กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่ได้รับความนิยมในการบริโภค โดยเฉพาะกล้วยไข่ที่สุกแล้วนั้น จะมีรสชาติอร่อย หอมหวาน กล้วยไข่ เป็นชื่อผลไม้ชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลกล้วย (Musaceae) โดยชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า lady finger banana กล้วยชนิดนี้ สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
กล้วยไข่ ถือเป็น พืชเศรษฐกิจ สำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศ และยังเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวอย่าง ประเทศจีน และ ฮ่องกง อีกทั้งยังมีการส่งออกไปสู่ประเทศญี่ปุ่น และสิงค์โปร อีกด้วย
ขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษากล้วยไข่
กล้วยไข่ เป็นพืชที่ปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการ การผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ ตลาดต้องการ ดังนั้นกระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม
วิธีการปลูก
การปฏิบัติดูแลรักษา
การพรวนดิน ภายหลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1 เดือน ควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด และเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก และตัดหน่อกล้วยที่งอกขึ้นมาใหม่ไม่ให้แย่งอาหารจากต้นแม่
การเก็บเกี่ยว
หลังจากวันตัดปลี ห่อผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว นับอีก 30 วัน จะได้ กล้วยไข่ที่มีคุณภาพเกรด A ควรเก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง ใช้มีดสะอาดและคมตัดเครือกล้วยไม่ให้เครือกล้วยสัมผัสพื้นดิน ขนย้ายด้วยพาหนะที่สะอาดและมีวัสดุหนานิ่มไม่ให้กลัวยช้ำ เพื่อคุณภาพที่ดีก่อนถึงมือผู้บริโภค
เทคนิคการทำกล้วยต้นทุนต่ำ
การพูนโคน
โดยการโกยดินเข้าสุมโคนกล้วย ช่วยลดปัญหาการโค่นล้มของต้นกล้วยเมื่อมีลมแรง โดยเฉพาะต้นตอที่เกิดขึ้นระยะหลังโคนจะลอยขึ้นทำให้กล้วยโค่นล้มลงได้ง่าย
การแต่งหน่อ (ใช้หน่อที่ 2)
หลังจากตัดหน่อที่ 1 ซึ่งจำหน่ายเครือแล้ว ให้ฟันต้นตอแม่จากดินประมาณ 70 เซนติเมตร เจาะลำต้นบริเวณกลางลำต้นให้เป็นหลุม แบบหลุมขนมครก เพื่อใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เพื่อบำรุงต้นที่ 2 (หน่อลูก) ประมาณ 1 ช้อนแกง (ประมาณ 1 ขีด) ต่อต้นต่อส่วนโคนต้นใส่ขี้นกกระทาประมาณ 3 ขีด (300 กรัม) ช่วงนี้เร่งใส่ปุ๋ยสูตร 15-5-25 (ขยายลูก-สร้างปลีดอก-เนื้อแน่น) ประมาณ 200 กรัม/ต้น จนกล้วยออกปลีใช้เวลาประมาณ 15 วัน จนปลีกล้วยคลี่หมด เลือกหวีที่สมบูรณ์เอาไว้ ตัดลูกเล็ก (หวีเต่า) ออก เหลือหวีกล้วยที่มีคุณภาพประมาณ 5 หวี (เกรด A ใช้ถุงฟรอยด์ห่อกล้วย มัดให้แน่นพอสมควร ให้น้ำตามปกติ (โคนต้น)