ขี่รถจักรยานยนต์ล้มเอง! ไม่มีคู่กรณี เคลมค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. ได้ไหม?

28 พฤศจิกายน 2566

หลายคนมักนิยมใช้รถจักรยานยนต์ หรือ มอเตอร์ไซค์ในชีวิตประจำวัน แต่ว่าการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ก็มีความอันตรายเช่นเดียวกัน เช่น ขี่มอเตอร์ไซค์ชนฟุตบาท หรือรถมอเตอร์ไซค์เสียหลักลื่นล้มจนได้รับบาดเจ็บ แล้วถ้าหากรถล้มแบบไม่มีคู่ กรณี จะเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม? เรามีคำตอบครับ

ขี่รถจักรยานยนต์ล้มเอง! ไม่มีคู่กรณี เคลมค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. ได้ไหม? 

ขี่รถจักรยานยนต์ล้มเอง! ไม่มีคู่กรณี เคลมค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. ได้ไหม?

ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น รถล้มเอง หรือ รถเสียหลักชนกับสิ่งกีดขวาง จนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หากรถมอเตอร์ไซค์คันที่เกิดเหตุมี พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ที่ถูกต้องตามกฎหมายและยังไม่หมดอายุ ผู้ประสบจากรถมอเตอร์ไซค์คันนั้น รวมทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะ “ค่าเสียหายเบื้องต้น” เท่านั้น

 

 

ค่าเสียหายเบื้องต้น


1. กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 30,000 บาท
2. กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ สามารถเบิกค่าชดเชยได้คนละ 35,000 บาท (หากผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายทั้ง 2 กรณี สามารถเบิกรวมกันไม่เกินคนละ 65,000 บาท)

ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ (อุบัติเหตุไม่มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล กรณีบาดเจ็บ
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ตัวตนผู้ประสบภัย
2. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ฉบับจริง)
 

ค่าทดแทนสินไหม กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบภัย
2. ใบรับรองแพทย์
3. หนังสือรับรองคนพิการ
4. สำเนาบันทึกประจำวันหรือหลักฐาน ที่แสดงว่าประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
 

 ค่าทดแทนสินไหม กรณีเสียชีวิต


1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบภัย
2. ใบมรณบัตรของผู้ประสบภัย
3. สำเนาบัตรปชช และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม
4. สำเนาบันทึกประจำวันหรือหลักฐาน ที่แสดงว่าประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์

กรณีรถล้มเอง ยื่น พ.ร.บ. ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

  • กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ตัวจริง)
  • กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบรับรองแพทย์
  • หนังสือรับรองผู้พิการ
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
  • กรณีเสียชีวิต
  • ใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของทายาท
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน


สุดท้ายนี้ การยื่นเรื่องเบิกค่าชดเชยจาก พ.ร.บ. สามารถยื่นเรื่องกับทางบริษัทประกันภัยที่ซื้อไว้ หรือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยจะต้องดำเนินการภายใน 180 วันนับจากวันเกิดเหตุ จากนั้นจะได้รับค่าชดเชยภายใน 7 วันทำการ