“สีตราครุฑ” บนโฉนดที่ดิน แต่ละสีต่างกันอย่างไร  รู้ไว้ไม่โดนโกง

29 เมษายน 2566

“สีตราครุฑ” บนโฉนดที่ดิน การถือครองกรรมสิทธิ์ที่แตกต่างกัน รู้ไว้ ก่อนซื้อ ขาย โอน จำนอง ป้องกันการโดนโกง หรือการกระทำผิดกฎหมาย

“สีตราครุฑ” บนโฉนดที่ดิน แต่ละสีต่างกันอย่างไร  รู้ไว้ไม่โดนโกง

"สีครุฑ" บน "โฉนดที่ดิน" อีกหนึ่งสัญญาลักษณ์บนโฉนดที่ดินนั่นคือ ตราครุฑที่มีสีแตกต่างกันออกไป อาทิ ครุฑแดง ครุฑดำ ครุฑเขียว  ซึ่งแต่ละ สีตราครุฑ บอกถึงประเภทการถือครองกรรมสิทธิ์ที่แตกต่างกัน 

“สีตราครุฑ” บนโฉนดที่ดิน แต่ละสีต่างกันอย่างไร  รู้ไว้ไม่โดนโกง

1.ตราครุฑสีแดง (น.ส.4)
คือ โฉนดที่ดิน น.ส.4 ซึ่งเป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ 100% ทำกิน อยู่อาศัย ใช้ประโยชน์ได้เต็มรูปแบบ  สามารถซื้อขายได้  โอนได้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นโฉนดที่มีการถือครองกันส่วนใหญ่ 

สิ่งที่ควรระวัง หมดสิทธิ์ครอบครอง เมื่อผู้อื่นครอบครองอย่างเปิดเผยติดต่อกัน 10 

“สีตราครุฑ” บนโฉนดที่ดิน แต่ละสีต่างกันอย่างไร  รู้ไว้ไม่โดนโกง
2.ตราครุฑสีเขียว (น.ส 3ก)
คือ หนังสือ น.ส 3ก คือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ซื้อขาย ให้เช่า หรือขับไล่ผู้บุกลุกได้  ออกให้ในท้องที่ ที่มีการระวางรูปถ่ายทางอากาศ เป็นเอกสารที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ใช้สำหรับเป็นหนังสือคำรับรองจากพนักงานว่าเราได้ทำประโยชน์กับที่ดินนั้นๆ 

สิ่งที่ควรระวัง หมดสิทธิ์ครอบครอง เมื่อผู้อื่นครอบครองอย่างเปิดเผยติดต่อกัน 1 ปี

“สีตราครุฑ” บนโฉนดที่ดิน แต่ละสีต่างกันอย่างไร  รู้ไว้ไม่โดนโกง

3.ตราครุฑสีดำ (น.ส.3 / น.ส.3 ข.)
คือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ประเภท น.ส.3 และ น.ส.3 ข. ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ เป็นเอกสารที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ใช้สำหรับเป็นหนังสือรับรองจะแสดงถึงสิทธิ์การครอบครองของเจ้าของ แต่ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ จะซื้อขายต้องรอประกาศจากราชการ 30 วัน
ข้อแตกต่าง น.ส.3 และ  น.ส.3 ข.  ต่างกันที่หน่วยงานที่มีอำนาจการออกหนังสือ 
- น.ส.3 ออกโดยนายอำเภอท่องที่ 
- น.ส.3 ข.   ออกโดยเจ้าหน้าที่ที่ดิน ซึ่งจะถือว่ายังไม่ได้รับรองอย่างเป็นทางการ 

สิ่งที่ควรระวัง หมดสิทธิ์ครอบครอง เมือผู้อื่นครอบครองอย่างเปิดเผยติดต่อกัน 1 ปี และขนาดที่ดินอาจได้น้อยกว่าที่ลงไว้ เนื่องจากยังไม่ได้ระวางอย่างชัดเจน

 

4.ตราครุฑสีน้ำเงิน (สปก.)
คือ หนังสือที่ดิน สปก. คือ ที่ดินจากสำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ห้ามซื้อขาย ห้ามจำนองและขายฝาก (เว้นแต่โครงการที่รัฐบาลจะอนุญาตเป็นพิเศษ)   โดยทั่วไปออกให้กับเกษตรกรที่มีฐานะยากจน ครอบครัวละไม่เกิน 50 ไร่ 


ขอบคุณ  Isara Property