ข้อดีของการ"ปลูกอ้อยข้ามแล้ง"หรือปลายฝน ได้ผลผลิตมีคุณภาพ-ลดต้นทุน

02 มีนาคม 2566

ฤดูกาลปลูกอ้อยในประเทศไทยตามสภาพภูมิประเทศ แนะข้อดีของการปลูกอ้อยข้ามแล้งหรือปลายฝน ระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม

   การปลูกอ้อยที่ดีได้ผลผลิตมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าการลงทุุน ควรปลูกอ้อยในฤดูกาลไหน?? ประเทศไทยมีฤดูกาลปลูกอ้อยแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและลักษณะการตกของฝน  สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่อ้อยต้องการ  พร้อมเทคนิคการปลูกอ้อยข้ามแล้ง-อ้อยต้นฝน- อ้อยชลประทานหรืออ้อยน้ำราด และการลดต้นทุนการผลิตอ้อย


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่อ้อยต้องการ

อ้อยเป็นพืชเขตร้อน ความยาวของช่วงวันที่เหมาะสม ประมาณ 11.5-12.5 ชั่วโมง และอุณหภูมิเฉลี่ยที่เหมาะสม ตลอดฤดูการปลูกประมาณ 26-35 องศาเซลเซียส สามารถปลูกในดินทรายจนถึงดินเหนียวจัด

ข้อดีของการ\"ปลูกอ้อยข้ามแล้ง\"หรือปลายฝน ได้ผลผลิตมีคุณภาพ-ลดต้นทุน

แต่ดินที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อยคือ ดินร่วนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีค่า pH ตั้งแต่ 5.5-7 มีความลึกของหน้าดินพอสมควรและระบายน้ำหรืออากาศได้ดีจนถึงปานกลาง

ฤดูกาลปลูกอ้อย

ในประเทศไทยมีฤดูกาลปลูกอ้อยแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและลักษณะการตกของฝน และมีการเรียกชื่อแตกต่างกันดังนี้


1. อ้อยข้ามแล้งหรือปลายฝน ปลูกระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม โดยอาศัยความชื้นที่เก็บไว้ในดินตลอดช่วงฤดูฝนเพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ในช่วงที่ไม่มีฝนตกจนกระทั่งต้นปีถัดไปจะมีฝนตกบ้าง ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทรายหรือดินทราย

2. อ้อยชลประทาน อ้อยน้ำราด หรืออ้อยน้ำเสริม ปลูกระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม วิธีการปลูกอ้อยน้ำราดเป็นการ ปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นจากการให้น้ำเสริมเพื่อช่วยให้อ้อยสามารถงอกและเจริญเติบโตได้จนเข้าสู่ฤดูฝนปกติ สภาพดินที่เหมาะสมคือดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวมักอยู่ในเขตชลประทานหรือมีแหล่งน้ำพอสมควร


3. อ้อยต้นฝน ปลูกระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นจากฝนช่วงแรกที่ตกเพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตได้จนเข้าสู่ฤดูฝนปกติ ดินที่เหมาะสมคือดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว โดยต้องมีการเตรียมดินและ ชักร่องรอฝน ซึ่งปริมาณนน้ำฝนที่เพียงพอต่อการงอกของอ้อย สังเกตได้จากร่องอ้อยจะมีน้ำขัง


ข้อสังเกต
 - การปลูกอ้อยข้ามแล้งจะได้ผลผลิตและคุณภาพอ้อยสูงกว่าการปลูกอ้อยต้นฝน
 เนื่องจากมีระยะเวลาการเจริญเติบโตของอ้อยที่ยาวนานกว่าและระยะการใช้น้ำของอ้อยที่เหมาะสมกว่าด้วย
 - ลดต้นทุนการผลิตอ้อย การปลูกอ้อยข้ามแล้งจะมีต้นทุนการผลิตอ้อยต่ำกว่าการปลูกอ้อยในฤดูฝน

สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ

ข้อดีของการ\"ปลูกอ้อยข้ามแล้ง\"หรือปลายฝน ได้ผลผลิตมีคุณภาพ-ลดต้นทุน