ใช้รถต้องรู้! เผย 6 วิธีดูแลรถช่วงหน้าร้อนให้ปลอดภัย
ข้อเสียของการจอดรถตากแดด
1. สีรถซีดหมองไว
2. ฟิล์มกรองแสงเสื่อม
3. เครื่องยนต์บางชิ้นอาจจะเสื่อมสภาพไวกว่ากำหนด
4. อุปกรณ์บางชิ้นที่อยู่ในห้องโดยสารอาจะเสื่อมสภาพไวขึ้น เช่น หน้าจอ หรือกล้องหน้ารถ เป็นต้น
5. ยางรถยนต์อาจจะเสื่อมสภาพไวกว่าที่คิด
6. หากใช้รถยนต์ไฟฟ้า อาจจะต้องระมัดระวังเรื่องการทำงานของ Compressor หรือระบบทำความเย็นในรถ โดยเฉพาะการจอดตากแดดเพื่อชาร์จไฟ แนะนำให้ดับรถไฟฟ้าก่อนชาร์จแบต และไม่ควรนั่งรอในรถ อาจทำให้คอมแอร์ทำงานหนักเป็นสองเท่า
เผย 6 วิธีดูแลรถช่วงหน้าร้อนให้ปลอดภัย มีดังต่อไปนี้
1. จอดรถในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการจอดรถกลางแจ้ง เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ไม่ให้สึกหรอ
2. เมื่อขึ้นรถที่ร้อนจัด ให้ลดกระจกลงและเปิดพัดลมแอร์ระบายความร้อนประมาณ 2 นาที ก่อนจะปรับมาเปิดโหมดทำความเย็น จะช่วยให้อุณหภูมิในรถเย็นเร็วขึ้น อย่าเร่งแอร์สู้ความร้อน จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป
3.ติดฟิล์มกรองแสงได้มาตรฐาน ช่วยลดความร้อนและช่วยป้องกันรังสี UV ที่เข้ามาภายในรถยนต์ อีกทั้งช่วยลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศอีกด้วย
4. การดูแลยางรถยนต์ช่วงหน้าร้อน
- ควรเติมลมยางให้เหมาะสม ระวังอย่าปล่อยให้ลมยางน้อยเกินไป เพราะจะทำให้ส่วนประกอบภายในของยางได้รับความเสียหาย และเกิดความร้อนเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการระเบิดได้ง่าย
5. เช็กระบบระบายความร้อน
- ตรวจระดับน้ำในถังพักน้ำทุกครั้งก่อนสตาร์ต ควรให้ระดับอยู่ระหว่างไม่เกิน MAX และไม่ต่ำกว่า MIN
6. สิ่งของต้องห้ามไม่ควรเก็บไว้ในรถ ขณะที่แดดร้อนจัด อาจเกิดความเสียหายและเสี่ยงต่อการระเบิด โดยเฉพาะสิ่งของไม่ควรลืมไว้ในรถ เมื่อจอดกลางแดด
- แบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) ความร้อนอาจทำให้แบตเตอรี่สำรองเสื่อมประสิทธิภาพได้ มีอายุการใช้งานสั้นลง เช่น ชาร์จเข้าโทรศัพท์ได้ช้าลง หรือชาร์จได้จำนวนรอบไม่เท่าเดิม
- โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก หรืออุปกรณ์ที่มีแบตเตอรี่ทุกชนิด ความร้อนอาจทำให้วงจรภายในได้รับความเสียหาย เสี่ยงต่อการช็อตและระเบิดได้
- สเปรย์แอลกอฮอล์ สเปรย์กระป๋อง ความร้อนทำให้แก๊สในกระป๋องขยายตัว มีแรงดันสูงขึ้นจนเกิดการระเบิดได้
- ไฟแช็ก เป็นสารเคมีอันตราย ที่ไม่ควรโดนความร้อน
แผ่นยางกันลื่นหน้ารถ หากโดนแดดเผาจนละลาย จะกลายเป็นคราบเหนียวติดคอนโซลหน้ารถ
- ยา แสงแดด ทำให้ตัวยาเสื่อมสภาพ คุณสมบัติในการรักษาลดลงหรือเสียไป และอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้
Cr. สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก