รถยนต์สมัยนี้ ส่วนใหญ่จะขับเคลื่อนด้วย เกียร์อัตโนมัติ หรือ เกียร์ ออโต้ กันแทบกันหมดเเล้วทุกรุ่น เพื่อความสะดวกสบายในการขับขี่ สามารถเข้าถึงกันได้ทุกคน แต่ที่เราจะเลือกใช้ตำเเหน่งเกียร์จะมีเเค่ P, R, N และ D นอกจากนั้นที่เหลือ เช่น 2, 1, L, S, M และ B ตามแต่รุ่นรถกันไป แต่ทว่าตำเเหน่งเกียร์เหล่าล้วนแต่มีหน้าที่อย่างไรกันบ้าง และเหมาะกับใช้ในสถานการณ์แบบไหน ไปเช็คกันเลยครับ
เริ่มกันที่ ตำแหน่งเกียร์ L ทำหน้าที่เหมือนกับตำแหน่งเกียร์ 1 เพียงแต่ผู้ผลิตอาจใช้สัญลักษณ์ต่างกันออกไป
ตำแหน่งเกียร์ S
มาให้ ซึ่งหมายถึง "Sport" (บางรุ่นอาจแยกเป็นปุ่มออกมาต่างหาก) มีหน้าที่สั่งการให้สมองเกียร์เปลี่ยนอัตราทดที่รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นกว่าปกติ ช่วยเรียกแรงม้าและแรงบิดได้รวดเร็วทันใจกว่า แลกกับอัตราสิ้นเปลืองที่เพิ่มขึ้น จึงควรใช้เกียร์ S เมื่อจำเป็นเท่านั้น
นอกจากนี้ โหมด S ในรถส่วนใหญ่จะไม่ปรับอัตราทดไปยังตำแหน่งสูงสุดให้ (เช่น หากรถมี 5 เกียร์ ก็จะเปลี่ยนจากตำแหน่ง 1-4 ให้เท่านั้น) จึงไม่เหมาะกับการขับขี่ด้วยความเร็วสูงบนทางยาวๆ เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยไม่จำเป็น
ตำแหน่งเกียร์ M
สำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ๆ จะมีตำแหน่งเกียร์ M ควบคู่กับตำแหน่ง + และ - มาให้ ซึ่งอาจติดตั้งอยู่บริเวณคันเกียร์หรือมีลักษณะเป็นแป้นกดบริเวณพวงมาลัย หรือมีให้ทั้งสองตำแหน่งเลยก็เป็นได้ ซึ่งการทำงานจะคล้ายคลึงกับเกียร์ธรรมดา เช่น หากกดให้อยู่ในตำแหน่ง 3 สมองกลเกียร์ก็จะสั่งตัวรถให้ล็อกอยู่ในเกียร์ 3 เป็นต้น สามารถใช้งานได้ทั้งขณะลงทางลาดชันเพื่อประคองความเร็ว หรือเพิ่มความสนุกในการขับขี่แบบชั่วครั้งชั่วคราวก็ย่อมได้
นอกจากนี้ รถบางยี่ห้ออาจมีการทำงานในโหมด M แตกต่างกันออกไป คือ หากเลือกตำแหน่งเกียร์ 3 จะหมายถึงรถยังสามารถเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ได้ตั้งแต่ 1-3 ขึ้นอยู่กับความเร็วของตัวรถ หากมีข้อสงสัยควรศึกษาจากคู่มือของรถแต่ละรุ่น
ตำแหน่งเกียร์ B
เกียร์ B จะพบได้ในรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบไฮบริด ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับเกียร์ S แต่แตกต่างกันตรงที่เกียร์ B มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้หน่วงความเร็วของตัวรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะลงทางลาดชันยาวๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดภาระของระบบเบรกแล้ว ยังช่วยเพิ่มการชาร์จไฟกลับไปยังแบตเตอรี่อีกด้วย