ปลูกมังคุดให้ถูกวิธี ลดต้นทุนการผลิต-เพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกรไทย

06 ธันวาคม 2565

ปลูกมังคุดอย่างไรให้ได้ผลผลิตงอกงาม เทคนิคการใส่ปุ๋ย พร้อมการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกรไทย


    วันนี้ทีมข่าวไทยนิวส์ จะมากล่าวถึงการปลูกมังคุดอย่างไรให้ได้ผลผลิตงอกงาม พร้อมการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกรไทย โดยการปลูกต้นมังคุดปลูกใหม่ในระยะแรก จะขาดน้ำไม่ได้ ต้องคอยดูแลรดน้ำ ให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ สำหรับมังคุดต้นโตและให้ผลผลิตแล้ว ยังจำเป็นต้องดูแลเรื่องการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ


1. พันธุ์     
คำแนะนำกรมวิชาการเกษตรเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีระบบรากสมบูรณ์ไม่ขดงอ อายุไม่น้อยกว่า 2 ปี มีความสูงไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร        

                          
วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป

นิยมซื้อต้นพันธุ์จากเรือนเพาะชำทั่วไป

ปลูกมังคุดให้ถูกวิธี ลดต้นทุนการผลิต-เพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกรไทย
การลดต้นทุน

ต้องเลือกต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ไม่แคระแกนหรือเป็นโรค
ใช้ต้นพันธุ์ที่ดีของตนเองขยายพันธุ์


2. พื้นที่ปลูกที่เหมาะสม


คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร

สภาพพื้นที่ ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 1 เมตร มีความเป็นกรดด่าง 5.5-6.5  พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 0-650 เมตร ความลาดเอียง 1-3%  


สภาพภูมิอากาศ  อุณหภูมิที่เหมาะสมระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร/ปี การกระจายตัวของฝนดี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือน/ปี และความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%


แหล่งน้ำ ควรมีปริมาณเพียงพอตลอดปี ไม่มีสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน มีความเป็นกรด-ด่างของน้ำระหว่าง 6.0-7.5

วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป

ปลูกตามพื้นที่ที่มีอยู่โดยไม่พิจารณาถึงต้นทุนปัจจัยที่เพิ่มขึ้น
การลดต้นทุน

ควรปลูกมังคุดในสภาพพื้นที่และอากาศที่เหมาะสมจะช่วยลดต้นทุนด้านปัจจัยการผลิต


3. การเตรียมพื้นที่ปลูก
คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร

พื้นที่ดอน ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบ หากมีปัญหาน้ำท่วมขังให้ขุดร่องระบายน้ำ 
พื้นที่ลุ่ม ควรยกโคกปลูก  หากมีน้ำท่วมขังมากและนาน ควรยกร่องสวนให้มีขนาดสันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร มีระบบระบายน้ำเข้า-ออกเป็นอย่างดี ยง 1-3%
วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป

ปลูกตามพื้นที่ที่มีอยู่


การลดต้นทุน

การเตรียมพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม สามารถช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขังและโรคที่จะตามมา  

ปลูกมังคุดให้ถูกวิธี ลดต้นทุนการผลิต-เพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกรไทย


4. การปลูก


คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร

การวางผังปลูก มี 2 ระบบ คือ ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะระหว่างแถวและต้น 8×8 เมตร หรือ 10×10 และระบบแถวกว้างต้นชิด ระยะปลูกระหว่างแถว 8×3 เมตร หรือ 10×5 เมตร 


วิธีการปลูก มี 2 แบบ คือ การปลูกแบบเตรียมหลุมปลูก เหมาะกับพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง  และการปลูกแบบนั่นแท่นหรือยกโคก เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก ช่วยให้ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น 


วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป

นิยมปลูกแบบสีเหลี่ยมจัตุรัส


การลดต้นทุน

ใช้ระยะปลูกและวิธีปลูกที่เหมาะสม สะดวกต่อการจัดการแปลงและการดูแลรักษา ทำให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ


5. การใส่ปุ๋ย
คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร

เก็บตัวอย่างดินและตัวอย่างพืชส่งวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารและใส่ปุ๋ยให้สอดคล้องกับค่าวิเคราะห์ดินและใบ หรือ 


การใส่ปุ๋ยหลังการเก็บเกี่ยว:  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ต้น ร่วมกับใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา (กิโลกรัม/ต้น) 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม


การใส่ปุ๋ยในช่วงพัฒนาของผล: ใส่ปุ๋ยสัดส่วน 3:1:4 เช่นปุ๋ยสูตร 15-5-20 อัตรา(กิโลกรัม/ต้น) 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม  หรือตามค่าวิเคราะห์ดินหลังการติดผลทันที ร่วมกับพ่นปุ๋ยทางใบสัดส่วน 4:1:6 อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร   


วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป

ไม่มีการวิเคราะห์ธาตุอาหารของดินและใบพืช
ใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น
ใส่ปุ๋ยสูตรต้นละ 2-3 กิโลกรัม โดยซื้อสำเร็จจากร้านค้า
ใส่ปุ๋ยคอก
การลดต้นทุน

ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืช และใส่ 3 ครั้ง หลังเก็บเกี่ยว ก่อนออกดอก และเมื่อติดผลผสมปุ๋ยใช้เองลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ 30-50ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพให้ปุ๋ยในระบบน้ำ ลดต้นทุนการใช้แรงงาน 15-20% 

ปลูกมังคุดให้ถูกวิธี ลดต้นทุนการผลิต-เพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกรไทย


6. การให้น้ำ 
คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร

ให้น้ำเพียงพอกับความต้องการของมังคุดในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต
ระยะติดผล อายุผลประมาณ 5 สัปดาห์ ให้น้ำทุก 3 วัน  อัตรา 80% ของการให้น้ำปกติ
ระยะอายุผล 5 สัปดาห์ถึงก่อน 10 สัปดาห์ ให้น้ำอัตรา 90% ของการให้น้ำปกติ
ระยะอายุผลประมาณ 10-12 สัปดาห์ถึงเก็บเกี่ยว ให้น้ำอัตรา 80% ของการให้น้ำปกติ 
วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป

วางระบบน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพให้น้ำไม่สอดคล้องกับความต้องการของพืช การลดต้นทุนวางระบบน้ำและให้ปุ๋ยทางระบบน้ำที่มีประสิทธิภาพจะลดการใช้แรงงานและลดต้นทุนการผลิตให้น้ำตามความต้องการของพืช


7. การดูแลรักษา
คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร

การพรางแสง เพื่อให้ร่มเงาในช่วงแรกของการเจริญเติบโต อาจใช้วัสดุธรรมชาติช่วยพรางแสง หรืออาจปลูกต้นไม้โตเร็วระหว่างแถวมังคุด เช่น กล้วย ทองหลาง                                   
การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม
มังคุดต้นเล็ก  ตัดแต่งเฉพาะกิ่งด้านล่างให้สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร และกิ่งที่ซ้อนทับกันจนแน่นทึบออก

มังคุดที่ให้ผลผลิตแล้ว ตัดแต่งกิ่งที่อยู่ด้านข้างของทรงพุ่มที่ประสานกันออก ให้มีช่องว่างระหว่างชายพุ่มโดยรอบกับต้นข้างเคียงประมาณ 50-70 เซนติเมตร  ตัดยอดที่สูงเกินต้องการออก ตัดกิ่งประธานหรือกิ่งรองออกด้านละ 1-5 กิ่ง ให้เลี้ยงกิ่งแขนงที่อยู่ในทรงพุ่มไว้เพื่อได้ผลผลิตเพิ่ม                      

วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป

ไม่มีการควบคุมทรงพุ่มทำให้ต้นสูงใหญ่
การลดต้นทุน

การวางระบบปลูกและการควบคุมทรงพุ่มให้เหมาะสมจะช่วยลดแรงงานในการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยว ของการให้น้ำปกติ                         

สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ

ปลูกมังคุดให้ถูกวิธี ลดต้นทุนการผลิต-เพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกรไทย