ซีพีเอฟ ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ เลี้ยงหมู ไก่ สร้างภูมิภายใน ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ

04 สิงหาคม 2565

ซีพีเอฟ ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ เลี้ยงหมู-ไก่ด้วยโปรไบไอติกส์ สร้างภูมิจากภายใน ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเร่งโต ส่งผลดีต่อสุขภาพคน-สัตว์-สิ่งแวดล้อม

ฟาร์มปศุสัตว์ในระบบเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของประเทศไทยมีพัฒนาการในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ที่ทั่วโลกยอมรับ  หรือการคิดค้นนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์ด้วยโปรไบโอติกส์ที่ดีต่อสุขภาพสัตว์  ส่งผลถึงความปลอดภัยในอาหารสำหรับผู้บริโภคในทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของผู้นำอุตสาหกรรมอย่าง ซีพีเอฟ หรือ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

ซีพีเอฟ ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ เลี้ยงหมู ไก่ สร้างภูมิภายใน ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ

น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตฐานฟาร์มและข้อกำหนดลูกค้า ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทมุ่งเน้นหลักการ “สุขภาพหนึ่งเดียว” (One Health) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) มาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ ควบคู่การยึดหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare)

 

เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพดี ครอบคลุมกิจการทั้งในไทยและต่างประเทศ ให้สัตว์ได้รับน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สามารถแสดงพฤติกรรมได้ตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันสัตว์ในฟาร์มของบริษัทฯ 100% ได้รับการเลี้ยงดูตามหลักอิสระ 5 ประการ ภายใต้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล

 

นอกจากนี้ บริษัทยังยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน จากการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการเลี้ยงสัตว์ด้วยจุลินทรีย์ที่ดีอย่าง “โปรไบโอติกส์” ช่วยจัดสมดุลลำไส้ ส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วย และไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเร่งการเจริญเติบโต ตลอดการเลี้ยงดู ตอกย้ำการเพิ่มสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี ซึ่งดีต่อทั้งสุขภาพสัตว์ คน และสิ่งแวดล้อม  

น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล
 

“มาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ในอุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทย มีการตรวจสอบเคร่งครัดทั้งจากภาครัฐและประเทศคู่ค้า ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเลี้ยงสัตว์อย่างแออัด หรือใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมากเกินความจำเป็น ตามที่มักมีรายงานกล่าวหาแบบเหมารวม ขณะที่ซีพีเอฟมีพัฒนาการในเลี้ยงสัตว์อย่างต่อเนื่อง ภายใต้เป้าหมายสำคัญคือการผลิตอาหารที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค” น.สพ.พยุงศักดิ์กล่าว

 

ด้าน น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร ซีพีเอฟ กล่าวเพิ่มเติมว่า ซีพีเอฟจะเน้น "การป้องกัน" ไม่ให้เกิดโรคหรือผลกระทบใดๆต่อสุกร โดยฟาร์มสุกรทั้งหมดของบริษัทเป็นฟาร์มระบบปิดตามมาตรฐานกรมปศุสัตว์ และวางระบบการบริหารจัดการฟาร์มในระดับไบโอซีเคียวริตี้ พร้อมทั้งมีการให้วัคซีนแก่ลูกสุกรตามระยะเวลาที่สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเป็นผู้กำหนด ส่งผลให้ปัญหาเจ็บป่วยเกิดขึ้นน้อยมาก

น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส

อย่างไรก็ตาม หลักสวัสดิภาพสัตว์นั้น หากพบสัตว์ป่วยต้องให้การรักษา ดังนั้น ในกรณีที่พบการเจ็บป่วยแล้วเท่านั้น จึงจะมีการให้ยา โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มอย่างเข้มงวด และมีการเว้นระยะหยุดยาที่เหนือกว่ามาตรฐานทั่วไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีการตกค้างหรือส่งผลกระทบใดๆ ต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกัน เมื่อถึงโรงชำแหละ สุกรจะถูกตรวจสอบซ้ำอีกครั้งว่าปราศจากสารตกค้างจริงๆ จึงจะได้รับอนุญาตให้เข้ารับการชำแหละ สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้อีกขั้นตอนหนึ่ง

 

ด้านความมุ่งมั่นในการป้องกันเชื้อดื้อยานั้น ซีพีเอฟ ได้ยกเลิกรายการยารักษาสัตว์ ที่อยู่ในกลุ่มยาต้านจุลชีพ ที่อาจส่งผลกระทบและเป็นยาหลักที่ใช้รักษาโรคในคน เช่น โคลิสติน ออกจากระบบการจัดซื้อทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อกันยาต้านจุลชีพที่สำคัญไว้ใช้กับคน โดยในฟาร์มเลี้ยงสัตว์จะมุ่งเน้นวิธีป้องกันโรค ตามหลักการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio-security) ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ทั้งในสัตว์และในคนไปพร้อมกัน

 

จากการดำเนินการด้านการป้องกันผลกระทบใดๆ ต่อสัตว์ และดูแลสุขภาพสัตว์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ซีพีเอฟได้รับการคงสถานะมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์-Animal Welfare ระดับ Tier 3 ในรายงานเกณฑ์มาตรฐานทางธุรกิจตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report : BBFAW) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

 

น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Thainewsonline