ใช้รถต้องรู้! พ.ร.บ รถยนต์ คืออะไร ได้รับสิทธิคุ้มครองใดได้บ้าง

03 พฤษภาคม 2567

ซึ่งเหตุผลที่รถยนต์ทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. ได้รับสิทธิคุ้มครองอะไรบ้าง? หากไม่มี พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากขับรถชนผู้อื่น ต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลของผู้ที่ถูกชนและบวกเพิ่มอีก 20% ไม่อยากเสียเงิน รับสิทธิคุ้มครองเช็กได้ที่นี้

ใช้รถต้องรู้! พ.ร.บ รถยนต์ คืออะไร  ได้รับสิทธิคุ้มครองใดได้บ้าง

ใช้รถต้องรู้! พ.ร.บ รถยนต์ คืออะไร  ได้รับสิทธิคุ้มครองใดได้บ้าง

กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. ก่อน จึงจะเสียภาษีประจำปีได้ เนื่องจากการที่รถมี พ.ร.บ. จะได้รับความคุ้มครองความเสียหายเบื้องต้นที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ดูแลรักษาพยาบาลทั้งคนที่อยู่ในรถคันที่เกิดอุบัติเหตุทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิด หรือบุคคลที่ 3 และหากเป็นฝ่ายถูกจะได้รับค่าสินไหมทดแทน

 

ใช้รถต้องรู้! พ.ร.บ รถยนต์ คืออะไร  ได้รับสิทธิคุ้มครองใดได้บ้าง

พ.ร.บ. รถยนต์คือ

พ.ร.บ. คือการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฎหมายบังคับใช้ให้รถทุกคันจำเป็นต้องทำประกันพรบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยกฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จำเป็นต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ 

ใช้รถต้องรู้! พ.ร.บ รถยนต์ คืออะไร  ได้รับสิทธิคุ้มครองใดได้บ้าง

 

โทษปรับหากรถยนต์ไม่มี พ.ร.บ.
หากรถยนต์คันใดไม่มี พ.ร.บ. จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากขับรถชนผู้อื่น ต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลของผู้ที่ถูกชน โดยบวกเพิ่มอีก 20% ถ้าไม่มีประกันภาคสมัครใจจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายรถยนต์ด้วยเงินของตนเอง

ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองคู่กรณีและผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชย และค่าดูแลรักษาพยาบาลตามที่กำหนด รถทุกชนิดทุกประเภทที่เดินกำลังขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ๆ เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถโดยสาร รถพ่วง รถสิบล้อ จำเป็นต้องทำ พ.ร.บ.

 

ส่วนรถที่ได้รับการยกเว้นการทำ พ.ร.บ. คือรถเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทน รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามพระราชวังกำหนด รถของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ และรถทหาร และรถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ

พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง


      โดยใจความสำคัญของประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ คือการมอบความคุ้มครองให้กับผู้ที่ประสบภัยจากการใช้รถ โดยที่ไม่สนว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก เพราะหากเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย ผู้เสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ โดย พ.ร.บ. รถยนต์จะให้ความคุ้มครองที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

1. พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น
      พรบรถยนต์จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้โดยสาร ผู้ขับขี่ และบุคคลอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ ค่าเสียหายในกรณีทุพพลภาพ และเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด โดยจะชดใช้ให้ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับคำร้อง

1. ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่บาดเจ็บ

      ได้รับค่าชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน

2. มีการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 

      หากมีความรุนแรงถึงขั้นที่มีความเสียหายต่อร่างกายถึงขั้นการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร บริษัทประกันจะมีการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท/คน

3. กรณีเสียชีวิต

      เกิดอุบัติเหตุขั้นรุนแรงถึงขั้นก่อให้เกิดการเสียชีวิตขึ้น ทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท/คน

2.พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน
      ในส่วนของค่าสินไหมทดแทน จะได้รับหลังจากมีการพิสูจน์ได้ว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก จะมีจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

1.ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่บาดเจ็บ

      ได้รับค่าชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 85,000 บาท/คน

2.มีการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 

      หากมีความรุนแรงถึงขั้นที่มีความเสียหายต่อร่างกายถึงขั้นการสูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่าทดแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 – 500,000 บาท/คน เช่น การสูญเสียนิ้ว ได้รับค่าสินไหมทดแทนที่เฉลี่ย 200,000 บาท การเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับค่าสินไหมทดแทนที่เฉลี่ย 250,000 บาท การเสียอวัยวะ 2 ส่วน  ได้รับค่าสินไหมทดแทนที่เฉลี่ย 500,000 บาท และทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับจุดที่สูญเสียอวัยวะ และเงื่อนไขอื่นที่ข้อกฎหมายมีกำหนดไว้

3. กรณีเสียชีวิต

      เกิดอุบัติเหตุขั้นรุนแรงถึงขั้นก่อให้เกิดการเสียชีวิตขึ้น ทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน

4. กรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลแบบ “ผู้ป่วยใน”

      จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท ได้รับรวมกันสูงสุดไม่เกิน 20 วัน

พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่คุ้มครองเรื่องอะไรบ้าง
        พรบรถยนต์ช่วยคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์อุบัติเหตุแล้ว ก็ยังมีหลายกรณีที่ตัวพรบรถยนต์ไม่คุ้มครองหากเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

1. ขับขี่ออกนอกประเทศไทย

      พรบรถยนต์ หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ไม่ให้ความคุ้มครองหากเกิดอุบัติเหตุนอกพื้นที่นอกประเทศไทย รวมประถึงประกันรถยนต์ภาคสมัครใจก็เช่นกัน ที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะในพื้นที่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ถ้าหากมีความจำเป็นจะต้องขับขี่ออกนอกประเภท ควรมีการทำประกันภัยรถยนต์รูปแบบอื่นที่ให้ความคุ้มครองเมื่อขับขี่ไปนอกประเทศไว้ด้วย

2. ความเสียหายที่เกิดจากการถูกยักยอก กรรโชก รีดเอาทรัพย์

      ในกรณีนี้พรบรถยนต์ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง แต่เจ้าของรถยนต์ก็จำเป็นจะต้องไปแจ้งความเอาไว้ เผื่อคนร้ายนำรถไปชน และพรบรถยนต์ยังคุ้มครองคนร้าย จะได้สามารถติดตามคนร้ายได้

3. ใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมาย

      ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถยนต์ในกรณี ดักจี้ปล้นชิงทรัพย์ ขนยาเสพติด หรือสิ่งของผิดกฎหมาย รวมไปถือใช้เพื่อขนแรงงานผิดกฎหมาย ในกรณีนี้ทั้งพรบรถยนต์ที่เป็นประกันภัยภาคบังคับ และทั้งภาคสมัครใจก็ไม่ให้ความคุ้มครองอย่างแน่นอน

4. การแข่งขันความเร็ว

      การนำรถยนต์ไปแข่งความเร็ว ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายอย่างแน่นอน และพรบรถยนต์ก็ไม่ให้ความคุ้มครองในกรณีนี้ด้วยเช่นกัน

 

Cr. กรมการขนส่งทางบก , สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 กรมประชาสัมพันธ์ , Asiadirect