เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 สปริงนิวส์ ร่วมกับ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และเครือเนชั่น จัดงานเสวนา VIRTUAL FORUM : BCG Ecomy Drive for Thailand Sustainability เศรษฐกิจ BCG ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน เพื่อนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจผ่าน BCG Model หรือเศรษฐกิจชีวภาพ และเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว
โดยงานสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ที่ได้เสนอทิศทางการขับเคลื่อน BCG Economy Model สร้างเศรษฐกิจไทย ซึ่งสาขาเกษตร นั้นได้รับเกียรติจากทาง นายสัตวแพทย์ ยุคล ลิ้มแหลมทอง ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนา เศรษฐกิจ BCG model สาขาเกษตร ได้เผยถึงเป้าหมายภาคเกษตรที่ตั้งไว้ 3 สูง ประกอบไปด้วย ประสิทธิภาพสูง มาตราฐานสูง และรายได้สูง โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการแก้ปัญหา จะทำให้เกิดการลดต้นทุนการผลิต ลดความเสี่ยงต่างๆและไม่สร้างมลภาวะ
ส่วนกระบวนการพัฒนานั้มมีจัดตั้งคณะกรรมการจัดการคล้ายกับแบบ Area Base โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน คณะกรรมการอำนวยการในจังหวัด เพื่อดูภาพรวมของจังหวัดแล้วคัดเลือกสินค้าที่สามารถขับเคลื่อน IMM มูลค่ามวลรวมของจังหวัดได้ มาพัฒนาต่อซึ่งทีมงานของแต่ละจังหวัด จะมีหน่วยงานทั้งภาพรัฐ มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน ของแต่ละจังหวัดเข้ามาช่วยจัดการระบบสินค้าการเกษตร การแก้ปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่มีอยู่ ให้เกิดการพัฒนา ซึ่งจะทำในลักษณะของหุ้นส่วนเศรษฐกิจ โดยมี 5 จังหวัดนำร่องประกอบไปด้วย
1.จังหวัดราชบุรี สินค้าที่จะพัฒนาประกอบไปด้วย มะพร้าวน้ำหอม พืชผัก โคนม สุกรและกุ้ง
2.ลำปาง สินค้าที่จะพัฒนาประกอบไปด้วย ข้าว ครั่งและไผ่
3.ขอนแก่น สินค้าที่จะพัฒนาประกอบไปด้วย อ้อย และ หม่อนไหม
4.จันทบุรี สินค้าที่จะพัฒนาประกอบไปด้วย ทุเรียน มังคุด และปูม้า
5.พัทลุง สินค้าที่จะพัฒนาประกอบไปด้วย ข้าวสังข์หยด ปลาดุก สุกรชีวภาค และสละ
ดังนั้น BCG Economy Model นั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ทั้งตอบโจทย์ทางภาคธุระกิจ รักษาสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงกับชุมชน ที่เกษตรสามารถนำแนวคิดนี้มาปรับใช้ได้จริง โดยเริ่มต้นได้ที่ตัวเกษตรกรเอง จะช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดความเสี่ยงต่างๆ และเกิดการพัฒนาสินค้าการเกษตร ซึ่งจะสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูง มาตราฐานสูง และรายได้สูง