การปลูกข้าวมีหลากหลายรูปแบบตามภูมิศาสตร์ของพื้นที่นั้นๆ และอีกหนึ่งภูมิปัญญาที่อยู่ชาวไทยมาอย่างช้านานคือการปลูกข้าวบนพื้นที่ แต่การปลูกข้าวในลักษณะนี้มีข้อจำกัดมากมาย เช่นการแปรปวนสภาพอากาศ พื้นที่ที่ใช้เพาะปลูก และอีกหนึ่งปัจจัยของการเจริญเติบโตของข้าวคือ น้ำที่ใช้เพาะปลูก
โดยการชุมชนในพื้นที่สูงมีภูมิปัญญาการปลูกข้าวที่หลากหลาย แต่เนื่องจากในแต่ละชุมชนมีข้าวมากกว่า 1 สายพันธุ์เกษตกรจึงนิยมปลูกข้าวอย่างน้อย 2 สายพันธุ์ต่อฤดูกาล เพื่อลดความเสี่ยงหากเกิดการแปลปรวนของสภาพอากาศ จึงมีการปลูกข้าวหลายสายพันธุ์ในไร่เดียว แต่การปลูกข้าวหลายสายพันธุ์เป็นเวลานานโดยไม่มีการคัดเลือกสายพันธุ์ และวิธีเก็บพันธุ์ข้าวไม่ถูกต้องทำให้เกิดการปะปนของสายพันธุ์ข้าว
โดยจากการสำรวจการปลูกข้าวหลายสายพันธุ์ในหนึ่งไร่ และไม่มีการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวพบว่าลักษณะที่แสดงออกนั้นแตกต่างจากข้าวพันธุ์ปลูก เช่น ลักษณะแตกต่างของทรงกอ สีกาบใบ วันโผล่รวง เมล็ดข้าวในแปลงสุก-แก่ไม่พร้อมกันทำให้เมล็ดข้าวร่วงหล่นก่อนระยะเก็บเกี่ยวหรือติดเขียว เมื่อเก็บเกี่ยวจึงได้ผลผลิตต่อพื้นที่ต่ำ ส่งผลให้อายุการเก็บรักษาข้าวสั้นลง และคุณภาพในการนำมาบริโภคลดลงไปด้วย
ข้อดีการปลูกข้าวน้ำน้อย
⦁ เพิ่มช่องว่างอากาศ ในดิน ทำให้จุลินทรีย์พวก aerobic ทำงานได้ดี
⦁ ช่วยลดปัญหานาหล่ม หน้าดินจับตัวแน่น สามารถเดินตรวจแปลงกำจัดต้นข้าวพันธุ์ปนได้สะดวก
⦁ ลดการเกิดก๊าชเรือนกระจก เช่น ก๊าชมีเทน ก๊าชไนตรัสออกไซด์ถึงร้อยละ75 และร้อยละ 14 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการปลูกข้าวแบบนาน้ำขัง
⦁ ลดการระบาดของโรคที่เกิดจากน้ำเป็นพาหะ เช่น เชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโรคขอบใบแห้ง (Bacterial Leaf Blight) และลดแมลงที่อาศัยบริเวณกอข้าวกับผิวน้ำ เช่น เพลี้ย
วิธีการปลูกข้าวต้นเดียว และปลูกในพื้นที่น้ำน้อย
การปลูกข้าวต้นเดียว เป็นหนึ่งในกลวิธีที่นำมาประยุกต์ ใช้สำหรับการเพราะปลูกให้บริสิทธิ์ ตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ และช่วยลดการปะปนของสายพันธุ์ข้าว เนื่องจากข้าวต้นนั้นจะเจริญเติบโตมากจาก 1 เมล็ดข้าว โดยเกษตกรสามารถนำวิธีนี้ไปปลูกได้ง่ายๆ และไม่ขัดแย้งต่อวิธีชีวิตที่เคยนำเนินมา โดยวิธีนี้เกษตกรสามารถควาบคุมสายพันธุ์ข้าวเพื่อนำมาเพราะปลูกได้เอง
โดยการปลูกข้าวน้ำน้ำก็ไม่แตกต่างจากวิธีการปลูกข้าวแบบปกติมากนัก เพียงแต่มีการปักดำข้าว 1 ต้นต่อหลุม และมีระยะในการปลัก 30 x 30 เซนติเมตร ชึ่งจะทำให้ลักษณะข้าวมีลักษณะที่เหมือนกันหมด หากข้าวต้นไหนมีลักษณะที่แตกต่างจากต้นอื่น แสดงว่ามีการปะปนทางสายพันธุ์ เกษตรกรสามารถแยกพันธุ์ข้าวออกได้ง่ายๆ เมื่อเทียบกับการปักดำกล้า ที่กำจัดพันธุ์ปะปนต้องแยกออกทีละรวง
การปลูกข้าวน้ำน้อย การปลูกข้าวน้ำน้อยคือการปลูกข้าวที่ควบคุมน้ำในแปลงนาแบบแห้งสลับกับน้ำขัง ดดยในระยะข้าวแตกกอลดการขังของน้ำในแปลงนาไว้ตลอด ชึ่งวิธีนี้จะเป็นการใช้ทรพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ละสามารถลดการใช้น้ำในการปลูกข้าวได้ 35-56% เมื่อเทียบกับนาน้ำขัง
หลักการการปลูกข้าวน้ำน้อย
⦁ ปล่อยน้ำในนาเป็นช่วง เพื่อเร่งการแตกหน่อกอข้างต้นข้าว
⦁ พยายามเพิ่มพื้นที่ให้ออกซิเจนในดิน เพื่อให้รากของต้นข้าวได้หายใจ และทำให้รากสมบูรณ์แข็งแรง
⦁ พยายามกำจัดศัตรูพืช และลดการระบาดของโรคที่มีแมลง ( เช่น โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ) เป็นตัวนำพา
⦁ ลดการเกิดก๊าซ มีเทน ไนตรัสออกไซต์
ขั้นตอนการปลูกควบคุมนำในการปลูกข้าวน้ำน้อย
⦁ โดยหลักจากการปลักกล้าลงในการปลูกแบบน้ำขังแปลง 10 – 15 วันให้ระดับน้ำสูงประมาณ 5 เซนติเมตรเหนือพื้นดิน เพื่อทำให้ข้าวตั้งตัวได้เร็ว
⦁ เมื่อข้าวเริ่มแตกกอ หลักการปักดำให้ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง และทำการสลับน้ำเป็นช่วงๆ เพื่อเร่งการแตกกอของต้นข้าว
⦁ เมื่อข้าวเข้าสู่ระยะตั้งท้อง มีรวงโผล่ ให้ขังน้ำระยะ 5 เซนติเมตรเหนือพื้นดินเพื่อเพิ่มความชื้นให้ดิน และแปลงนาสำหรับการผสมเกสรของดอกข้าว
⦁ ขั้นตอนสุดท้ายก่อนการเก็บเกี่ยว 7 – 10 วันให้ปล่อยน้ำออกจากแปลงนาให้แห้งเพื่อเร่งการสุกให้แก่เมล็ดข้าว
สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ