ค่าขับรถเข้าเมือง กรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับปัญหาการจราจรที่หนักหน่วงมาอย่างยาวนาน และหนึ่งในมาตรการที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ คือ การเก็บค่าธรรมเนียมการขับรถเข้าเมืองในอัตรา 40-50 บาทต่อครั้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นอย่างมาก การเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่น่าสนใจ ซึ่งเราจะมาวิเคราะห์กันอย่างละเอียดในบทความนี้
ค่าธรรมเนียมรถติด วันที่ 17 ตุลาคม 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ที่นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ไปศึกษาเพิ่มเติมว่า เรื่องนี้ต้องดูผลการศึกษาเดิม แล้วต้องไปคุยกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ว่า ถ้าค่าโดยสารถูกลง จะมีคนใช้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหรือไม่
อย่างไรก็ตาม สนข. เคยศึกษาเอาไว้ถึงการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจราจรคับคั่ง (Congestion charge) โดยจะเก็บเงินค่าธรรมเนียมบนถนนเส้นที่มีรถไฟฟ้าพาดผ่าน จากผลการศึกษาเดิมที่ศึกษาถนน 6 เส้นทาง ได้แก่ ถนนสุขุมวิท, เพชรบุรี, สีลม, รัชดาภิเษก พบว่ามีปริมาณการจราจรรวมกัน 7 แสนคันต่อวัน หากเก็บคันละ 40-50 บาท จะมีรายได้ปีละ 1 หมื่นล้านบาท
ส่วนการซื้อคืนรถไฟฟ้าทุกสัมปทาน โดยเฉพาะสายสีเขียว คาดว่าจะต้องใช้เงินสูงถึง 2 แสนล้านบาท สุดท้ายเรื่องนี้จะได้ข้อสรุปไม่เกินกลางปี 2568 และทางกระทรวงคมนาคม อยากให้ประชาชนใช้รถไฟฟ้าราคา 20 บาท ภายในเดือนกันยายน 2568 พร้อมกับศึกษาเรื่องเงินชดเชยเอาไว้แล้ว ส่วนหนึ่งก็คือ ส่วนแบ่งที่ได้รับจาก รฟม. สายสีน้ำเงิน ที่สามารถทำได้ทันที แต่ถ้ากระบวนการศึกษาเสร็จก่อนก็จะใช้กระบวนการตรงนั้น
ขณะที่รายละเอียดของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจุบันต้องรอกระทรวงการคลังศึกษารายละเอียดที่ชัดเจน คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2568 แต่เบื้องต้นคาดว่ากองทุนจะมีระยะเวลาลงทุน 30 ปี ขนาดประมาณ 2 แสนล้านบาทเมื่อมีการระดมทุนจากประชาชนแล้ว แน่นอนว่าต้องการันตีผลตอบแทนรายปี และให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเชื่อว่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุน