วันลอยกระทง เป็นประเพณีไทยที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน วันนี้ทีมข่าว Thainews Online จะพาสายมูมารู้จัก ประเพณีลอยกระทง และ วันลอยกระทง พร้อม คำขอขมาแม่น้ำ ที่ถูกต้อง ต้องพูดอย่างไรบ้าง
วันลอยกระทง ปี 2565 ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เป็นวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
วันลอยกระทงมีความสำคัญอย่างไร
วันลอยกระทง เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทและขอขมาพระแม่คงคา บูชาเจดีย์พระเกศาพระพุทธเจ้าในสวรรค์
วันลอยกระทง และ ความเชื่อในประเทศไทย
วันลอยกระทง มีความเชื่อกันว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ หรือ การขอขมา รวมไปถึงเรียกว่าเป็นการบูชา ด้วยค่ะ
วันลอยกระทง ในประเทศไทย
เชียงใหม่ ภาคเหนือ เรียกว่า ลอยโคม ชาวเหนือ จะเรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึง การทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย) หรือโคมลอยบนน้ำรูปทรงต่าง ๆ
ลำปาง ภาคเหนือ เรียกว่า ล่องสะเปา สะเปา หมายถึง กระทง ซึ่งจะมีการประกวดอยู่สองวันด้วยกัน ได้แก่วันแรก"สะเปาน้ำ"จัดขึ้นในแม่น้ำวังและวันที่สองจะมี"สะเปาบก" ซึ่งการประกวดในที่นี้ จะมีตั้งแต่ระดับกลุ่มหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างๆ
ตาก ภาคเหนือ เรียกว่า กระทงสาย จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย
สุโขทัย ภาคเหนือ เรียกว่า ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
ร้อยเอ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า สิบสองเพ็ง โดยมีชื่องานประเพณีว่า "สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป" ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคาในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง ความพิเศษของงานมีการแสดง แสงสีเสียง ตำนานเมืองร้อยเอ็ด จัดให้มีการตกแต่งบริเวณเกาะบึงพลาญชัย (สถานที่จัดงาน) ให้เป็นเกาะสวรรค์ ตกแต่งสวยงาม ยิ่งใหญ่ มีขบวนกระทงอาเซียน มีการประกวดกระทงประทีปใหญ่
สกลนคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ปราสาทผึ้งโบราณ ปัจจุบันเรียกงานนี้ว่า เทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล
กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง เรียกว่า วันลอยกระทง จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด จัดประมาณ 7-10 วัน ก่อนงานวันลอยกระทงและจบลงช่วงหลังวันลอยกระทง ซึ่งในปี 2565 นี้ งานภูเขาทอง 2565 งดจัดกิจกรรมดังกล่าว
พระนครศรีอยุธยา ภาคกลาง เรียกว่า วันลอยกระทง จะมีรูปแบบการจัดงานคล้ายงานวัด มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา เช่นกัน
คำขอขมาแม่น้ำ คงคา แบบที่ถูกต้อง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ กล่าว 3 จบ
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา
มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทรายในแม่น้ำชื่อนัมมทานที ด้วยประทีปนี้ กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาท ด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพระเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ (ไม่ต้องกล่าวว่า "สาธุ")