาหะ สะวาหายะ
ไหว้พญายมราช ที่ไหน
เป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย , TNEWS , พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
ภาพจาก : วิกิพีเดีย