"ไฟฉุกเฉิน" เปิดใช้ตอนไหนถึงจะไม่ผิดกฎหมาย?
ก่อนอื่นเราไปทราบถึงไฟฉุกเฉินรถยนต์คืออะไร?
ไฟฉุกเฉินรถยนต์ (Hazard Lights) หรือที่คนไทยเรียกว่าไฟผ่าหมากหรือไฟกะพริบ เป็นเครื่องมือสำคัญที่อยู่รถยนต์ตั้งแต่ออกมาจากโรงงาน ไม่ต้องให้ช่างมาติดตั้งเพิ่มเติมเลยครับ โดยคุณสามารถสังเกตไฟฉุกเฉินรถยนต์ได้ง่าย ๆ เพราะมีสัญลักษณ์เป็นสามเหลี่ยมสีแดงอยู่ตรงกลางระหว่างช่องแอร์ทั้งสองฝั่ง ซึ่งไฟฉุกเฉินรถยนต์จะเปิดใช้ก็ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้น จะเปิดใช้งานแบบสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้เด็ดขาด
ซึ่ง ตาม พ.ร.บ.จราจร มาตรา 9 และกฎกระทรวงข้อ 11 กฎหมายกำหนดให้ใช้ไฟฉุกเฉิน เฉพาะกรณีรถเสียที่จอดอยู่กับที่เท่านั้น แต่ทุกวันนี้กลับพบผู้ใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินกันผิดๆ ได้แก่
1. การใช้ไฟฉุกเฉินเพื่อข้ามทางแยก หากเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อข้ามทางแยก รถทางซ้ายและขวา จะเห็นไฟกระพริบเพียงมุมใดมุมหนึ่งเท่านั้น ทำให้นึกว่าคุณกำลังจะเลี้ยว จึงมิได้ชะลอความเร็วลง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ชะลอความเร็วก่อนถึงแยก มองซ้ายขวาให้รอบคอบ ให้รถทางเอกไปก่อนเสมอ ไม่จำเป็นต้องเปิดสัญญาณแต่อย่างใด
2. ใช้ไฟฉุกเฉินเมื่อฝนตกหนัก เนื่องจากขณะเปิดไฟฉุกเฉิน ไฟเลี้ยวจะไม่ทำงาน ทำให้รถที่ตามมา หรือ คันข้างๆ ไม่ทราบว่าเรากำลังจะเลี้ยวหรือเปลี่ยนเลน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ อีกทั้งยังเป็นการรบกวนสายตาผู้อื่น เกินความจำเป็นอีกด้วย นอกจากนั้น หากมีรถเสียขึ้นมาจริงๆ และรถคันอื่นใช้ไฟฉุกเฉินกันอย่างพร่ำเพรื่อ อาจทำให้คันที่ตามมาเข้าใจผิดว่า ข้างหน้ามีจราจรติดขัด ทำให้จอดตามๆกัน
ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง 1.ใช้ความเร็วต่ำ และเปิดไฟหน้า 2.ไม่เปลี่ยนช่องทางหากไม่จำเป็น และไม่ขับรถชิดคันหน้าจนเกินไป 3.ไม่เปิดไฟสูง เพราะรบกวนสายตารถคันอื่นและตัวเองอีกด้วย 4.หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์ส่องสว่างให้ใช้งานได้ปกติ
ไม่เปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ ผิดกฎหมายข้อไหน ค่าปรับเท่าไหร่?
อย่างที่บอกไปว่าถ้าเปิดไฟฉุกเฉินผิดสถานการณ์ หรือไม่เปิดใช้ไฟฉุกเฉินตอนที่ควรจะใช้ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นได้แถมยังผิดกฎหมายอีกด้วย เรื่องนี้เงินติดล้อขออ้างอิงจากกฎหมายจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 11 และมาตรา 56 โดยระบุเนื้อความเอาไว้ ดังนี้