นิ้ง-สิริยากร จากบัณฑิต PIM ป้ายแดง สู่เจ้าของสวน-แบรนด์ทุเรียน ลูกสาวกำนัน

02 กรกฎาคม 2567

จากบัณฑิตPIMป้ายแดง สู่เจ้าของสวนและแบรนด์ทุเรียน “ลูกสาวกำนัน” “นิ้ง-สิริยากร” ยุวเกษตรกร Gen ใหม่ ปั้นยอดขายหลักล้าน

หลายปีที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่จำนวนมาก เลือกเดินออกจาก “ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม” เพราะบางคนมองเป็นงานหนัก บางคนมองว่า “ไม่เท่” รวมถึงบางคนมองเป็นงานยากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่สำหรับ นิ้ง-สิริยากร ธรรมจิตร์ บัณฑิตป้ายแดงเจ้าของแบรนด์ทุเรียน “ลูกสาวกำนัน” จ.จันทบุรี นั้น เธอเลือกยืนหยัดกลับมาสานต่อธุรกิจสวนทุเรียนของครอบครัว กลายเป็น New Gen ยุวเกษตรกร ที่มุ่งมั่นให้ธุรกิจเกษตรเติบโตอย่างมีนวัตกรรม

นิ้ง-สิริยากร จากบัณฑิต PIM ป้ายแดง สู่เจ้าของสวน-แบรนด์ทุเรียน ลูกสาวกำนัน
นิ้ง เล่าว่า แต่เดิมเธอเป็นเด็กที่ชื่นชอบงานด้านวิชาการ จุดเปลี่ยนสำคัญคือ ช่วง ม.6 คุณพ่อของเธอไปเห็นทุนการศึกษา ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เพื่อเข้าศึกษาต่อคณะเกษตรนวัตและการจัดการ (IAM) คณะที่ช่วยให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ที่สร้างรายได้สูง

นิ้ง-สิริยากร จากบัณฑิต PIM ป้ายแดง สู่เจ้าของสวน-แบรนด์ทุเรียน ลูกสาวกำนัน
 
“ตอนแรกเคยตั้งคำถามว่า ถ้าเรียนด้านเกษตรกรรมเฉยๆ จะไหวหรือไม่ แต่ที่บ้านบอกเราชัดเจนว่า ไม่ได้อยากให้เรากลับมาเพื่อทำสวน แต่อยากให้มาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางคณะให้เราเรียนรู้ด้านเกษตรควบคู่กับธุรกิจ ไม่ใช่เรียนแค่ทฤษฎี แต่ให้เราได้เข้าสู่ภาคปฏิบัติจริงๆ ตลอด 4 ปี ทั้งการฝึกงานที่สวนทุเรียนในจังหวัดอื่น การฝึกงานเป็นแอดมินเพจ การเรียนจริง ทำจริง ส่งผลให้เรารู้วิธีเอาทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ และการนำเทคโนโลยีมาต่อยอด”

นิ้ง-สิริยากร จากบัณฑิต PIM ป้ายแดง สู่เจ้าของสวน-แบรนด์ทุเรียน ลูกสาวกำนัน
หลังเรียนจบ เธอได้เริ่มบริหารที่ดินที่ได้รับจากคุณพ่อ ขนาดประมาณ 5 ไร่ เป็นสวนทุเรียนของตัวเอง พร้อมทั้งเข้าไปช่วยทำการตลาด สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับผลผลิตในสวนครอบครัวด้วยการสร้างแบรนด์ทุเรียน “ลูกสาวกำนัน”  ขายสินค้าผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม

นิ้ง-สิริยากร จากบัณฑิต PIM ป้ายแดง สู่เจ้าของสวน-แบรนด์ทุเรียน ลูกสาวกำนัน


สิ่งที่เธอได้รับจากการเรียน ทำให้เธอเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของแต่ละแพลตฟอร์มมากขึ้น และเลือกพัฒนาสินค้าให้เหมาะกับผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม เช่น Tiktok จะมีกลุ่มลูกค้าหลากหลายช่วงอายุและเจเนอเรชัน เธอจึงมีสินค้า ทุเรียนลูกป๊อกแป๊กขนาดมินิ ราคาไม่แรง ไปจนถึงทุเรียน 5 พู เกรดเอ ไว้ Live รองรับทุกกลุ่ม ขณะที่บนเฟซบุ๊ก เธอจะนำเสนอโปรดักท์ 2 เกรด ทั้งเกรดธรรมดาและเกรดพรีเมียม ส่วนบนช่องทาง All Online ของเซเว่น อีเลฟเว่น เธอจะเน้นโปรดักท์เกรดสูงที่สุด ความเข้าใจดังกล่าวส่งผลให้เธอบริหารจัดการผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นิ้ง-สิริยากร จากบัณฑิต PIM ป้ายแดง สู่เจ้าของสวน-แบรนด์ทุเรียน ลูกสาวกำนัน
 
ขณะเดียวกัน การเรียนยังทำให้เธอได้รับทักษะการวางแผนและการบริหารจัดการ เช่น การบริหารจัดการน้ำในปีที่น้ำแล้ง จากเดิมที่ต้องใช้วิธีการลองผิดลองถูก เธอได้เตรียมขุดสระไว้ล่วงหน้า ทำให้สวนของเธอมีผลผลิตเพิ่มขึ้น สวนทางกับตลาดที่มีผลผลิตลดลง เฉพาะ 5 เดือนแรกของปีนี้ สวนของเธอ มีรายได้กว่า 6 ล้านบาท โดยปีหน้าตั้งเป้าสู่ยอดขาย 8 หลัก เธอมองว่า หากชาวสวนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่ดี ผลผลิตของประเทศก็คงมีมากขึ้น


ซึ่งคณะเกษตรนวัตและการจัดการ พีไอเอ็ม มุ่งสร้างนักจัดการเกษตรมืออาชีพผ่านรูปแบบ Work-based Education บ่มเพาะผู้เรียนให้มีทักษะในด้านต่างๆ ที่ตอบโจทย์การดำเนินงานตลอดโซ่อุปทานเกษตร ได้แก่ การใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ การคิดวิเคราะห์แยกแยะเพื่อการจัดการเชิงธุรกิจ และการสร้างคุณค่าทางธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด รวมถึงการเป็นผู้ประกอบการที่นำนวัตกรรมด้านการจัดการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เรียนเกษตรจบแล้วไปทำเกษตรให้รวย พร้อมขับเคลื่อนความสำเร็จสู่เกษตรกร สังคม และองค์กรได้อย่างยั่งยืน

นิ้ง-สิริยากร จากบัณฑิต PIM ป้ายแดง สู่เจ้าของสวน-แบรนด์ทุเรียน ลูกสาวกำนัน
 
ด้าน นายเสนีย์ ธรรมจิตร์ คุณพ่อของนิ้ง-สิริยากร เล่าว่า ตัวเขามีกำลัง มีองค์ความรู้ทำให้ทุเรียนมีผลผลิตได้ แต่ขาดเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่ม พอเห็นทาง PIM ในกลุ่มซีพี ออลล์ มี MOU กับกรมส่งเสริมการเกษตร มีทั้งทุนการศึกษา มีทั้งรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้ได้ปฏิบัติจริง มีนักศึกษามาให้คำแนะนำที่โรงเรียนมัธยมศึกษาของลูก จึงสนใจสนับสนุนให้ลูกต่อยอด
 
“ภูมิใจที่เห็นลูกเราเรียนที่นี่ แล้วเขาเติบโตขึ้นมาก สินค้าแบรนด์ที่ขายออนไลน์ เขาก็ออกแบบกล่อง ออกแบบแพ็กเก็จจิ้งเอง ทำการตลาด หาช่องทางใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่ม แบ่งกลุ่มลูกค้า ทำให้ยอดขายเติบโตขึ้น พอน้องนิ้งกลับมา เราเองก็ได้เรียนรู้บางเรื่องจากเขาไปด้วย”

นิ้ง-สิริยากร จากบัณฑิต PIM ป้ายแดง สู่เจ้าของสวน-แบรนด์ทุเรียน ลูกสาวกำนัน
 
ขณะที่ นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ เล่าว่า ปัจจุบัน ซีพี ออลล์ ได้วางกรอบกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนช่วงปี 2567-2568 ภายใต้แนวคิด “2 ลด 4 สร้าง 1 DNA” ตอบโจทย์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยในแง่การส่งเสริมและสร้างคุณค่าที่หลากหลายให้แก่สังคมนั้น ดำเนินการผ่านแนวคิด “4 สร้าง” ได้แก่ 1.สร้างคน 2.สร้างงาน 3.สร้างอาชีพ และ 4.สร้างชุมชนอุ่นใจ โดย นิ้ง-สิริยากร ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างสำคัญของความมุ่งมั่นในการ “สร้างคน” สร้าง New Gen ยุวเกษตรกร กลับมาขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญของประเทศ

นิ้ง-สิริยากร จากบัณฑิต PIM ป้ายแดง สู่เจ้าของสวน-แบรนด์ทุเรียน ลูกสาวกำนัน

“การสร้างคน เป็นเรื่องหนึ่งที่เรามุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และอีกหลากหลายช่องทาง เพราะเราต้องการช่วยสร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถผ่านการศึกษา เพื่อช่วยให้สังคมและเศรษฐกิจของไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง ในแต่ละปีเราจึงมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาจำนวนมาก รวมถึงจับมือพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในสาขาที่เกี่ยวข้อง มาร่วมขับเคลื่อนการสร้างคนอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นเราตั้งเป้ามอบทุนการศึกษามากกว่า 37,000 ทุนในปี 2568 คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,181 ล้านบาท” นายยุทธศักดิ์ ย้ำ


 
สำหรับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน “2 ลด 4 สร้าง 1 DNA” ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นการบูรณาการการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับแกนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เริ่มจาก “2 ลด” เป็นแกนขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1.ลดการใช้พลาสติก 2.ลดการใช้พลังงาน  “4 สร้าง” เป็นแกนขับเคลื่อนด้านสังคม ได้แก่ 1.สร้างคน 2.สร้างงาน 3.สร้างอาชีพ และ 4.สร้างชุมชนอุ่นใจ และ “1 DNA” เป็นแกนขับเคลื่อนด้านธรรมาภิบาล ได้แก่ DNA ความดี 24 ชั่วโมง