ช่วงที่ไม่ควรดื่มน้ำ หมอเผยความลับที่คุณต้องรู้เรื่องการดื่มน้ำ การดื่มน้ำผิดเวลา อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิดจริงหรือไม่? หลังอายุ 70 ปี จะกระหายน้ำแค่ไหน ก็อย่าดื่มน้ำในช่วง 2 เวลานี้ หมอมาเฉลยให้ฟังชัด ๆ พร้อมเหตุผล
หมอบอกเอกช่วงที่ไม่ควรดื่มน้ำ เว็บไซต์ Sohu รายงานว่า คุณยายเหว่ย ที่เพิ่งอายุครบ 70 ปี ร่างกายของเธอยังแข็งแรงดี แต่ช่วงนี้อายุมากขึ้น ก็เริ่มรู้สึกกระหายน้ำบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนนอนและหลังตื่นนอน มักรู้สึกคอแห้งเหมือนมีทรายอยู่ในคอเสมอ
แต่เมื่อได้ยินจากเพื่อนมาว่าเมื่ออายุเกิน 70 ปี ไม่ควรดื่มน้ำอย่างสุ่มสี่สุ่มห้า โดยเฉพาะใน 2 ช่วงเวลาที่ห้ามดื่ม ทำให้เธอรู้สึกงงงวย น้ำชาก็ไม่ได้ดื่มมากนัก ไพ่ก็เล่นกับเพื่อน ๆ ไปได้ไม่กี่รอบ ในใจคุณยายเหว่ยกลับคอยวนเวียนอยู่กับเรื่อง “2 ช่วงเวลาที่ห้ามดื่มน้ำ”
วันถัดมา เมื่อไปถึงโรงพยาบาล คุณยายเหว่ยทำการตรวจร่างกายเสร็จแล้ว แพทย์บอกว่าเธอสภาพร่างกายยังดี แต่เธอยังคงคิดถึงคำพูดเมื่อวานนี้ จึงอดไม่ได้ที่จะถามออกไปว่า "คุณหมอคะ เมื่อวานฉันได้ยินมาว่า หลังอายุ 70 ปี มีสองช่วงเวลาที่ห้ามดื่มน้ำ ต่อให้กระหายแค่ไหนก็ห้ามจริงหรือคะ?"
ซึ่งคุณหมอก็ตอบว่า "พออายุมากขึ้น การเผาผลาญน้ำในร่างกายจะทำงานช้าลง การดื่มน้ำจึงยิ่งสำคัญ แต่ก็มีสองช่วงเวลาที่ต้องระวังเป็นพิเศษหลังอายุ 70 ปี วันนี้ผมจะอธิบายให้คุณฟังอย่างละเอียดครับ"
คุณยายเหว่ยรีบขยับเข้าไปใกล้ "โอ้โห คุณหมอรีบบอกฉันเถอะคะ ว่า 2 ช่วงเวลานั้นคือช่วงไหนบ้าง ฉันจะได้ระวังตัวให้มาก ไม่อยากสร้างปัญหาให้ตัวเองเลย"
คุณหมอยิ้มเล็กน้อยก่อนอธิบายต่อว่า ช่วงเวลาแรกคือตอน 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน โดยเฉพาะคนสูงอายุ การดื่มน้ำมากเกินไปตอนกลางคืนอาจทำให้ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ระหว่างคืน
ในผู้สูงอายุ การทำงานของกระเพาะปัสสาวะจะลดลง และความสามารถในการควบคุมการปัสสาวะก็เสื่อมถอยไปด้วย หากดื่มน้ำมากเกินไปก่อนนอน น้ำจะไปกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ต้องลุกขึ้นเข้าห้องน้ำบ่อย ส่งผลต่อคุณภาพการนอน
นอกจากนี้ การลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม โดยเฉพาะในกรณีที่บ้านมีแสงสว่างไม่เพียงพอหรือพื้นลื่น การเข้าห้องน้ำกลางคืนจึงเป็นอันตรายมาก
คุณหมอพูดต่อว่า ช่วงเวลาที่ 2 ก็คือหลังตื่นนอนตอนเช้า หลายคนมักรู้สึกกระหายทันทีที่ตื่นและหยิบแก้วน้ำขึ้นดื่มเป็นนิสัย นิสัยนี้ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ถ้าดื่มน้ำมากเกินไปทันที โดยเฉพาะการดื่มน้ำเย็นขณะท้องว่าง อาจส่งผลเสียต่อร่างกายแทน
ในตอนเช้า เมื่อร่างกายเพิ่งฟื้นตัวจากการนอนหลับ เลือดจะมีความเข้มข้นสูง และการทำงานของหัวใจยังค่อนข้างอ่อนแอ ถ้าดื่มน้ำเย็นมากเกินไปในตอนเช้า จะไปกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการกระเพาะเกร็ง และอาจทำให้ความดันโลหิตแกว่ง ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
คุณหมอแนะนำว่า "ดื่มน้ำได้ แต่ควรดื่มทีละน้อย และน้ำอุ่นจะดีที่สุด หลังตื่นนอนให้จิบน้ำอุ่นเล็กน้อยเพื่อค่อย ๆ กระตุ้นระบบเผาผลาญของร่างกาย และช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น อย่าดื่มน้ำมากเกินไปในครั้งเดียว โดยเฉพาะน้ำเย็น เพราะจะส่งผลต่อหัวใจและระบบทางเดินอาหาร งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ดื่มน้ำเย็นในตอนเช้าขณะท้องว่าง มีโอกาสเกิดปัญหาหัวใจสูงกว่าผู้ที่ดื่มน้ำอุ่นประมาณ 15%"