เหตุใดห้ามพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ "ขั้วลบ" กับ "ขั้วลบ" เข้าหากัน ?

01 พฤษภาคม 2566

การพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์เป็นวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีที่สุด ในกรณีของรถยนต์อีกคันแบตเตอรี่หมดแล้วสตาร์ทไม่ติด แต่ว่าหลายคนคงเข้าใจผิดๆ ในการพ่วงเเบตเตอรี่กันมาอยู่บ้าง ซึ่งสำหรับวันนี้เราจะมาเเนะนำการพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ที่ถูกต้องและปลอดภัยครับ

เหตุใดห้ามพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ "ขั้วลบ" กับ "ขั้วลบ" เข้าหากัน ?

เหตุใดห้ามพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ \"ขั้วลบ\" กับ \"ขั้วลบ\" เข้าหากัน ?

 

 

การเตรียมตัวก่อนพ่วงแบตเตอรี่ ได้เเก่

ต้องนำรถคันแบตดีเข้ามาจอดใกล้กับคันแบตหมด โดยไม่ให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวรถสัมผัสกัน ซึ่งโดยมากแล้วมักจะจอดรถหันหน้าเข้าหากันเพื่อความสะดวก จากนั้นดับเครื่องยนต์ ปิดระบบไฟที่ไม่จำเป็นของรถทั้งสองคัน เช่น ไฟส่องสว่าง (ยกเว้นไฟฉุกเฉินหากจำเป็น), ระบบเครื่องเสียง, ระบบปรับอากาศ ฯลฯ เพื่อเป็นการลดภาระของเครื่องยนต์ลงให้น้อยที่สุด

เหตุใดห้ามพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ \"ขั้วลบ\" กับ \"ขั้วลบ\" เข้าหากัน ?

7 ขั้นตอนการพ่วงแบตเตอรี่ที่ถูกต้อง

  • คีบปลายสายสีแดงเข้ากับ “ขั้วบวก” ของรถแบตหมด
  • คีบปลายสายสีแดงเข้ากับ “ขั้วบวก” ของรถแบตดี
  • คืบปลายสายสีดำเข้ากับ “ขั้วลบ” ของรถแบตดี
  • คีบปลายสายสีดำเข้ากับ “กราวด์” ของรถแบตหมด ซึ่งอาจเป็นหัวน็อตหรือเหล็กเปลือยภายในห้องเครื่องยนต์ และควรห่างจากขั้วลบอย่างน้อย 50 เซนติเมตร
  • สตาร์ทเครื่องยนต์รถแบตดี
  • สตาร์ทเครื่องยนต์รถแบตหมด
  • ถอดสายพ่วงแบตโดยเรียงจากข้อ 4 - 3 - 2 และ 1 ตามลำดับ

 

แล้วคำถามที่ว่า ห้ามพ่วง "ขั้วลบ" กับ "ขั้วลบ" เข้าหากัน? จะเป็นอย่างไร

การพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ไม่ควรพ่วง “ขั้วลบ” เข้ากับ “ขั้วลบ” ของรถอีกคันโดยเด็ดขาด เนื่องจากประกายไฟที่เกิดขึ้นอาจสัมผัสกับก๊าซไฮโดรเจนที่ปล่อยออกมาจากแบตเตอรี่เองจนเกิดเป็นอันตรายได้