สละ (Salacca) สามารถปลูกได้ดีเกือบทุกสภาพพื้นที่ปลูก ทั้งที่ลุ่ม ที่ดอน และบนภูเขา เป็นพืชที่ นิยมปลูกเป็นพืชแซมในสวนไม้ผล หรือปลูกเป็นแปลงเดี่ยว ๆ อีกทั้งสละยังเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี การจัดการไม่ยุ่งยาก จึงสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก แต่การที่จะให้ผลผลิตนั้นมีคุณภาพป็นที่ต้องการของตลาด จะต้องทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติ ตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษาไปจนถึงขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการเพิ่ม ศักยภาพในการผลิตสละต่อไป
การปลูก
การเตรียมแปลงเริ่มด้วยการปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ ทำการไถพรวนดิน และ ตากดินนาน 7-14 วัน กำจัดวัชพืช หลังจากนั้น หว่านปุ๋ยคอก อัตรา 3-5 ตัน/ไร่ พร้อมไถพรวนดินให้ร่วนซุยอีกครั้ง แปลงปลูกสละไม่ควรมีน้ำท่วมขัง ถ้าเป็นพื้นที่ ที่มีปัญหา เช่น ดินทรายจัด ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณที่สูง และใช้วัสดุคลุมดิน วางระยะปลูกตามที่ต้องการ ขุดหลุมลึกด้านละประมาณ 30-50 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดิน ขนาดของต้นกล้า ควรเพิ่มกระดูกปนหรือหินฟอสเฟต 1 กิโลกรัมต่อหลุม นำต้นกล้าลงปลูก กดดินให้แน่นยึดต้นกล้ำกับหลักไม้กันลมโยก พรางแสง รดน้ำดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ ต้องคอยเติมดินให้เต็มหลังปลูกเสมอเพื่อป้องกันน้ำขัง
การเลือกต้นพันธุ์
ควรเลือกซื้อต้นพันธุ์จากสวนหรือเรือนเพาะชำที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องหรือสวนที่ไว้ใจเชื่อถือได้เท่านั้น ต้นกล้าควรแข็งแรงเจริญเติบโตดี มีความสูง 50-70 เซนติเมตร มีใบจริง 4-5 ใบ ปราศจากการเข้าทำลายโดยโรคและแมลง
วิธีการขยายพันธุ์
ㆍ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด นำเมล็ดสละมาเพาะในวัสดุเพาะเมล็ด เมื่อเมล็ดงอกและเจริญเติบโตเป็นต้น แล้วจึงย้ายลงปลูกในแปลง
ㆍ แยกหน่อจากต้นเดิมที่ปลูกประมาณปีเศษ โดยตัดยอดของหน่อข้างออกให้เหลือ เฉพาะตอ เพื่อกระตุ้นให้มีการแตกข้างจากตอเดิม และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของราก จากนั้นเลี้ยงต้นที่เจริญจากตาข้างเพียงต้นเดียว ตัดแยกหน่อข้างพร้อมต้นที่เลี้ยงไว้จากตาข้าง
ออกจากต้นแม่ นำมาใส่ในถุงเพาะ วัสดุเพาะชำประกอบด้วย ขุยมะพร้าว ทราย แกลบดิบ และถ่านแกลบ ในอัตราส่วน 60:20:15:5 โดยปริมาตร ไว้โรงเรือนที่มีการพรางแสงได้ 50% รดน้ำให้ชื้นโดยสม่ำเสมอ รอจนต้นกล้าเจริญเติบโตมีใบจริง 4-5 ใบ แข็งแรง
สมบูรณ์ ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จึงสามารถนำ ไปปลูกลงแปลงได้ การแยกต้นอ่อนด้วยสารเร่งราก ตัดแยกต้นอ่อนที่มีอายุ 1-2 ปีครึ่ง ความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แช่ในสารละลาย NAA 1-2 ppm. ร่วมกับ IBA 1-2 ppm. ภายในกระโจมเป็นเวลาประมาณ 50-60 วัน จะเห็นร่ากงอกยาว 6-7 เซนติเมตร แล้วย้ายลง ถุงพลาสติกขนาด 14 นิ้ว นำมาเลี้ยงในกระโจมจนเกิดยอดใหม่ เป็นเวลา 3 เดือน จึงสามารถนำลงแปลงปลูกได้
การดูแลรักษา
ให้น้ำหลังจากที่ปลูกสละอย่างสม่ำเสมอ ดินควรมีความชื้นตลอดเวลา แต่น้ำต้องไม่แช่ขัง
ใส่ปุ๋ยหลังปลูกให้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ครั้งละ 100 กรัมต่อต้น ปีละ 4-6 ครั้ง คอยสังเกตสีของใบสละ ถ้าเหลื้องซีด ควรเพิ่มปัยที่ให้ราตุแมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี และเพิ่มปริมาณปัยเมื่ออายุมากขึ้นอาจเป็น 200 กรัมต่อครั้ง ในปีที่ 2 แล่ะ 3 ร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอกจำพวกมูลสุกร โค กระบือ และไก่ หรือมูลค้างคาว
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ตัดทางใบออก สางกอและห้รีบใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ อัตรา 1-2 กิโลกรัม/กอ ทันที
ในช่วงพัฒนาการของผล ใส่ปัยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 หรือ 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/กอ
อัตราใส่ขึ้นอยู่กับอายุของสละ สามารถแบ่งใส่ได้ 0.5 กิโลกรัมต่อครั้งต่อต้น ปีละ 6-8 ครั้ง
ㆍการควบคุมทรงต้น
สละมีการแตกหน่อข้างเสมอ และจะเจริญเติบโตแย่งอาหาร ต้นแม่เดิม หากปล่อยทิ้งไว้นาน กอจะมีขนาดใหญ่ การออกดอกจะน้อย ผลผลิตต่ำ การควบคุมทรงต้นจะส่งผลให้ได้ผลผลิตสูง
ㆍ การจัดการเพื่อเพิ่มการติดผล
โดยการผสมเกสร คือ การนำกระปุกดอกตัวผู้ของสละ ระกำ หรือสะกำที่บาน มาเคาะโดยตรงบนดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกกระเทยบนต้นตัวเมีย หรือเสียบติดกับกระปุกดอกตัวเมีย
การตัดแต่งกระปุกดอก
การพิจารณาตัดแต่งกระปุกดอก เพื่อให้กะปุก ที่เหลือมีความสมบูรณ์ทั้งรูปร่างและขนาดผ่องผล กระปุกดอกที่อยู่ส่วนปลายของทะลายควรตัดออกให้เหลือประมาณ 6-8 กระปุก/ทะลาย และทะลายที่ออกชุดหลังฤดูกาลนั้นควรตัดออกให้เหลือ 8-10 ทะลาย/ปี
การตัดแต่งผลและจัดวางทะลายผล เพื่อให้ได้กระปุกสวยผลมีขนาดใหญ่ กระปุกใดมีจำนวนผลมากเกินไปควรปลิดออกจะทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ผลไม่เบียดกันแน่น ลดจำนวนผลเน่าและการระบาดของโรคได้ และควรจัดวางทะลายให้อยู่ในตำแหน่งดูแลรักษาได้ง่าย เช่น มีการโยงทะลายผลด้วยเชือกเข้ากับทางใบของสละเอง ถ้าปล่อยกระปุกผลวางที่พื้นดินเป็นการเปิดโอกาสให้โรคและแมลงเข้าทำลายได้มากขึ้น
ข้อมูลจาก : เทคโนโลยีการผลิตพืช