"มะเร็งปอด" ภัยเงียบคร่าชีวิตเปิดสาเหตุอาการและการตรวจวินิจฉัย

15 มกราคม 2567

มะเร็งปอดหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดจะไม่ค่อยมีอาการแสดงในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้นแล้ว

มะเร็งปอดเกิดจากอะไร

มะเร็งปอดเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมากและแพร่กระจายไปตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

. มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) : เซลล์เจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตรวดเร็ว ซึ่งพบได้ 10 – 15%

. มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) : แพร่กระจายได้ช้ากว่าและสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ๆ โดยมะเร็งชนิดนี้พบได้ประมาณ 85 – 90%

"มะเร็งปอด" ภัยเงียบคร่าชีวิตเปิดสาเหตุอาการและการตรวจวินิจฉัย

ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ

- ระยะที่ 1 ระยะจำกัด (Limited Stage) พบเซลล์มะเร็งอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวเท่านั้น

- ระยะที่ 2 ระยะลุกลาม (Extensive Stage) เซลล์มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือกระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย

"มะเร็งปอด" ภัยเงียบคร่าชีวิตเปิดสาเหตุอาการและการตรวจวินิจฉัย

ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ

- ระยะที่ 1 เป็นระยะที่พบว่ามีก้อนบางอย่างอยู่ในปอด ในระยะแรกนี้ผู้ป่วยมักไม่มีการแสดงความผิดปกติออกมา

- ระยะที่ 2 พบมะเร็งมีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด โดยในระยะที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดนำก้อนเนื้อออกจากร่างกาย

- ระยะที่ 3 พบมะเร็งแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่น ๆ หรือลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้น ๆ

- ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งกระจายตัวไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด

1. การสูบบุหรี่ – ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งชนิดอื่น ๆ โดยผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากถึง 10 เท่า ของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

2. ควันบุหรี่มือสอง – แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ แต่การได้รับควันบุหรี่มือสอง มือสาม จากกาสูดหายใจเข้าไปจะทำให้มีสารพิษตกค้างซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง

3. การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง – การสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น โครเมียม ไรแย่หิน แร่เรดอน นิกเกิล เป็นต้น

4. สภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ – จากการศึกษาพบว่า ฝุ่น PM2.5 ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1 – 1.4 เท่า ซึ่งถือว่ามีความร้อยแรงเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่

5. พันธุกรรม – แม้โรคมะเร็งปอดจะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรง แต่พบว่า หากมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่อายุน้อย ๆ สมาชิกในครอบครัวก็มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

"มะเร็งปอด" ภัยเงียบคร่าชีวิตเปิดสาเหตุอาการและการตรวจวินิจฉัย

สัญญาณอันตรายเสี่ยงมะเร็งปอด

. ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด

. หายใจลำบาก หอบเหนื่อย

. หายใจสั้น หายใจมีเสียงหวีด

. เจ็บหน้าอกตลอดเวลา

. เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน

. ปอดติดเชื้อบ่อย

. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

. น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

ที่มา : โรงพยาบาลศิครินทร์