เผยขั้นตอนการทำ “นาหว่านข้าวแห้ง” ข้อดีและข้อควรระวัง

02 กุมภาพันธ์ 2566

วันนี้ทีมงานสวน...กระแส เกษตรยั่งยืนขอนำเสนอเรื่องราว การทำ “นาหว่านข้าวแห้ง” ซึ่งมีทั้งข้อดี และข้อควรระวัง

นาหว่านข้าวแห้ง คือการท่านาโดยการหว่านเมล็ดข้าวแห้งลงบนผืนนาที่เตรียมดินไว้แล้ว  ซึ่งส่วนมากเป็นดินแห้ง นิยมทำในเขตน้ำฝน

 

ข้อดีของการทำนาหว่านข้าวแห้ง คือ

  • ลดความเสี่ยงจากฝนทิ้งช่วงต้นฤดู และฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
  • ประหยัดแรงงาน เวลา และลดขั้นตอนในการเตรียมแปลงกล้า เพาะกล้า ถอนกล้าและปักด่า
  • แก้ปัญหาการทิ้งนาร้าง เพราะไม่มีกล้าปักดำ หรือกล้าแก่เกินไป

เผยขั้นตอนการทำ “นาหว่านข้าวแห้ง”  ข้อดีและข้อควรระวัง

ขั้นตอนการทำนาหว่านข้าวแห้ง

1. ไถดะ หลังฝนแรกในราวปลายเดือนเมษายน ถึง มิถุนายน เป็นการไถพลิกดินครั้งแรก เพื่อกลบตอซังข้าวและวัชพืชต่างๆ

 

2. ไถแปร หลังจากไถดะประมาณ 2-4 สัปดาห์ให้ไถตามแนวขวางของการไถดะ เพื่อย่อยดินให้เหมาะต่อการงอกของเมล็ดข้าวออกจากแปลงนาให้สะอาดเท่าที่จะทำได้ ควรเก็บหญ้าเพื่อลดปัญหาเรื่องหญ้าที่จะขึ้นมาแข่งกับต้นข้าว

เผยขั้นตอนการทำ “นาหว่านข้าวแห้ง”  ข้อดีและข้อควรระวัง

3. หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแห้งที่เตรียมไว้แล้ว อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ให้กระจายสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงนา

 

4. คราดกลบเมล็ดข้าวที่หว่านเพื่อป้องกันนก หนู ทำลายและเพื่อให้เมล็ดพันธุ์สัมผัสกับความชื่นมากที่สุด และเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงนาด้วย

 

5. ซ่อมแซมคันนา หลังจากมีฝนดกเพื่อกักเก็บน้ำได้ดี

 

6. การดูแลรักษาและการจัดการด้านอื่น ๆ ทำเช่นเดียวกับการทำนาน้ำฝนโดยทั่วไป

เผยขั้นตอนการทำ “นาหว่านข้าวแห้ง”  ข้อดีและข้อควรระวัง

ข้อควรระวัง

  • ต้องเตรียมดินให้ดีเพื่อลดปัญหาวัชพืช และทำให้เมล็ดข้าวงอกสม่ำเสมอ
  • ปรับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเป็นหย่อมๆ ทำให้เมล็ดข้าวเน่า

 

ข้อมูลจาก : สํานักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ

เผยขั้นตอนการทำ “นาหว่านข้าวแห้ง”  ข้อดีและข้อควรระวัง