การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวผลผลิตสูง ภายใต้ชุดโครงการวิจัย “การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง” งบประมาณวิจัย 3 ปี (ปี พ.ศ.2559-2561) จากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยโครงการวิจัยมุ้งเน้นการสกัดสายพันธุ์แท้เพื่อสร้างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวที่ให้ผลผลิตสูง
ทั้งนี้เนื่องจาก การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์ที่ปลูกเป็นข้าวโพดลูกผสมเดี่ยว และมาจากภาคเอกชนเกือบทั้งหมด พันธุ์จากภาครัฐมีน้อยมาก ดังนั้น ถ้าภาครัฐมีพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวที่ให้ผลผลิตในระดับเดียวกับพันธุ์จากภาคเอกชนจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกร มีพันธุ์ข้าวโพดให้เกษตรกรเลือกใช้มากขึ้น และถ้าพันธุ์มีความเหมาะสมกับพื้นที่ปลูกนั้นๆ จะเป็นการเพิ่มโอกาสของการเพิ่มผลผลิตได้อีกวิธีหนึ่ง นอกจากนี้ ภาคธุรกิจเอกชนรายย่อย (SMEs) ที่ยังไม่มีโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด หรือเมล็ดพันธุ์พ่อแม่เป็นของตนเอง และมีความสนใจในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวเพื่อการค้า พันธุ์ข้าวโพดเหล่านี้ สามารถเป็นทางเลือกหนึ่งของภาคเอกชนรายย่อยในการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้า
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดียวพันธุ์สุวรรณ 5819 (Suwan 5819) เป็นพันธุ์ที่ถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้รับการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวโพดไร่สายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ 64 (Ki 64) กับสายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ 60 (Ki 60) โดยมีลักษณะลำต้นตั้งตรง มีความสูงต้นเฉลี่ย 218 เซนติเมตร มีความสูงฝักโดยวัดจากพื้นดินถึงข้อฝักบนสุด มีความสูงเฉลี่ย 136 เซนติเมตร มีความยาวฝักเฉลี่ย 23 เซนติเมตร มีความยาวติดเมล็ดเฉลี่ย 22.7 เซนติเมตร มีจำนวนเมล็ดต่อแถวเฉลี่ย 46 เมล็ด/แถว และมีจำนวนแถวต่อฝักเฉลี่ย 16 แถว
ลักษณะเด่นของพันธุ์ลูกผสม สุวรรณ 5731
– ผลผลิตเฉลี่ยที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 1,586 กก./ไร่,
– มีอายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน
– มีเปอร์เซ็นต์การกะเทาะสูง ประมาณ 82 เปอร์เซ็นต์
– ต้านทานโรคราน้ำค้างในระดับปลานกลาง และต้านทานโรคทางใบอื่นๆได้ดี
– เมล็ดมีขนาดใหญ่ เมล็ดแห้งมีน้ำหนักดี
– เหมาะสำหรับปลูกในฤดูต้นฝน
– สามารถนำไปใช้ปลูกทำข้าวโพดหมักได้ดี
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ว่าที่ร้อยตรีโรจนพงศ์ ไชยสิทธิ์
สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ