แนะเคล็ดลับ ปลูก”อะโวคาโด” ให้ได้ผลดก ไม่ต้องปลูกบนดอยสูง

30 มิถุนายน 2565

วันนี้เราจึงจะมาแนะเคล็ดลับ ปลูก”อะโวคาโด” ให้ได้ผลดก โดยไม่ต้องปลูกบนดอยสูง และสามารถให้ผลผลิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

อะโวคาโด้ เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ขนาด กลางถึงใหญ่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจของไทยอีกชนิดหนึ่ง ที่หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า ผลไม้ชนิดนี้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเคล็ดล็บที่จะปลูกอะโวคาโด้ให้ได้ผลนั้นเราต้องเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับพืนที่

แนะเคล็ดลับ ปลูก”อะโวคาโด” ให้ได้ผลดก ไม่ต้องปลูกบนดอยสูง

สายพันธุ์อะโวคาโด ที่นิยมปลูกในประเทศไทย

ㆍพันธุ์แฮสส์ (Hass) เป็นพันธุ์การค้าอันดับ 1 ของโลก(อร่อยสุด ผลแพงสุด) เป็นพันธุ์เผ่ากัวเตมาลัน ลักษณะผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระมาก ผิวสีเขียว เมื่อสุกอาจเป็นสีเขียวเข้มหรือม่วงเข้ม ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนัก 200-300 กรัม เนื้อผลสีเหลือง มีไขมันประมาณ20 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนพฤศจิกายนแต่พันธุ์แฮสส์ มีปัญหาหากความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตไม่ค่อยดี

พันธุ์บูธ 7 (Booth-7) เป็นลูกผสมระหว่างเผ่ากัวเตมาลัน และเวสต์อินเดียนผลลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดกลาง น้ำหนัก 300-500 กรัม ผิวผลขรุขระเล็กน้อยสีเขียว เปลือกหนา เนื้อสีเหลืองอ่อน รสดี เมล็ดขนาดกลาง มีไขมัน 7-14เปอร์เซ็นต์ ช่วงเก็บเกี่ยวผลประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม

พันธุ์บูธ 8 (Booth-8) ลักษณะผลรูปไข่ ขนาดเล็กถึงกลาง น้ำหนักประมาณ 270-400 กรัม ผิวผลขรุขระเล็กน้อย สีเขียว เปลือกหนา เนื้อสีครีมอ่อนรสชาติพอใช้ มีไขมัน 6-12 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีขนาดกลางถึงใหญ่อยู่ในช่องเมล็ดแน่น ฤดูเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม

พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson) ลักษณะผลค่อนข้างกลม มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง น้ำหนัก 200-300 กรัม เนื้อผลสีเหลืองอมเขียว รสดีเมล็ดใหญ่อยู่ในช่องเมล็ดแน่น เป็นพันธุ์เบา เก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม พันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่นิยมที่สุดและมีคุณสมบัติที่ดี

การปลูกอะโวคาโด้

อะโวคาโด้  เป็นพืชชอบดินระบายน้ำดี ไม่ทนน้ำท่วมขัง ควรปลูกในที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง  หรือควรยกร่องปลูก  ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน  แต่สามารถปลูกได้ทั้งปี ถ้ามีระบบชลประทาน   ระยะปลูก  8×6 เมตร ถึง 8×8 เมตร

 

การปลูก ก่อนปลูกให้นำต้นพันธุ์ ออกไว้กลางแจ้ง เพื่อปรับสภาพสัก 2-3 วัน ขุดหลุมขนาดกว้างกว่าดินที่มากับต้นพันธุ์ เล็กน้อย  นำต้นลงปลูกโดยให้โคนต้นสูงเท่ากับหรือสูงกว่าระดับผิวดินเล็กน้อย  เพื่อป้องกันปัญหาโคนเน่า กลบดิน แล้วใส่ ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยโวก้าอินทรีย์ 1 กำมือ  โรยบนดิน  ค้ำต้นด้วยไม้ไผ่   ใช้ฟาง  แกลบ หรือเศษไม้  คลุมรอบโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น   ให้น้ำทุกวันวันละ 15 ลิตร หรือวันเว้นวัน วันละ 30 ลิตร จนถึงอายุประมาณ 1 ปี  จึงลดการให้น้ำเหลือ สัปดาห์ละครั้ง  สำหรับต้นใหญ่ให้น้ำทุก 15 วัน  การป้องกันโคนต้นเน่า

 

สำหรับอะโวคาโด้ที่เสียบยอดนั้น   ถ้าดูแลดีจะให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 3 ส่วนอะโวคาโด้เพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 8   หากต้นยังไม่โตพอ ในช่วงปีแรก ๆ ควรปลิดผลทิ้งเพื่อเร่งการเจริญเติบโตทางต้นให้เต็มที่เสียก่อน

 

การตัดแต่งกิ่ง  เมื่ออะโวคาโด้มีความสูงเลยเข่าขึ้นมาให้ตัดยอดทิ้งให้เหลือแต่ตอ  จะทำให้อะโวคาโด้แตกยอดขึ้นมาใหม่ 3-4 ยอด  ในช่วงการเจริญเติบโต ให้ตัดกิ่งแห้ง เป็นโรค กิ่งทับซ้อนกัน กิ่งบังแสง กิ่งกระโดง ออก  โดยเน้นให้แผ่ไปด้านข้าง และตัดให้ทรงต่ำเพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว  การตัดแต่งกิ่งจะทำอีกครั้ง หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งแห้ง เป็นโรค และช่อของกิ่งผล (ควั่น) ที่ติดอยู่บนต้น  หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วก็ให้ปุ๋ยโวก้าอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย เพื่อบำรุงต้น

แนะเคล็ดลับ ปลูก”อะโวคาโด” ให้ได้ผลดก ไม่ต้องปลูกบนดอยสูง

โรคที่สำคัญในอะโวคาโด

คือโรครากเน่า  เมื่อเกิดแล้วบริเวณปลายกิ่งจะเหี่ยวจนถึงโคนต้น ป้องกันโดยการระบายน้ำให้ดี และใช้ต้นตอทนโรค คือพันธุ์ Duke-7   สำหรับกิ่งพันธุ์ในโรงเรือน ผสม เด็กซอน (Dexon)  20ppm ใส่ในน้ำรดกิ่งพันธุ์  อีกโรคคือ โรคแอนแทรกโนส  ซึ่งเข้าทำลายได้ทั้งใบและผล  จะสังเกตุได้จากจุดสีน้ำตาล บริเวณใบ  การป้องกัน เมื่อมีการแตกใบอ่อนแล้วให้ฉีด คาร์เบนดาซิน หรือไซเปอร์เมททริน เพื่อป้องกันโรค แมลง

 

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

โดยธรรมชาติแล้วอะโวคาโด จะไม่สุกบนต้น แต่จะสุกหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลออกจากต้นแล้ว ปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์  ซึ่งหมายความว่า หลังจากเก็บผลจากต้นแล้ว เราต้องทิ้ง หรือบ่ม อะโวคาโดไว้ที่อุณหภูมิห้อง 1 สัปดาห์ก่อนนำมารับประทาน  

การเก็บ ผลอะโวคาโด ที่อ่อนเกินไป นอกจากจะมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันน้อยแล้ว ยังทำให้ ไม่สามารถบ่มอะโวคาโดให้สุกได้ คือผลอาจจะเน่าไปเลยโดยที่ยังไม่สุก  ดังนั้นเกษตรกรควรมีหลักในการสังเกตุเพื่อเก็บผลผลิตที่แก่เพียงพอ  นอกจากนี้ เรายังสามารถ ทิ้งผลอะโวคาโด ที่แก่ ให้อยู่บนต้นได้อีกระยะหนึ่ง หากเก็บไม่ทัน หรือต้องการรอเวลา แต่ทั้งนี้ ขึ้นกับแต่ละสายพันธุ์ด้วย   

แนะเคล็ดลับ ปลูก”อะโวคาโด” ให้ได้ผลดก ไม่ต้องปลูกบนดอยสูง

การเก็บผลต้องให้ขั้วผลติดกับผลด้วย เพราะหากขั้วผลหลุดจากผล จะทำให้ผลเสียหายง่ายขณะบ่มให้สุก  วิธีหนึ่งในการตรวจสอบว่าผลอะโวคาโด พร้อมเก็บเกี่ยวหรือไม่ ให้เก็บผลจากจุดต่าง ๆของต้น มา 6-8 ผล จากนั้น ผ่าผลเพื่อดูเยื่อหุ้มเมล็ด หากเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีน้ำตาลทั้งหมด แสดงว่าผลแก่พร้อมเก็บเกี่ยวได้  ทั้งนี้ต้องระวังด้วยว่า อะโวคาโด อาจมีการออกดอก 2 ชุด ทำให้ผลในต้นเดียวกัน แก่ไม่เท่ากัน ควรตรวจสอบจากลักษณะผลภายนอกด้วย

 

วิธีการบ่มอะโวคาโด ให้สุก

เมื่อเราเก็บ อะโวคาโด จากต้นแล้ว จำเป็นต้องมีการบ่มเพื่อให้สุก ก่อนรับประทาน การบ่มนั้นทำได้ง่ายๆ โดยการทิ้งผลไว้ที่อุณหภูมิห้อง  แต่หากต้องการเร่งให้ผลสุกเร็วขึ้น  ให้ใส่ผลอะโวคาโดในถุงกระดาษสีน้ำตาล แล้วปิดปากถุง หากไม่มีก็ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้ แล้วทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง  ระยะเวลาอาจเพียงแค่ 1 คืน หรือหลายวัน ขึ้นกับอะโวคาโดแต่ละผล   การทดสอบว่าผลสุกหรือยัง ให้ลองเอามือบีบผลเบา ๆ ถ้าผลบีบได้ ก็แสดงวาสุก  หรืออีกวิธีให้กดบริเวณขั้วผลเบา ๆ ถ้ากดได้แสดงว่าสุก

หากผลสุกแล้วให้นำผลอะโวคาโด แช่ตู้เย็นเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา  ไม่ควรนำผลดิบที่ยังไม่สุกแช่ตู้เย็นเพราะอาจทำให้ผลไม่สุกแล้วเน่าไปเลยก็ได้

แนะเคล็ดลับ ปลูก”อะโวคาโด” ให้ได้ผลดก ไม่ต้องปลูกบนดอยสูง