ภูเขาไฟฟูจิ สัญลักษณ์อันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น และเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ในทุกๆ ปี เมื่อฤดูหนาวมาเยือน เราจะได้เห็นภาพภูเขาไฟลูกนี้สวมหมวกหิมะสีขาวโพลนราวกับภาพวาด แต่ในปีนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้าม ภูเขาไฟฟูจิ หิมะตกเดือนไหน ถึงเดือนไหน ก็คือเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
หิมะบนยอดภูเขาไฟฟูจิมาช้าที่สุดในรอบ 130 ปี นับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลมา โดยปกติแล้ว หิมะจะปกคลุมยอดเขาฟูจิในช่วงปลายเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคม แต่ในปีนี้ต้องรอจนถึงเดือนพฤศจิกายน หิมะจึงมาเยือนอย่างช้าๆ เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ทำให้ฤดูกาลต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป และส่งผลกระทบต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ รวมถึงการตกของหิมะบนยอดภูเขาไฟฟูจิด้วย
สถิติหิมะตกครั้งแรก บนภูเขาไฟฟูจิ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ยอดเขาหลายแห่งจะไม่มีหิมะอีกแล้ว
ด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเล แสดงความกังวลผ่านเฟสบุกถึงการเกิดหิมะบนยอดฟูจิครั้งนี้ว่า ทำสถิติช้าสุดตั้งแต่เคยบันทึกมา และเป็นครั้งแรกที่ต้องรอถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งก่อนหน้านี้อาจารย์ธรณ์อธิบายด้วยว่า เข้าเดือนพฤศจิกายนแล้วฟูจิซังก็ยังไม่มีหิมะ ไม่ใช่แค่ครั้งแรกในรอบ 130 ปี ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำ เพราะสถานีตรวจวัดเริ่มตั้งในค.ศ.1894 ก่อนหน้านั้นเราไม่รู้
"เหตุผลแสนง่าย เพราะโลกกำลังร้อนจัด ช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมาของญี่ปุ่นคือร้อนจัดที่สุดในประวัติศาสตร์ อุณหภูมิสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยถึง 1.76 องศา ! (เฉลี่ย 30 ปี 1991-2020) ความร้อนยังส่งผลต่อมาถึงตุลาคม เมืองต่างๆ 74 เมืองในญี่ปุ่นร้อนเกือบ 30 องศา ทะลุสถิติเกณฑ์เฉลี่ยในอดีต แม้แต่ปีที่แล้วเป็นช่วงเอลนีโญ หิมะยังตกบนยอดฟูจิตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ปีนี้เป็นปีปรกติกึ่งลานินญา หิมะยังไม่มาจนถึงบัดนี้ ว่าง่ายๆ คือเลตไปเกือบเดือนแล้วจ้ะ แล้วก็ยังไม่มีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ที่หิมะไม่ตกบนยอดฟูจิในเดือนตุลาคม ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า หากมนุษย์ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบนี้ต่อไป หน้าหนาวจะสั้นลงเรื่อยๆ หิมะจะหายไปและหายไป ยอดเขาหลายแห่งจะไม่มีหิมะอีกแล้ว..."