สวยและมีประโยชน์ ต้นไม้บังลม ลดแรงพายุ

24 พฤษภาคม 2566

พรรณไม้บังลม ลดแรงลมพายุ ในช่วงฤดูฝน ลักษณะโดดเด่นตกแต่งสวนได้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว แถมช่วยปกป้องบ้าน อาคาร ให้ปลอดภัย

     ช่วงนี้ประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการแล้วตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาที่ประกาศ ว่า ฤดูฝนของประเทศไทย ปี 2566 เริ่ม 22 พ.ค.เป็นต้นไป  หลายจังหวัดเริ่มมีข่าวคราวในเรื่องของลมพายุ วันนี้ ไทยนิวส์ จึงมีพรรณไม้ปลูกบังลมมาฝากเผื่อใครกำลังมีไอเดียอยากปรับเปลี่ยนพื้นที่ด้วยต้นไม้จะได้เป็นทางเลือกที่ใช้เพิ่มพื้นที่สีเขียว แถมยังมีประโยชน์ช่วยบังลม ลดแรงลมพายุ 

     สำหรับการปลูกต้นไม้เป็นแนวขวางทิศทางของลม  เพื่อชะลอความเร็วของลม (windbreak) ลดความรุนแรง ให้กระแสลมเบาบางลง  โดยในต่างประเทศนิยมปลูกต้นไม้กันลมในพื้นที่การเกษตร ซึ่งมีทั้งปลูกเป็นกลุ่ม หรือปลูกเป็นแถว เพื่อป้องกันความเสียหายกับผลผลิตทางการเกษตรของตนเอง

     ลักษณะไม้บังลมที่ดีมักจะมีลำต้นชูแข็งแรง ระบบรากดี ทรงพุ่มแคบ แต่มีใบแน่น และมักจะแตกกิ่งก้านจากพื้นดินขึ้นไป นอกจากลักษณะของต้นไม้แล้ว ความสูง ระยะทางที่ห่างออกไปจากแนวปลูกก็มีผลต่อประสิทธิภาพของการป้องกันลม อีกทั้งแถวของการปลูกควรใช้ระยะปลูกที่เหมาะสม ให้ลมสามารถพัดผ่านได้บางส่วน หากพื้นที่ที่มีลมแรงมากๆ บ่อยๆ อย่างในต่างประเทศที่มักจะนิยมปลูกเพิ่มเป็นหลายแถว ซึ่งสามารถบรรเทาแรงลมลงได้มากในประเทศไทย

ต้นสน

สนประดิพัทธ์  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Casuarina junghuniana Miq. วงศ์ :  Casuarinceae

1. สนประดิพัทธ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Casuarina junghuniana Miq. วงศ์ :  Casuarinceae

ประเภทไม้ : ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านจำนวนมากและมีขนาดเล็ก เรือนยอดรูปพีระมิด แคบกว่าสนทะเล ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่งเป็นข้อ ข้อละ 8-10 ใบ ใบรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ยอดอ่อนหรือปลายกิ่งอ่อนมีสีแดง ดอกขนาดเล็ก แบบแยกเพศและแยกอยู่คนละต้น ชอบดินปนทรายหรือดินเค็ม น้ำปานกลาง ทนน้ำท่วมขัง 

การเพาะปลูก : เหมาะปลูกเป็นแนวกันลม ริมรั้ว ริมถนนหรือทางเดิน สามารถตัดแต่งเป็นรูปทรงต่างๆ ได้ ใบร่วงง่าย หรือปลูกในสวนหรือพื้นที่ที่ไม่ต้องการดูแลรักษามาก ชื่อ “สนประดิพัทธ์” ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาประดิพัทธ์ภูบาลซึ่งเป็นผู้นำสนตันนี้มาจากสิงคโปร์

สนฉัตร  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Araucaria heterophylla (Salisb.) Franco วงศ์ :Araucariaceae
2. สนฉัตร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Araucaria heterophylla (Salisb.) Franco วงศ์ :Araucariaceae

ประเภทไม้ : เมื่อต้นยังเล็กกิ่งย่อยจะแผ่ออกเป็น แผงรูปคล้ายสามเหลี่ยมเป็นชั้นๆ ใบสีเขียวอ่อน เมื่อโตเต็มที่จะมีทรงต้นรูปกรวย ยอดเรียวแหลม ใบแก่สีเขียวเข้มเป็นมัน ต้นอายุน้อยใบจะมีสีเขียวอ่อนแลดูละเอียดนุ่มนวล 

การเพาะปลูก : นิยมปลูก ในกระถาง ปลูกกลางแจ้งหรือรำ ไรก็ได้ แต่เมื่อโตแล้วต้องการแสงแดดเต็มวัน ปลูกเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตช้าถึงปานกลาง

สนมังกร  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Juniperusjunghuniana Mig.วงศ์ : CUPRESSACEAE

3. สนมังกร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Juniperusjunghuniana Mig.วงศ์ : CUPRESSACEAE
ประเภทไม้ : มีลักษณะลำต้นตั้งตรง พุ่มทรงกรวย ใบ เล็กละเอียดสีเขียวเข้ม เติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อนชื้น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10 – 12 เมตร 

การเพาะปลูก:นิยมปลูก ลงดินประดับอาคารหรือบ้านพักอาศัยเรียงกันหลายๆ ต้นตามแนวทางเดิน

สนสามใบ ชื่อวิทยาศาสตร์ :Pinuskesiya Royle ex Gordon.วงศ์ : PINACEAE
4. สนสามใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pinuskesiya Royle ex Gordon.วงศ์ : PINACEAE

ประเภทไม้ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง ประมาณ 10 – 30 เมตร ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดแตก เป็นลักษณะพุ่มทรงกลม มีสีเขียวอ่อน เส้นใบอ่อนนุ่ม เรียวยาว ออกเป็นช่อกระจุกละ 3 ใบ

การเพาะปลูก : ปลูกประดับสวน ให้ความรู้สึกนุ่มนวลด้วยผิวสัมผัสใบที่ฟูสวยงาม

 

ต้นไทรย้อย
ต้นไทรย้อย

ไทรย้อยใบแหลม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficusbenjamina Linn. วงศ์ : MORACEAE 

ประเภทไม้ :    ลักษณะทั่วไปต้นไทรย้อยใบแหลมเป็นไม้ยืนต้นสูง 5–10 เมตร มีรากอากาศ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ดอกขนาดเล็ก มีฐานรองดอก ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ผลเป็นทรงกลม เมื่อสุกสีเหลือง 

การเพาะปลูก : ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง

 

ต้นกระถิน

กระถินณรงค์  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acasiaauriculiformis A. Cunn.exBenth. วงศ์ : FABACEAE

1. กระถินณรงค์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acasiaauriculiformis A. Cunn.exBenth. วงศ์ : FABACEAE

ประเภทไม้ : ต้นขนาดเล็กถึงกลาง ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเรือนยอดทรงกลมทึบ กิ่งห้อยย้อย ลำต้นเปลือกสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาวไม่เป็นระเบียบ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เมื่อยังเป็นต้นกล้าอยู่และร่วงไป พอโตขึ้นเหลือเพียงก้านใบที่เปลี่ยนรูปไปคล้ายแผ่นใบ เรียงสลับถี่และห่างเป็นระยะ ใบรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบเรียวแหลม โค้งเป็นรูปเคียว ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงเป็นคู่ๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 4-10 ซม. มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก โคนกลีบเลี้ยงติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก โค้งกลับลง เกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก ออกดอกตลอดปี

กระถินเทพา  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia mangium willd. วงศ์ : LEGUMINOSAE-MINOSIODEAE

2. กระถินเทพา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia mangium willd. วงศ์ : LEGUMINOSAE-MINOSIODEAE  

ประเภทไม้ : ไม้ยืนต้น ลำต้นสูงสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเข้ม ผิวลำต้นแตกเป็นร่องลึก ใบประกอบแบบขนนก รูปใบหอก ปลายใบมน โคนใบสอบเรียบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบคล้ายเยื่อ ใบเรียงแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก  ด้านบนแผ่นใบเกลี้ยง ใบด้านบนสีเขียว ท้องใบสีเขียวหม่น ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียว กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ ผลแห้งแก่แตก ผลแตกตามรอยประสาน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีน้ำตาล ผลแก่สีน้ำตาลเข้ม

ไผ่เลี้ยง

ไผ่

ไผ่เลี้ยง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa multiplex (Lour.) Raeusch. ex Schult. วงศ์ : Poaceaeหรือ Gramineae

ประเภทไม้ : ลำต้นลำกลมและเกลี้ยง สีเขียวเป็นมันและมีขนสีขาวนวลอยู่ตามข้อ ใบแคบเล็ก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบแตกออกบริเวณกลางลำ ทำให้ดูเป็นพุ่มอยู่ส่วนยอดของต้น มีใบดกมาก  การใช้งานและอื่นๆ : ระยะปลูก 60 เซนติเมตร 
การเพาะปลูก:ปลูกตัดแต่งคู่กับรั้วไม้ไผ่ เสริมบรรยากาศแบบธรรมชาติได้ดี เป็นไผ่ที่ไม่มีหนาม จึงเหมาะกับการจัดสวน


ขอบคุณภาพ-ข้อมูล : อุทยานหลวงราชพฤกษ์