ครูบาบุญชุ่ม พระเกจิดัง ออกจากถ้ำวันไหน พร้อม ประวัติครูบาบุญชุ่ม

05 กรกฎาคม 2565

ครูบาบุญชุ่ม พระเกจิดัง แห่งเมืองล้านนา ครบกำหนดออกถ้ำเมืองแก็ดวันไหน พร้อมประวัติ พระครูบาบุญชุ่ม ที่หลายคนยังไม่รู้

ครูบาบุญชุ่ม พระเกจิดัง แห่งเมืองล้านนา หรือ ที่ชาวพุทธรู้จักท่านในนาม พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร อรัญวาสีภิกขุ หลายคนยังไม่ทราบประวัติและยังรู้จัก ครูบาบุญชุ่ม ไม่มากพอ วันนี้ Thainews Online ขอพาไปทำความรู้จัก พระครูบาบุญชุ่ม พระเกจิดังแห่งเมืองล้านนากันค่ะ

ครูบาบุญชุ่ม พระเกจิดัง ออกจากถ้ำวันไหน พร้อม ประวัติครูบาบุญชุ่ม

ครูบาบุญชุ่ม คือใคร? 

ย้อนรอย ครูบาบุญชุ่ม เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม  2561 ครูบาบุญชุ่ม  ญาณสังวโร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ได้เดินทางมายังปากถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ. แม่สาย จ.เชียงราย เป็นครั้งที่ 3 เพื่อค้นหาทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตที่ติดถ้ำ

ปรากฏว่ากองทัพสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ มาเฝ้ารอกันอย่างหนาแน่น ซึ่งครูบาบุญชุ่มได้เดินทางมาพร้อมศิษย์ยานุศิษย์และคณะศรัทธาจำนวนหลาย 10 คน 

ครูบาบุญชุ่ม เดินผ่านกองทัพสื่อมวลชน เข้าไปยังปากถ้ำหลวงฯ เพื่อทำพิธีแผ่เมตตา มีเพียงคณะศรัทธาและบรรดาญาติของทีมหมูป่าอะเคาเดมี่เดินตามเข้าไปเท่านั้นเวลาผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง ครูบาบุญชุ่มและศิษยานุศิษย์ รวมทั้งบรรดาญาติของ 13 ชีวิตก็เดินออกมาจากปากถ้ำหลวงฯ 

พระครูบาบุญชุ่ม ไม่ได้กล่าววาจาใดๆ แต่ได้นำวัตถุมงคล เครื่องรางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มอบให้บรรดาสื่อมวลชนและญาติของทีม หมูป่า เท่านั้น เมื่อครูบาบุญชุ่ม เดินกลับจากถ้ำหลวงฯ อ.แม่สาย แล้วได้บอกกับลูกศิษย์ว่า “ห้ามผู้ใดเข้าไปรบกวน” เพราะท่านต้องการปิดวาจาและนั่งสมาธิแผ่เมตตาให้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในถ้ำหลวงฯ เป็นเวลา 3 วัน ก่อนที่จะเดินทางออกจากวัดตั้งแต่เช้า และเดินทางมาทำพิธีที่ถ้ำหลวง อีกครั้ง ปาฏิหาร์ย์มีจริง หลังจากครั้งล่าสุดที่ครูบาบุญชุ่มได้ทำพิธีทางศาสนา และกล่าวว่า “จะค้นพบทีมหมูป่าทั้ง13ชีวิต” 

ต่อมา 2 วัน ให้หลังทีมหน่วยซีล (ทหารเรือ)  และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติภารกิจภายในถ้ำหลวงฯ ก็สามารถเจาะทะลวงโถงถ้ำจนพบทั้ง 13 ชีวิต ปลอดภัยดีอยู่ภายในถ้ำจริง ต่อมาครูบาบุญชุม ได้เข้านั่งสมาธิวิปัสนาภายในสำนักปฏิบัติดอยเวียงแก้ว บ้านเวียงแก้ว หมู่ 5 ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ใกล้กับชายแดนไทย-สปป.ลาว-เมียนมา ตรงจุดสามเหลี่ยมทองคำติดแม่น้ำโขง-แม่น้ำรวก โดยไม่ได้ออกมาพบญาติโยมอีก

พระครูบาบุญชุ่ม ครูบาบุญชุ่ม พระเกจิดัง ออกจากถ้ำวันไหน พร้อม ประวัติครูบาบุญชุ่ม

หนังสือจากถ้ำ พระครูบาบุญชุ่ม

พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร ซึ่งเข้าไปปฏิบัติธรรมกรรมฐาน บำเพ็ญเพียร ในถ้ำที่เมืองแก๊ด รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ได้เกือบ 1 ปี ส่งหนังสือออกมาจากถ้ำ ซึ่งพระครูสมุห์นทีเทพ จิรวฑฺฒโณ วัดหนองปึ๋ง จ.เชียงใหม่ ได้นำคำเขียนคำเมือง (ภาษาไทยถิ่นเหนือ) ของพระครูบาบุญชุ่ม นำมาแปลเป็นภาษาไทย เผยแผ่ให้กับลูกศิษย์ ผ่านเฟซบุ๊กพระครูสมุห์นทีเทพ จิรวฑฺฒโณ

หนังสือ “พระครูบาบุญชุ่ม”  เตือนลูกศิษย์ใช้ชีวิตอย่างมีสติ  ระวังอันตราย 3 ประการจะเกิดขึ้นบนโลกใบนี้

1. คนทั้งหลายจะเป็นโรคทาฬะลงเมือง(ตายห่า)จะตายกันมาก

2. โดยเฉพาะคนที่ไม่นับถือพระพุทธศาสนา 

3. จะตายเป็นหมื่นเป็นล้าน 

ด้วยเหตุนี้ ให้มีสติ โรคภัยไข้เจ็บนี้ ไม่ใช่โลกนี้เกิดขึ้นมาเอง นอกโลกหรือโลกอื่นเขาเอามาปล่อยใส่ผู้อื่นทั้งหลายจะได้ตาย เป็นแล้วจะรักษาไม่ได้ มีธรรมะเท่านั้นรักษาได้ ขอให้มีสติ เกี่ยวกับการกินเนื้อปลา สิ่งจะนำเชื้อโรคมา ตอนนี้ในโลกตายนับหมื่นเป็นที่น่ากลัว ให้ทุกคนมีสติในการกินอยู่ ให้ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ทำวัตรสวดมนต์ภาวนาส่งเมตตาให้มากๆ ให้แผ่ถึงในโลกในอนัตตจักรวาลสัตว์ทั้งหลายหาที่สุดไม่ได้

ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 65 เพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิดอยเวียงแก้ว พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร อรัญวาสีภิกขุ ได้โพสต์ข้อความไว้ว่า เปิดเผยถึงกำหนดการออกจากถ้ำหลวงเมืองแก๊ด หลังจาก พระครูบาบุญชุ่ม เข้าปฏิบัติธรรมกรรมฐานปิดวาจาเป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ระบุข้อความ

“กำหนดการออกถ้ำ พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรญฺญวาสีภิกขุ จะออกจากถ้ำ วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ปลงผมที่เกาะน้ำรูนั้นแล ให้สร้างหอกุฏิที่พักไว้ จะไปฉันภัตตาหารที่กุฏิมุงคาริมน้ำสิ่ม 5 โมง จะไปที่ถ้ำเล็ก หอ 7 ชั้นนั้นแล

คนที่จะมารับในถ้ำหลวงนี้ มีพระสงฆ์ 23 รูป คฤหัสถ์ลูกศิษย์ชาย ให้มา 38 คน ลูกศิษย์หมวกทองคำให้มาเวลา 07.00 น. ลากรถหอคำให้ห่างกัน 1 วา หญิงลากข้างซ้าย ชายลากข้างขวา พระสงฆ์นำหน้า จะอยู่ 5 วัน แล้วไปเมืองพง (เข้าพรรษาเดือน 10 นั้นแล ที่ไหนยังไม่รู้)”

จดหมายครูบาบุญชุ่ม ครูบาบุญชุ่ม พระเกจิดัง ออกจากถ้ำวันไหน พร้อม ประวัติครูบาบุญชุ่ม

ประวัติ ครูบาบุญชุ่ม

สำหรับ ประวัติ ครูบาบุญชุ่ม ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง แม้ครอบครัวจะยากจนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่โยมมารดาก็ปลูกฝังท่านให้ทำบุญ สวดมนต์ ทำสมาธิอยู่เสมอ ทำให้ท่านสนใจออกบวช รวมจำนวนพรรษาที่บวชเป็นพระภิกษุทั้งหมด ๒๐ พรรษา

ประวัติด้านการศึกษา ครูบาบุญชุ่ม

หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ขณะอายุได้ 11 ปี ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2526

ต่อมาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เวลา 919 น. ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (ปัจจุบันรวมกับวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่)) โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์

นับแต่ออกบวช ครูบาบุญชุ่มมุ่งเน้นเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายองค์ ได้จาริกไปหลายท้องที่ทั้งภาคเหนือของไทย พม่า เนปาล อินเดีย ภูฏาน ฯลฯ เมื่อครูบาบุญชุ่มพบเห็นวัดใดทรุดโทรมก็เป็นผู้นำในการบูรณะ และได้สร้างพระธาตุเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป ไว้หลายแห่งในภาคเหนือ รัฐชาน สิบสองปันนา และประเทศลาว

การสร้างและบูรณะพระธาตุ

ครูบาบุญชุ่ม ญาณสัวโร ได้สร้างศาสนสถานไว้ดังต่อไปนี้

  1. พระวิหารวัดบ้านด้ายและกุฏิสงฆ์ 1 หลัง
  2. พระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล
  3. พระธาตุงำเมืองท้าววังนั่ง ตำบลเมืองพง พม่า
  4. พระธาตุดอยดอกคำ ตำบลเมืองพง พม่า
  5. พระธาตุจอมยอง เมืองยอง พม่า
  6. ศาลาและแท่นแก้วพระธาตุจอมพง พม่า
  7. พระธาตุจอมศรีดับเภมุง เมืองพง พม่า
  8. พระธาตุวัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
  9. ศาลาเก้าห้องและกุฏิสงฆ์ วัดพระนอน วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุง พม่า
  10. วิหารพระเจ้านอน เมืองพง พม่า และสร้างแท่นแก้ววัดแม่คำบัว แท่นแก้ว พระเจ้านอนวัดพระธาตุ จอมศรีดับเภมุงเมือง บ้านทุง พม่า
  11. พระวิหารพระธาตุดอนเรือง พม่า และสร้างแท่นแก้ว วัดปากว๋าว ตำบลห้วยไคร้

ครูบาบุญชุ่ม พระเกจิดัง ออกจากถ้ำวันไหน พร้อม ประวัติครูบาบุญชุ่ม

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

ภาพ : มูลนิธิดอยเวียงแก้ว พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร อรัญวาสีภิกขุ