การปลูกเเละการดูเเลพืชผักในฤดูฝน พืชชนิดไหนไม่ควรปลูก
”
หลายคนมักเข้าใจว่าการปลูกผักในหน้าฝนนั้นดี เนื่องจากเป็นฤดูมีปริมาณน้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำ
ซึ่งในช่วงฤดูฝนอาจจะมีปริมาณน้ำหรือความชื้นที่มากเกินความจำเป็น อาจส่งผลให้เกิดโรคทางดินและใบ
หลายคนมักเข้าใจว่าการปลูกผักในหน้าฝนนั้นดี เนื่องจากเป็นฤดูมีปริมาณน้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำ ซึ่งในช่วงฤดูฝนอาจจะมีปริมาณน้ำหรือความชื้นที่มากเกินความจำเป็น และการที่มีเมฆครึ้มตลอดเวลาจะทำให้พืชได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคทางดินและใบ อาทิเช่น โรครากเน่า โคนเน่า โรคเน่าคอดิน โรคใบจุดหรือราตากบ โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง โรคราสนิม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พืชหยุดการเจริญเติบโตและตายได้ในที่สุด
ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบได้มากในการการเพาะปลูกในฤดูฝน มีได้ดังนี้
- การสูญเสียธาตุอาหารเนื่องจากหน้าดินถูกน้ำฝนชะล้างและพัดพาหน้าดินออกไป
- ในฤดูฝนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณแสงแดดมีไม่เพียงพอต่อการสังเคราะห์แสงในพืช เป็นเหตุให้ผักหยุดชะงักการเจริญเติบโต
- ปัญหาวัชพืชขึ้นเป็นจำนวนมากเนื่องจากปริมาณน้ำฝนและความชื้นสูง ซึ่งวัชพืชจะไปแย่งอาหารในดินจากพืชผลที่เราเพาะปลูก เป็นเหตุให้ผักเจริญเติบโตช้าลง ในฤดูฝนจึงมีการใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นจำนวนมาก
- ปัญหาโรครากเน่า อันเนื่องมาจากแปลงปลูกถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ซึ่งโรคพืชหลายชนิดเกิดจากเชื้อราเป็นสาเหตุหลักซึ่งสามารถขึ้นได้ง่ายในดินมีความชื้นสูง ดังนั้น โรคพืชจึงมักจะชุกชมในฤดูนี้
- การเกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลา 2 ถึง 3 วันขึ้นไป ทำให้รากพืชเกิดสภาวะการขาดก๊าซออกซิเจน และทำให้รากพืชตายได้ นอกจากก๊าซออกซิเจนแล้ว ยังเกิดปัญหาการขาดแคลนธาตุไนโตรเจนอีกด้วย
- หยดน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนักทำให้ต้นอ่อนและผักใบบางเกิดความเสียหายได้
วิธีการเตรียมดินสำหรับหน้าฝนต้องทำอย่างไร
ใส่แกลบหมักลงในแปลง ซึ่งแกลบจะเป็นตัวช่วยทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย และเมื่อแกลบดินเกิดการย่อยสลายแล้ว จะได้ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และซิลิก้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์พืช
- ดินเหนียวใส่่อัตรา 1-2กิโลกรัม/ตารางเมตร
- ดินร่วนใส่อัตรา 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร
- ปลูกในแคร่หรือภาชนะ เพิ่มแกลบดิบ 1ส่วน
การเพาะปลูกและวิธีการดูแลพืชช่วงหน้าฝน ต้องทำอย่างไร?
- การคลุมแปลงปลูกด้วยฟาง หญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งเพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นและลดการชะล้างหน้าดิน ป้องกันดินอัดแน่นจากแรงน้ำฝนที่ตกมากระแทกดิน และป้องกันไม่ให้รากผักได้รับความเสียหายจากน้ำฝนได้
- การคลุมแปลงปลูกด้วยหลังคา สแลนหรือตาข่ายบาง เพื่อป้องกันไม่ให้พืชผักที่ปลูกได้รับแรงกระทบกระเทือนจากหยดน้ำฝนมากจนเกินไปนัก
- การเลือกพืชที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในฤดูฝน เช่น คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา บวบ ผักกาดหอม ชะอม ผักบุ้ง ตำลึง หน่อไม้ ถั่วฝักยาว มะระ ต้นหอม และผักชี เนื่องจากผักชีมีใบที่บาง ควรคลุมแปลงปลูกด้วยหลังคาหรือสแลนเพื่อป้องกันแรงกระทบกระเทือนจากหยดน้ำฝน
- การยกแปลงปลูกให้สูงขึ้นจะช่วยให้น้ำระบายได้ดี รวมทั้งลดปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณรากพืช
- ในกรณีที่แปลงเกิดน้ำท่วมขัง พืชจะเกิดสภาวะขาดก๊าซออกซิเจนและธาตุอาหาร โดยเฉพาะไนโจรเจน เมื่อน้ำแห้งลง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ปริมาณไนโตรเจนสูง เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยจากแหนแดงหรือสาหร่ายสีเขียว ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยหมักจะช่วยพืชฟื้นฟูได้เร็วขึ้น
- การใช้สมุนไพรรสขม รสฝาด หรือรสเผ็ด เช่น ขมิ้นชันผง ฟ้าทะลายโจรผง พริก หรืออาจจะนำกระเทียมมาตำให้แหลก แล้วนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปฉีดที่แปลงผักหลังฝนตกใหม่ๆ โดยเวลานำไปใช้ให้ผสมน้ำอีกไม่เกิน 3 ส่วนเพื่อเจือจางสักเล็กน้อย วิธีนี้ก็จะช่วยป้องกันโรคต่างๆที่จะมากับฝนได้
พืชชนิดไหนบ้าง ควรและไม่ควรปลูกในหน้าฝน
พืชที่ เหมาะ สมต่อการเจริญเติบโตในฤดูฝน อาทิเช่น
- ตำลึง
- แตงกวา
- ผักบุ้ง
- หน่อไม้
- ต้นหอม
- คะน้า
- มะระ
- กวางตุ้ง
- บวบ
- ถั่วฝักยาว
- ชะอม
พืชที่ ไม่เหมาะ สมต่อการเจริญเติบโตในฤดูฝน อาทิเช่น
- ผักกลุ่มหัวหอม เช่น หอมหัวใหญ่ หอมแดง ร่วมถึงกระเทียม
- ผักกลุ่มกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคเคอรี่ ผักกาดขาว
- ผักกินผล เช่น พริกแดง พริกชี้ฟ้า พริกหวาน มะเขือเทศ ฝักทอง
- ผักจำพวกใบบาง เช่น ผักชี ขึ้นช่าย
- ผักกินหัว เช่น แครอท หัวไชเท้า