เกษตรยั่งยืน

heading-เกษตรยั่งยืน

การปลูกอ้อย ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด หลังน้ำท่วมขัง สู่การสร้างรายได้

04 ต.ค. 2565 | 12:55 น.
การปลูกอ้อย ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด หลังน้ำท่วมขัง สู่การสร้างรายได้

สำนักงานพัฒนาที่ดิน แนะวิธีการปลูกอ้อยคั้นน้ำในพื้นที่ดินเปรี้ยว หลังน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน สู่การสร้างรายได้เสริมในครัวเรือน

สำนักงานพัฒนาที่ดิน แนะวิธีการปลูกอ้อยในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด โดยการปรับสภาพพื้นที่ ดินเปรี้ยวจัดเป็นดินที่มีสภาพเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง จำเป็นต้องมีการขุดคูยกร่องเพื่อระบายน้ำออก จากนั้นจึงไถพรวนดินและตากดินทิ้งไว้นาน 3-5 วัน

เผยการปลูกอ้อยคั้นน้ำ ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด หลังน้ำท่วมขัง สู่การสร้างรายได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การปรับปรุงดิน ในการปลูกอ้อยในดินเปรี้ยวจัดจำเป็นต้องมีการปรับสภาพดินให้มีค่าความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมในการปลูกพืช โดยการใส่หินปูนฝุ่นในอัตรา 2 ตันต่อไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดินและทิ้งไว้ 15 วัน ก่อนปลูก และเนื่องจากดินเปรี้ยวจัดเป็นดินเหนียวที่มีการระบายน้ำเลว จึงจำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยหมัก ในอัตรา 5 ตันต่อไร่ เพื่อปรับปรุงดินให้ร่วนซุยก่อนทำการปลูกอ้อย

เผยการปลูกอ้อยคั้นน้ำ ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด หลังน้ำท่วมขัง สู่การสร้างรายได้

วิธีการปลูก การปลูกอ้อยคั้นน้ำที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก สามารถเริ่มปลูกได้ตั้งแต่ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ส่วนการปลูกในระบบร่องสวนที่มีการชลประทาน สามารถปลูกในช่วงเวลาใดก็ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1) การเตรียมท่อนพันธุ์ ใช้ท่อนพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 6-8 เดือน ให้แต่ละท่อนพันธุ์มีตาอยู่ 2-3 ตา

2) ระยะปลูกระหว่างร่องประมาณ 0.75-1.00 เมตร และระยะห่างระหว่างท่อนพันธุ์ 0.50 เมตร โดยแนวของอ้อยนั้นจะขวางความยาวของร่องหรือวางตามความยาวของร่องก็ได้

3) วางท่อนพันธุ์ในร่องปลูกให้ตาของอ้อยอยู่ด้านข้างของท่อนพันธุ์ เอียง 45 องศา และวางท่อนพันธุ์ตามระยะปลูกที่กำหนด แล้วกลบดินหนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร

เผยการปลูกอ้อยคั้นน้ำ ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด หลังน้ำท่วมขัง สู่การสร้างรายได้

การดูแลรักษา

1) การให้น้ำ จำเป็นต้องมีการให้น้ำตามความต้องการของอ้อย โดยแบ่งการให้น้ำเป็น 3 ระยะคือ (1) ระยะอ้อยเริ่มงอกจนเริ่มมีใบจริง (อายุ 4-6 สัปดาห์หลังปลูก) (2) ระยะที่รากรุ่นสองงอกจนอ้อยเริ่มแตกกอ (อายุ 2-4 เดือนหลังปลูก) ซึ่งเป็นระยะที่อ้อยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงควรมีการให้น้ำมากขึ้นทุก 1-2 สัปดาห์ และ (3) ระยะอ้อยเริ่มแก่ ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน ควรหยุดการให้น้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำตาลใน ลำต้นอ้อย

2) การใส่ปุ๋ย โดยทั่วไปจะแบ่งการใส่ปุ๋ยเป็น 2 ครั้งคือ ครั้งแรกเมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน ใส่ปุ๋ย  16-8-8 อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ และครั้งที่ 2 เมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน ใส่ปุ๋ย 16-8-8  อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่

3) การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยหลายๆวิธีปฏิบัติร่วมกัน ดังนี้
(1) การเตรียมดินก่อนปลูก เริ่มจากการไถและเตรียมแปลงโดยการตากดิน 7-15 วัน ช่วยให้เศษรากเหง้าวัชพืชถูกแดดเผาทำลาย (2) การไถพรวน ทำให้รากวัชพืชหลุดจากดินและแห้งตาย (3) การดายวัชพืชด้วยแรงงานคน เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกน้อยๆ เงินทุนน้อย (4) การคลุมดินด้วยใบและยอดอ้อยภายหลังการเก็บเกี่ยว (5) การใช้สารกำจัดวัชพืช ตัวอย่างสารกำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในไร่อ้อยคั้นน้ำ เช่น ไดยูรอน เมทริบูซีน อ็อกซี่ฟลูออร์เฟน อะทราซีน และไกลโฟเสท

การเก็บเกี่ยว อายุที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวอ้อยคั้นน้ำ คือ ช่วงอายุ 8-10 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำอ้อย มีความหวานพอเหมาะต่อการบริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาด

เผยการปลูกอ้อยคั้นน้ำ ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด หลังน้ำท่วมขัง สู่การสร้างรายได้

ผลตอบแทน

จากการรวบรวมข้อมูลผลตอบแทนของเกษตรกรที่ได้เข้ามาศึกษาดูงาน ขอคำแนะนำ และขอรับ  ท่อนพันธุ์อ้อยจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เพื่อนำไปปลูกทั้งที่จำหน่ายแบบอ้อยลำและแปรรูปเป็นน้ำอ้อยสด พบว่า การปลูกอ้อยพันธุ์อ้อยคั้นน้ำแต่ละพันธุ์มีต้นทุนการปลูกที่ใกล้เคียงกันโดยประมาณ 9,400 บาทต่อไร่ต้นทุนการผลิตน้ำอ้อยโดยประมาณ 13,000 บาท แต่ผลตอบแทนที่ได้รับมีความความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ได้รับจากแต่ละสายพันธุ์ ดังนี้

ผลตอบแทนจากการปลูกอ้อยพันธุ์สิงคโปร์ พบว่า ได้ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 1,900 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าจำหน่ายแบบอ้อยลำ กิโลกรัมละ 7 บาท มีรายได้รวม 13,300 บาทต่อไร่ ได้กำไรสุทธิ 3,900 บาทต่อไร่  หากแปรรูปเป็นน้ำอ้อยสดได้ผลผลิตน้ำอ้อยสด 2,100-2,800 ลิตรต่อไร่ จำหน่ายในราคาลิตรละ 30 บาท มีรายได้จากการขายน้ำอ้อย 63,000-84,000 บาทต่อไร่ ได้กำไรสุทธิ 40,600-61,600 บาท

ผลตอบแทนจากการปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 72 พบว่าได้ผลผลิตในอัตราที่ใกล้เคียงกันโดยเฉลี่ยประมาณ 3,300 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าจำหน่ายแบบอ้อยลำ กิโลกรัมละ 7 บาท มีรายได้รวม 23,100 บาทต่อไร่ ได้กำไรสุทธิ 13,700 บาทต่อไร่ หากแปรรูปเป็นน้ำอ้อยสดได้ผลผลิตน้ำอ้อยสด 4,600-5,200 ลิตรต่อไร่ จำหน่ายในราคาลิตรละ 30 บาท มีรายได้จากการขายน้ำอ้อย 138,000-156,000 บาทต่อไร่ ได้กำไรสุทธิ 115,600-133,600 บาท จากผลตอบแทนที่ได้รับส่งผลให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายอ้อยคั้นน้ำ มีอาชีพ ลดอัตราการว่างงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เผยการปลูกอ้อยคั้นน้ำ ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด หลังน้ำท่วมขัง สู่การสร้างรายได้

สำหรับเกษตรกรที่มีสภาพพื้นที่เป็นดินเปรี้ยวจัดและสนใจปลูกอ้อยคั้นน้ำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ งานวิชาการและประสานงาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ 

สนับสนุนโดย : ปุ๋ยทิพย์

ปุ๋ยทิพย์

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เปิดดวง 3 ราศีดวงดีฟ้าประทาน เงินทองไหลมาเทมา รักหวานฉ่ำ!

เปิดดวง 3 ราศีดวงดีฟ้าประทาน เงินทองไหลมาเทมา รักหวานฉ่ำ!

อย่ามองข้าม "คะน้า" ราชินีผักใบเขียว กินง่าย ได้สุขภาพเต็มๆ

อย่ามองข้าม "คะน้า" ราชินีผักใบเขียว กินง่าย ได้สุขภาพเต็มๆ

"ณิชา" สะดุ้ง "เจมมี่เจมส์" อวยพรวันเกิดสุดแซ่บ ขอให้คน...ออกไปจากชีวิต

"ณิชา" สะดุ้ง "เจมมี่เจมส์" อวยพรวันเกิดสุดแซ่บ ขอให้คน...ออกไปจากชีวิต

เปิดสีเสื้อมงคลวันจันทร์ 21 เมษายน 2568 สายมูห้ามพลาดมีสีเดียว

เปิดสีเสื้อมงคลวันจันทร์ 21 เมษายน 2568 สายมูห้ามพลาดมีสีเดียว

เงินเดือนข้าราชการ 2568 เริ่มปรับฐานใหม่วันไหน ขึ้นกี่บาท

เงินเดือนข้าราชการ 2568 เริ่มปรับฐานใหม่วันไหน ขึ้นกี่บาท