ใช้รถต้องรู้! “การบีบแตร” อย่างไรให้ถูกวิธี จะได้ไม่ดราม่าบนถนน
แตรรถยนต์แต่ละแบบบอกอะไรได้บ้าง?
-“ปิ๊ด” เสียงบีบแตรแบบสั้นๆ เบาๆ ส่วนใหญ่จะหมายถึงการบีบเตือนรถคันอื่นระวัง
-“ปื๊ด ปิ๊ด ปิ๊ด ปิ๊ด” เสียงแตรรถยนต์ที่บีบแบบเบาๆ สั้นๆ ต่อเนื่องหลายครั้ง เหมือนการทักทาย
–“ปี๊ดดดดดดดดดดดดดด” เสียงบีบแตรแบบยาว และมีเสียงดัง ให้ความรู้สึกเป็นการเตือน แต่ค่อนข้างจะมีอารมณ์เพิ่มมากขึ้นแล้ว
-“ปี๊ดดดดดด ปี๊ดดดดดด ปี๊ดดดดดด ปี๊ดดดดดด” เสียงบีบแตรแบบดังๆ ยาวๆ ต่อเนื่องกันหลายครั้ง ถือเป็นการเตือนและบ่นบอกว่าอารมณ์เริ่มรุนแรงหัวร้อนเพิ่มมากขึ้น หากหลีกเลี่ยงได้แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะจะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งได้ง่ายมาก
-“ปี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดด” เสียงบีบแตรยาวแบบต่อเนื่อง เป็นอาการหัวร้อนขั้นสูงสุด บ่งบอกความไม่พอใจมากๆ หรือจะเรียกง่ายๆว่าเป็นการด่าบนท้องถนนนั่นเอง
เทคนิคใช้แตรรถยนต์ให้ถูกวิธี
-“ใช้เสียงแตรให้เหมาะสม” และไม่ดัดแปลงเสียงแตรรถยนต์ให้ดังจนเกินไป เพราะนอกจากจะรบกวนผู้อื่นอาจจะก่อเกิดความไม่พอใจจนนำไปสู่การกระทบกระทั่งได้
-“บีบแตรเมื่อผ่านโค้งหักศอก” หรือบริเวณมุมอับที่ไม่สามารถมองเห็นรถยนต์ที่สวนทางมาได้ เพื่อเป็นการบอกรถคันที่กำลังจะสวนทางมาได้ระมัดระวังมากขึ้น
-“หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น” เช่น มีผู้บาดเจ็บ พบเห็นคนโดนชิงทรัพย์ มีก็สามารถใช้สัญญาณแตรแบบเสียงดังและลากยาวได้ เพื่อขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
-“เมื่อพบป้ายห้ามใช้แตรรถยนต์” หรือห้ามส่งเสียงดัง เช่นในพื้นที่โรงพยาบาล ก็ควรหลีกเลี่ยงการแตรรถยนต์
อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 14 ระบุว่า การใช้เสียงสัญญาณ ผู้ขับขี่จะใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น แต่จะใช้เสียงยาวหรือซ้ำเกินควรไม่ได้
หากทำผิดมาตรา 14 วรรค 2 จะมีบทลงโทษตามมาตรา 150 (1) โดยมีโทษปรับ 500 บาท รวมถึงสถานที่ที่มีป้ายงดใช้เสียงด้วย อาทิ วัด โรงพยาบาล โรงเรียน เขตพระราชฐาน เพื่อไม่ให้เสียงสัญญาณแตรไปรบกวนในเขตที่ติดตั้งป้ายเหล่านั้น ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษปรับตามมาตรา 148 ด้วย โดยมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
Cr.สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก